BCPG กางแผนกลยุทธ์ปี 67 ทุ่มงบกว่าหมื่นล้าน เดินหน้าโครงการในพอร์ต-ลงทุนโครงการใหม่

เชียงใหม่ 17 พ.ย. – บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือบีซีพีจี เดินหน้าตามกรอบกลยุทธ์ เน้นการเติบโตในธุรกิจหลัก ลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูง ต่อยอดธุรกิจที่เป็น New S Curve โดยปี 2567 ทุ่มงบลงทุนรวม 14,000 ล้านบาท โดยกว่าร้อยละ 40 ตั้งเป้าลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพสูง คาด EBITDA เติบโต 30% ตั้งเป้าภายในปี 2573 รายได้ทะลุ 3,000 ล้านบาท ดันกำลังการผลิตที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วเพิ่มขึ้นเท่าตัว


นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานแถลงข่าว “BCPG Way Forward 2024” ว่า ในปี 2573 หรือ อีก 7 ปีข้างหน้า บีซีพีจีมีแผนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ผลตอบแทน: มีรายได้สุทธิจากการลงทุน 3,000 ล้านบาท 2.การลงทุน: กำลังการผลิตที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวม 2,000 เมกะวัตต์ (Operating Capacity) 3.ความยั่งยืน: ได้รับการรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยดำเนินการภายใต้กรอบกลยุทธ์ประกอบด้วย 1.Green Expanded การขยายกำลังการผลิต ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ควบคู่ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งด้านฐานะการเงิน และการต่อยอดการลงทุนในธุรกิจที่เป็น New S Curve 2.Green Innovation การมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมพลังงานสีเขียว ที่ตอบโจทย์การใช้พลังงานอย่างยั่งยืน และวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.Green Target การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2593

DCIM\100MEDIA\DJI_0016.JPG

สำหรับปี 2567 บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายการลงทุนไว้ที่ประมาณ 14,000 ล้านบาท โดยกว่าร้อยละ 60 หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท ใช้ในการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่อยู่ในพอร์ตให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ ส่วนอีกกว่าร้อยละ 40 หรือ ประมาณ 6,000 ล้านสำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ ซึ่งทิศทางการดำเนินงาน บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งและความเติบโตของธุรกิจหลัก (Core Business) โดยในปี 2567 บริษัทฯ คาดว่า EBITDA จะเติบโตร้อยละ 30


“ในการลงทุนทุกครั้ง บริษัทฯ คำนึงถึงสัดส่วนการลงทุนที่มีความสมดุลย์ หรือ การ balance portfolio ที่เหมาะสม ในปีหน้าเราเน้นลงทุนใหม่ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศที่บริษัทฯ มีฟุตพริ้นท์อยู่แล้ว และเป็นประเทศที่รัฐบาลให้การสนับสนุน อีกทั้งยังศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าสู่ธุรกิจที่เป็น New S Curve อาทิ ธุรกิจกักเก็บพลังงานทั้งสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและสำหรับโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียว และธุรกิจการบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ” นายนิวัติ กล่าว

สำหรับธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ บริษัทฯ ได้ต่อยอดการใช้งานระบบกักเก็บพลังงานสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ประเภทวานาเดียมรีดอกซ์โฟลว์ในประเทศไทย โดยการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานดังกล่าว ให้กับสถานีไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบสายส่ง-สายจำหน่ายของ กฟภ. ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งในขณะนี้บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้เริ่มดำเนินการในโครงการนำร่องดังกล่าว ในเขตพื้นที่ อำเภอ นาแห้ว จังหวัดเลย โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ภายปี 2567 ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายตลาดในประเทศไทยหลังจากที่บริษัทฯ ได้ร่วมลงทุนในบริษัท วีอาร์บีเอ็นเนอยี่ ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องการผลิตและจำหน่ายระบบกักเก็บพลังงานระดับโลก ซึ่งมีตลาดใหญ่อยู่ในประเทศจีน
การจัดสรรเงินลงทุนประมาณ 8,000 ล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ ที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ ได้แก่

  • โครงการพลังงานลม “มอนสูน” โรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ขนาด
    600 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่แขวงเซกอง และแขวงอัตตะปือ ใน สปป. ลาว ขณะนี้โครงการฯ อยู่ระหว่างทยอยติดตั้งกังหันลม คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จทั้งหมด 133 ต้น ภายในกลางปี 2568 และพร้อมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้สิ้นปี 2568
  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในไต้หวัน ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 469 เมกะวัตต์
    คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ จำนวน 58 เมกะวัตต์ได้ในปี 2568 จากนั้นจะทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์จนครบทั้งหมดภายในปี 2569
  • โรงไฟฟ้าพลังงานลมนาบาส-2 ขนาดกำลังการผลิต 13.2 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บนเกาะวิซายัส
    เมืองนาบาส สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี 2566 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2568 ตามแผน

การลงทุนในธุรกิจเมืองอัจฉริยะ (Smart City and Infrastructure)


  • โครงการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง (District Cooling) ในพื้นที่โครงการสามย่านสมาร์ทซิตี้ บริษัทฯ ได้เริ่มก่อสร้างระบบผลิตความเย็นฯ ในเฟสแรก ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 3,000 ตันความเย็น (Refrigeration Tons ,RT)
    โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในต้นปี 2568 ซึ่งเป็นไปตามกำหนดการใช้ความเย็นของสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) และขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างการวางแผนร่วมกับ PMCU เพื่อขยายไปยังเฟสอื่นๆ ต่อไป
    ทั้งนี้ บริษัทฯ มีสัญญาบริหารจัดการโครงการระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางกับ PMCU กำลังการผลิตติดตั้งรวม 18,000 ตันความเย็นในพื้นที่โครงการสามย่านสมาร์ทซิตี้
  • โครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมืองอัจฉริยะ ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พัฒนาโครงการฯผ่านการนำระบบ บริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Management), ระบบซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนไฟฟ้าระหว่างกัน (Energy Trading) และ ระบบการบริหารจัดการอาคารพลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Building Management)
    โดยบริษัทฯ ลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟทอปบนหลังคาอาคารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กว่า 160 อาคาร กำลังการผลิตที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวม 12.86 เมกะวัตต์ เพื่อบริหารจัดการพลังงานที่ผลิตได้ และในปี 2567-2568 บริษัทฯ จะดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติม อีก 2.5 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งหมด 15 เมกะวัตต์ พร้อมพัฒนาโซลูชั่นอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อบูรณาการนวัตกรรมต่างๆ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์ และขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อขยายกำลังการผลิตของโซลาร์รูฟทอปเพิ่มขึ้น เพื่อตอบเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้นำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างเสถียรภาพของระบบส่งไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย ที่เปรียบเทียบได้กับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของต้นแบบระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Distribution Grid) คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จต้นเดือนมกราคม 2567

สำหรับปี 2566 เป็นปีที่บริษัทฯ ได้ลงทุนกว่า 32,000 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจไปยังสหรัฐอเมริกาโดยได้เข้าซื้อหุ้นในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งสิ้น 4 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติแครอล เคาน์ตี้ เอนเนอร์ยี่ และ เซาท์ ฟิลด์ เอนเนอร์ยี่ ในรัฐโอไฮโอ โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ฮามิลตั้น ลิเบอร์ตี้ และ ฮามิลตั้น เพทรีออต ในรัฐเพนซิลเวเนีย คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งตามสัดส่วน รวมทั้งสิ้น 857 เมกะวัตต์ ซึ่งการเข้าลงทุนดังกล่าวสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในการขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นธุรกิจหลักโดยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติทุกแห่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งในการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าดังกล่าว บริษัทฯ มีการป้องกันความเสี่ยง (hedging) ของรายได้จากการขายไฟฟ้าบางส่วน เพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านรายได้มากขึ้นอีกด้วย และล่าสุดบริษัทฯ ได้เข้าลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยขนาดกำลังการผลิต 12.59 เมกะวัตต์ ซึ่งจะดำเนินการซื้อขายแล้วเสร็จพร้อมรับรู้รายได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2567 นี้

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้ตั้งเป้าหมายเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2573 ซึ่งบริษัทฯ ได้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว จากการรับรองขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและความเป็นกลางทางคาร์บอน อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยังคงมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2593 ด้วยการปลูกป่า การใช้พลังงานสีเขียว และการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่