fbpx

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ค.67 ลงต่อเนื่องมีหลายปัจจัยกังวล

กรุงเทพฯ 6 ส.ค. – ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค.67 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ยังความกังวลการเมือง เศรษฐกิจโดยรวมที่ฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูง ความกังวลสงครามต่างประเทศ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยต่อเสียงสะท้อนภาคเอกชนทุกภาคกังวลใจเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก แนะภาครัฐเร่งหามาตรการดูแลหนี้ครัวเรือน ค่าครองชีพแพง และการเข้าแหล่งเงินทุนเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ หวังเร่งเบิกจ่ายงบปี 67 และปี 68 รวมถึงดิจิทัลวอลเล็ตจะดันความเชื่อมั่นกลับมาดีขึ้นได้ ขณะที่วันแม่ปีนี้ยอดใช้จ่ายไม่คึกคักกังวลหลายด้าน แต่ศูนย์พยากรณ์ฯประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปีโต 2.6-2.8%


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจกล่าวถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มกลับมากังวลว่าการเมืองไทยเริ่มขาดเสถียรภาพเกี่ยวกับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะตัดสินเรื่องการยุบพรรคก้าวไกลและความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีอย่างไร ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในอนาคต และกังวลเของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัวลงและฟื้นตัวช้า เพราะยังไม่เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน และผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามในตะวันออกกลางที่ยังคงยืดเยื้อบานปลาย อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวล่าช้าของเศรษฐกิจไทย

PR_UTCC

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 51.3 54.9 และ 66.8 ตามลำดับ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ในรอบ 11  เดือนทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนมิถุนายน ที่อยู่ในระดับ 52.6 56.1 และ 67.9 ตามลำดับ การที่ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาพลังงานและค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง


ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 58.9 เป็น 57.7 เป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน  2566 เป็นต้นมา การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าและค่าครองชีพสูง ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน กับอิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซาที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 42.8 เป็น 41.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 66.7 มาอยู่ที่ระดับ 65.4 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5ในรอบ 11 เดือนทุกรายการ แสดงว่า ผู้บริโภคเริ่มไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเริ่มมีความผันผวนมากขึ้นในมุมมองของผู้บริโภค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคน่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคตอันใกล้ หากรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในไตรมาสที่สี่ของปีนี้

ส่วนความคิดเห็นของภาคธุรกิจ จากสมาชิกหอการค้าไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ในเดือนกรกฎาคม 2567 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ระดับ 52.2 แต่ยังเกินกว่าค่ากลางระดับ 50 ในทุกภูมิภาค รวมทั้งตัวชี้วัดทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจโดยรวม การบริโภค การลงทุน ภาคท่องเที่ยว ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า การค้าชายแดน และภาคบริการดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยงทั่วไทย การเมืองในประเทศโดยเฉพาะรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนายกรัฐมนตรี หนี้ครัวเรือนที่สูง ค่าครองชีพสูง


ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลแก้ไขไขหนี้ครัวเรือน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจโดยรวม และรวมถึงมาตรการกำกับแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน พื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ การดูแลปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธุรกิจ SME ควบคุมราคาของปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมเพราะจะกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธุรกิจ มาตรการช่วยเหลือด้านการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้เข้าถึงโอกาสของตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ แนวทางการสนับสนุนภาครัฐช่วยเหลือด้านมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น มาตรการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นที่สามารถเพิ่มยอดคำสั่งซื้อสินค้าบริการในทุกสาขาธุรกิจ การรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ส่วนผลโพลล์สำรวจวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.67 นี้ โดยรวมจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงประกอบกับเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก ส่งผลให้ยอดกาใช้จ่ายในวันแม่ปีนี้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปีนี้มียอดใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงวันแม่อยู่ที่ 15,400.88 ล้านบาทลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมามียอดรวมทั้งสิ้น 15,926.45 ล้านบาท ซึ่วจะเป็นกิจตกรรมพาแม่ไปทำบุุญ ทานข้าว ไปเที่ยวต่างจังหวัดและอื่นๆเป็นต้น ซึงเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดค่าใช้จ่ายวันแม่ปีนี้ลดลงมาจากภาระค่าครองชีพแพง เศรษฐกิจปัจจุบันไม่ค่อยดี ภาระหนี้สินมีมาก ความมั่งคงทางการเงินและรายได้ไม่มั่นคงรวมถึงความมั่นคงในอาชีพ อัตราดอกเบี้ยสูงและอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ฯคาดว่า เศรษฐกิจไทยแม้จะมีปัจจัยบวกดีอยู่บ้าง แต่ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องติดตาม ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 น่าจะโตใกล้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 %และไตรมาสที่ 3 จะต้องมีดูว่าแนวทางการเร่งเบิกจ่ายงบปี 67 จะต้องเร่งให้ก่อนจบงบปี 67 และต่อเนื่องในปี 68 ได้ก็เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 โตเกินกว่า 2 % และไตรมาสที่ 4 จะมีเม็ดเงินจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตในวงเงินรวม 450,000 ล้านบาท โดยคาดว่าในเดือน ธ.ค.67 เม็ดเงินส่วนนี้จะถูกใช้จ่ายกว่า 250,000 ล้านบาทโดยประชาชนจะใช้เงินครั้งเดียวหมดและที่เหลือจะทยอยใช้ในช่วงไตรมาสแรกปี 68 ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2.6-2.8 % แต่หากไม่มีดิจิทัลวอลเล็ตเศรษฐกิจไทยจะโตเพียงแค่ 2.4-2.6 % เท่านั้น

ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ ชี้แจงโครงการดิจิทัลวอลเล็ตให้ทุกฝ่ายให้มีความเข้าใจมากกว่านี้ และต้องจับตาผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญต่อตัวนายกรัฐมนตรี หากออกมาต้องเปลี่ยนหรือหานายกรัฐมนตรีใหม่ก็ต้องมาวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าตัวนายกรัฐมนตรีใหม่ร่วมถึงหน้าตาคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างไร โดยระยะสั้นมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยบ้างและก็ไม่มากและหากนโยบายไม่เปลี่ยนอะไรเศรษฐกิจก็จะเดินหน้าต่อไปได้.-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด