ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดคำเตือน ห้ามกินปลา จริงหรือ ?


21 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์สารพัดคำเตือน ห้ามกินปลา ทั้งกินปลาทูนึ่ง ต้องระวังสารกันบูด กินปลาที่ยังไม่สุก เสี่ยงพยาธิขึ้นตาได้ และใครชอบกินปลานิล อันตราย เพราะกินแล้ว เสี่ยงมะเร็งถึง 10 เท่า ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์


อันดับที่ 1 : กินปลาดิบเสี่ยงพยาธิขึ้นตา  จริงหรือ ?

มีการแชร์คลิปเตือนว่า การกินปลาดิบอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีพยาธิไชขึ้นตาได้


ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : วรรณวิภา สุวรรณรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง

และ อ.ดร.วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ 


– ในคลิปที่แชร์กันเป็นหนอนแมลงวัน อย่างไรก็ตามการกินปลาดิบโดยเฉพาะปลาน้ำจืดก็ต้องระวัง เพราะอาจเสี่ยงอันตราย เจอพยาธิตัวจี๊ดได้เช่นกัน

อันดับที่ 2 : กินปลาแซลมอน อันตราย  จริงหรือ ?

มีการแชร์ข้อความเตือนให้ระวังการกินปลาแซลมอนเป็นอันตราย เลี้ยงด้วยยา มีการตัดต่อพันธุกรรม

ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : คุณวรรณวิภา สุวรรณรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง 

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ 

– ปลาแซลมอนที่ขายกัน มีที่เป็นปลาจับจากทะเลธรรมชาติ และที่เป็นปลาเลี้ยงในฟาร์มเปิด ส่วนการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนมีในหลายประเทศ ซึ่งมีมาตรฐานการควบคุมการเลี้ยงตามกฏของอียู มีการตรวจสอบตามขั้นตอน อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาแซลมอน ก็ไม่ได้ใส่สารอะไรที่อันตรายต่อการบริโภคแต่อย่างใด


อันดับที่ 3 : กินปลานิลเลี้ยง เสี่ยงมะเร็ง 10 เท่า  จริงหรือ ?
 
มีการแชร์ข้อความเตือนคนที่ชอบกินปลานิลระบุว่า ปลานิลเลี้ยงมีการดัดแปลงพันธุกรรม จึ่งก่อให้เกิดมะเร็งได้ 10 เท่า หากเทียบกับปลานิลธรรมดา

ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  เรณุกา นิธิบุณยบดี รรท.หน.กลุ่มตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ กรมประมง,

ตะวัน มีสอาด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล อ.พานทอง จ.ชลบุรี, พรชัย บัวประดิษฐ์ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรี

และ แสงเดือน นาคสุวรรณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 7 กรมประมง

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ 

กระแสข่าวนี้พบว่าเป็นข้อความที่แชร์เตือนกันในสหรัฐอเมริกา หลังจากพบปลานิลนำเข้าบางส่วนไม่ได้คุณภาพ แต่ไทยเรานั้นไม่มีปลานิลนำเข้า เราเลี้ยงเองกินเองและส่งออก

อันดับที่ 4 : ปลาทูนึ่ง ต้องระวังสารกันบูด จริงหรือ ?
 
มีการแชร์ภาพพร้อมกับข้อความเตือนภัยระบุว่า ให้ระวังเรื่องการสัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่ง จะทำให้เป็นมะเร็งที่มือ

ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  ภก.ภาณุโชติ ทองยัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม

และ ไพศาล ฉายศรี คนนึ่งปลาทู ร้านเจ๊มาลี จังหวัดสมุทรสงคราม

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ 

พบว่ายังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลวิชาการที่บ่งชี้ว่าการสัมผัสสารกันบูดส่งผลให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตปลาทูนึ่งแบบดั้งเดิมถือเป็นการถนอมอาหารอยู่แล้วซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพปลาทูไว้ทำให้สามารถเก็บไว้ได้ในระยะหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูดซึ่งถือเป็นการสร้างต้นทุนให้กับผู้ขาย

Screenshot

อันดับที่ 5 : คลิปเตือนระวังพยาธิในปลานิล จริงหรือ ?
 
มีการแชร์คลิประบุว่าเส้นสีดำที่อยู่ในเนื้อปลา มันคือพยาธิ

ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  รศ.ดร.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และ รศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ เส้นสีดำที่เห็นในคลิปนั้นคือเส้นเลือดของปลา

รศ.ดร.นพ.เผด็จ อธิบายว่า เส้นสีดำในคลิปนั้นไม่เหมือนตัวพยาธิที่จะเจอในปลา ปกติพยาธิที่ติดต่อสู่คนจากปลานั้นไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าแบบในคลิป ลักษณะของพยาธิต้องมีส่วนหัว ส่วนก้น ที่ชัดเจน

ด้าน รศ.ดร.ธรณ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า เส้นสีดำตามคลิปนั้น เป็นเส้นเลือดที่อยู่ตรงร่องกล้ามเนื้อ เราจึงเห็นเส้นเลือดตีคู่กับก้าง พยาธิในปลาส่วนใหญ่จะอยู่ในเครื่องใน แต่ก็อาจจะมีพยาธิบางอย่างที่อยู่ตามกล้ามเนื้อ

อย่างไรก็ตาม การกินปลาแบบปรุงสุกก็ไม่ต้องกังวลอะไร พยาธิก็ตายหมด แต่ความเสี่ยงจากการกินปลานิลดิบเสี่ยงติดโรคพยาธิใบไม้ตับได้

ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่

ระเบิดปากีสถาน

ยอดเสียชีวิตจากเหตุระเบิดสถานีรถไฟปากีสถานเพิ่มเป็น 24 รายแล้ว

เหตุระเบิดสถานีรถไฟในเมืองเควตตา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน ตายเพิ่มเป็นอย่างน้อย 24 ราย บาดเจ็ดมากกว่า 40 ราย