ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. ต่ำสุดใน 14 เดือน

กรุงเทพฯ 10 ต.ค.-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.67 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน กังวลภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและสถานการณ์น้ำท่วม ขณะที่เงินหมื่นยังไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจเท่าที่ตั้งเป้าหมาย


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนกันยายน 2567 ซึ่งพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัวลงและฟื้นตัวช้า และความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น และผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามในตะวันออกกลางและสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวล่าช้าของเศรษฐกิจไทย แม้ว่าในเดือนนี้จะมีการแจกเงินให้กับกลุ่มเปราะบางคนละ 10,000 บาท ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ตาม

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 48.8 52.7 และ 64.4 ตามลำดับ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนสิงหาคม ที่อยู่ในระดับ 50.2 53.9 และ 65.6 ตามลำดับ การที่ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาพลังงานและค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง


ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 56.5 เป็น 55.3 เป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 เป็นต้นมา การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าและค่าครองชีพสูง ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน กับอิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซาที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 40.4 เป็น 39.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 64.3 มาอยู่ที่ระดับ 63.1 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ทุกรายการ แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ แม้ว่าจะมีมาตรการแจกเงินคนละ 10,000 บาท ออกมาแล้วก็ตาม

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินสถานการณ์อุทกภัยปี 2567 ว่าจะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่าประมาณ 36,929 ล้านบาท โดยมีสมมติฐานว่า สถานการณ์น้ำท่วมจมจะคลี่คลายภายใน 15 วัน จากการวิเคราะห์ พบว่า ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 27,434 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 74.3% ของความเสียหายทั้งหมด


ส่วนผลวิเคราะห์ความเสียหายแยกตามภาคเศรษฐกิจมี ดังนี้

  • ภาคการเกษตร 27,434 ล้านบาท
  • ภาคบริการ 9,209 ล้านบาท
  • ภาคอุตสาหกรรม 287 ล้านบาท

มูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยปี 2567 คิดเป็นประมาณ 0.21% ของ GDP ของประเทศไทย จังหวัดที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ เชียงราย โดยมีมูลค่าความเสียหายรวม 6,412 ล้านบาท รองลงมาคือ เชียงใหม่ 4,232 ล้านบาท และพะเยา 3,292 ล้านบาท

นายธนวรรธน์ กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจนต่ำสุดในรอบ 14 เดือนว่า มีดังนี้

  • รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
  • ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
  • บริหารจัดการน้ำในช่วงไตรมาสที่ 4 เพื่อไม่ให้สถานการณ์น้ำท่วมขยายวงกว้างขึ้น
  • เร่งดำเนินนโยบายต่างๆ ในการกระตุ้นเศรฐกิจโดยการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน การส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วไทยในช่วงปลายปี
  • การส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการภาคเอกชนให้ครอบคลุมรอบด้าน เช่น มาตรการทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากในประเทศ และต่างชาติ
  • ดำเนินมาตรการควบคุมตลาดขายสินค้าออนไลน์ และปริมาณของสินค้าจีนที่เข้ามามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง. -512 – สำนักข่าวไทย
ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้พุ่งชนรถจักรยานยนต์ของ 3 พี่น้อง บนสะพานข้ามถนนเทพรักษ์ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เจ้าตัวยืนรอมอบตัวกับตำรวจ เผยไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น

ธุรกิจขายตรง

ชำแหละธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่-ดาราดังมีเอี่ยว

ผู้เสียหายลั่น “หมดตัวเพราะขายตรง” แฉธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่ ชวนลงทุนแต่ทำกำไรไม่ได้จริง พบมีดาราระดับเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทยเป็นผู้บริหาร ด้าน ปคบ. เร่งตรวจสอบโมเดลธุรกิจ

“แซม ยุรนันท์” ยันไม่ได้เป็นกรรมการหรือหุ้นส่วน

“แซม ยุรนันท์” ยันไม่ได้เป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนของบริษัท รายได้แบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขายผลิตภัณฑ์ที่คิดค้น พร้อมเข้าให้ปากคำหากตำรวจเรียก

ข่าวแนะนำ

“บิ๊กต่าย” สั่งระดมเร่งสอบปากคำผู้เสียหายจากบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป

“บิ๊กต่าย” สั่งระดมตำรวจสอบสวนกลาง เร่งสอบปากคำผู้เสียหายจากบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป เพื่อนำมาศึกษาว่าเข้าข่ายความผิดใดบ้าง และหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมประสาน ปปง. ใช้อำนาจอายัดทรัพย์เจ้าของบริษัทก่อน

ธุรกิจขายตรง

ชำแหละธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่-ดาราดังมีเอี่ยว

ผู้เสียหายลั่น “หมดตัวเพราะขายตรง” แฉธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่ ชวนลงทุนแต่ทำกำไรไม่ได้จริง พบมีดาราระดับเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทยเป็นผู้บริหาร ด้าน ปคบ. เร่งตรวจสอบโมเดลธุรกิจ

เฮอริเคน “มิลตัน” จ่อขึ้นฝั่งรัฐฟลอริดาในสหรัฐ

พายุเฮอริเคนมิลตันจ่อขึ้นฝั่งรัฐฟลอริดาของสหรัฐด้วยความรุนแรงระดับ 3 ในอีกไม่ถึง 1-2 ชั่วโมงข้างหน้านี้ แต่อิทธิพลของเฮอริเคนที่แม้จะลดความรุนแรงลงเล็กน้อย

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้พุ่งชนรถจักรยานยนต์ของ 3 พี่น้อง บนสะพานข้ามถนนเทพรักษ์ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เจ้าตัวยืนรอมอบตัวกับตำรวจ เผยไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น