fbpx

กรมธุรกิจพลังงาน- BAFS บริหารจัดการเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน 

กรุงเทพฯ 13 มิ.ย. – กรมธุรกิจพลังงาน คาดตั้งคณะทำงานสนับสนุนการลงทุนโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ใน 2 เดือน ด้าน BAFS  มั่นใจปีนี้ผลประกอบการพลิกกลับมาบวก ตั้งเป้าปี 2566 ให้บริการน้ำมันอากาศยาน 4,200 ลิตร 


นางพัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน  และความก้าวหน้าโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ที่บริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS) พร้อมชมการสาธิตการใช้รถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า ( EV Hydrant Dispenser ) ซึ่งเป็นรถเติมน้ำมันอากาศยาน ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าทั้งระบบ 100% ผลิตโดยบริษัท บาฟส์ อินเทค จำกัด ปัจจุบันให้บริการแล้วที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนสนใจและสั่งซื้อปให้บริการในสนามบินอาทิ กัมพูชา มาเลเซีย

รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมการบินมีสัญญาณเริ่มฟื้นตัว ซึ่งในอนาคตการเติบโตส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรมการบินโลกจะมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นหลัก แต่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังทวีความรุนแรงต่อเนื่อง แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถเริ่มได้เลยคือ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่สามารถผสมกับน้ำมันอากาศยานและสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบเดียวกันกับที่ใช้ผลิตเอทานอล และไบโอดีเซล ดังนั้นโครงการการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) จึงเป็นนโยบายสำคัญที่กรมธุรกิจพลังงาน ต้องผลักดันและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยเบื้องต้นจะตั้งคณะทำงานสนับสนุนนโยบายการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจลงทุน  เช่น การจัดหาวัตถุดิบเพื่อผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงหรือจำเป็นจะต้องนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มเติมหรือไม่ คาดว่าภายใน 2 เดือนจะจัดตั้งคณะทำงานเป็นรูปธรรมได้  


ส่วนด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะหารือกับบีโอไอและกรมสรรพสามิต เพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามแผน และรองรับนโยบายของทั่วโลก ที่กำหนดให้มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2568 โดยภายใต้ร่างข้อกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้สายการบินฯ ต้องเพิ่มสัดส่วนของส่วนผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงSAF กับน้ำมันเชื้อเพลิง Jet Feul ร้อยละ 2 ในปี 2568 ร้อยละ 5 ในปี 2573 ร้อยละ 20 ในปี 2578 ร้อยละ 32 ในปี2583 ร้อยละ 38 ในปี 2588 และร้อยละ 63 ในปี 2593 ตามลำดับ หากฝ่าฝืนจะถูกปรับ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนให้ชัดเจน เพื่อเป็นทิศทางนโยบายของประเทศในการสนับสนุนการลงทุน ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุน 2 -3 รายที่เป็นกลุ่มโรงกลั่น สนใจลงทุนในการผลิต SAF

ด้าน ม.ล.ณัฐสิทธิ์  ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS) ยอมรับว่าการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพมีต้นทุนสูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงปัจจุบัน 3-5เท่า  จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะนโยบายด้านภาษี เช่น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 5 บาท/ลิตร ซึ่งถือเป็นต้นทุนร้อยละ 20 ของอุตสาหกรรมอากาศยาน จึงทำให้ปริมาณ การผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพยังมีสัดส่วนที่น้อย  ซึ่งหากปรับสัดส่วนได้จะเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการบิน

สำหรับ 6 เดือนเรกปี 2566 ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน อยู่ที่ 1,800 ล้านลิตร เกินเป้าหมายไปร้อยละ5  ขณะที่คาดว่าครึ่งปีหลังที่ฤดูกาลท่องเที่ยว หรือไฮซีซั่น รวมถึงสลอตการบินของจีนที่เพิ่มขึ้น 4-5 เท่า จาก 100-125 เที่ยวบินต่อวัน เป็น  400-500 เที่ยวบินต่อวัน พร้อมตั้งเป้าการใช้น้ำมันอากาศยานทั้งปี 2566 จะอยู่ที่ 4,200 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ  40 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นการฟื้นตัวราว ร้อยละ 68 ของปริมาณการเติมน้ำมันก่อนเกิดโควิด-19 และคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในปีหน้า ที่มีการใช้น้ำมันอากาศยานที่ 6,200ล้านลิตรต่อปี ยังมีปัจจัยหนุน จากสนามบินสุวรรณภูมิ ที่จะเปิดอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 แห่งใหม่ (SAT1) นอกจากนี้ โครงข่ายระบบท่อส่งน้ำมัน ของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ได้ขยายการให้บริการสู่ภาคเหนือ ขณะนี้มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 20% หรือคิดเป็นประมาณ 410 ล้านลิตร เท่านั้น เทียบกับความสามารถของท่อทั้งสิ้น 2,450 ล้านลิตรโดยตั้งเป้าเพิ่มเป็น 609-806 ล้านลิตรภายในสิ้นปีนี้  ทำให้มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้จะกลับมาเป็นบวก เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,410 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 281 ล้านบาท


ทั้งนี้ บริษัทมีแผนเชื่อมระบบท่อส่งน้ำมันในภาคตะวันออก จากปัจจุบันท่อส่งน้ำมันจะเชื่อมกับคลังน้ำมันของบางจากฯ ที่บางปะอิน แต่ยังไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบท่อในแถบตะวันออก ซึ่งมีโรงกลั่นฯค่อนข้างมาก โดยกลุ่มบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เบื้องต้นบริษัทได้ขออนุญาตกรมทางหลวงแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเชื่อมต่อระบบท่อส่งน้ำมันของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) จากสระบุรีไปอ่างทอง ระยะทาง 52 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,200 ล้านบาท คาดว่าจะมีความชัดเจนด้านการลงทุนภายใน 2 เดือน หากเป็นไปตามแผนคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ แล้วเสร็จภายในปี 2568 งบประมาณ 1,500 ล้านบาท และหากโครงการเชื่อมท่อส่งน้ำมันภาคตะวันออกได้ข้อสรุปตามแผน ก็จะเพิ่มงบลงทุนอีก 1,200 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน