7 เดือนแรกของปี 67 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 0.2%

กรุงเทพฯ 13 ก.ย. – สถานการณ์ใช้น้ำมัน 7 เดือนแรก ของปี 2567 เพิ่มขึ้น 0.2% แต่กลุ่มเบนซินลดลงร้อยละ 1.4 จากปัจจัยราคาขายปลีกปรับสูงขึ้น การพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้า รวมถึงการขยายตัวของรถอีวี


นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 7 เดือน เฉลี่ยเดือนมกราคม–กรกฎาคม 2567 อยู่ที่ 156.50 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.2 โดยกลุ่มเบนซินลดลงร้อยละ 1.4 ปัจจัยสำคัญจากระดับราคาขายปลีกที่อยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน การพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตเมืองและโครงการรถไฟทางคู่ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด รวมถึงจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากข้อมูลจำนวนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการใหม่และมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 1 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ขยายตัวจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ขณะที่น้ำมันเตาลดลง ร้อยละ 19.1 NGV ลดลงร้อยละ 17.1 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และการใช้ LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1

รายละเอียดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดในเดือนมกราคม –กรกฎาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีดังนี้


     การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.55 ล้านลิตร/วัน ลดลงทุกชนิดน้ำมันยกเว้นการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ประกอบด้วยแก๊สโซฮอล์ 95 ลดลงมาอยู่ที่ 17.64 ล้านลิตร/วัน แต่ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดที่ร้อยละ 56 รองลงมาคือ แก๊สโซฮอล์ 91 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.64 ล้านลิตร/วัน คาดว่าเป็นผลสืบเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพโดยมีการลดอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่พฤศจิกายน 2566 - เมษายน 2567 ส่งผลให้ราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ต่ำกว่าแก๊สโซฮอล์ 95 ถึง 1.40 - 1.78 บาท/ลิตร (จากเดิมในปี 2566 0.51 บาท/ลิตร) ประชาชนบางส่วนจึงหันไปใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แทน สำหรับแก๊สโซฮอล์ อี20 ลดลงมาอยู่ที่ 5.47 ล้านลิตร/วัน เบนซิน ลดลงมาอยู่ที่ 0.42 ล้านลิตร/วัน และแก๊สโซฮอล์ อี85 ลดลงมาอยู่ที่ 0.07 ล้านลิตร/วัน ตามลำดับ 

การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการ เฉลี่ยอยู่ที่ 68.06 ล้านลิตร/วัน ประกอบด้วยดีเซลหมุนเร็วธรรมดา เพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ 67.90 ล้านลิตร/วัน และดีเซลหมุนเร็ว บี20 ลดลงมาอยู่ที่ 0.15 ล้านลิตร/วัน ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงระยะเวลาการตรึงราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 โดยใช้กลไกการบริหารเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะที่ดีเซลพื้นฐาน ลดลงมาอยู่ที่ 1.64 ล้านลิตร/วัน สำหรับน้ำมันกลุ่มดีเซลภาพรวมอยู่ที่ 69.69 ล้านลิตร/วัน

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 15.65 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 โดยมีปัจจัยมาจากการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยว เช่น นโยบายฟรีวีซ่า การเพิ่มเที่ยวบินพิเศษในช่วงเทศกาล การลดหย่อนภาษีสำหรับพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองรอง มาตรการอนุญาตให้ชาวต่างชาติจาก 93 ประเทศเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า อย่างไรก็ตามปริมาณการใช้ยังไม่กลับไปสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19

การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 18.69 ล้านกก./วัน ประกอบด้วยภาคปิโตรเคมี เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.69 ล้านกก./วัน ภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.71 ล้านกก./วัน และภาคขนส่ง เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.32 ล้านกก./วัน โดยมีสาเหตุสำคัญจากจำนวนรถแท็กซี่ LPG มียอดจดทะเบียนเพิ่มขึ้นสวนทางกับจำนวนแท็กซี่ NGV ที่มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การใช้ในภาคอุตสาหกรรม ลดลงมาอยู่ที่ 1.97 ล้านกก./วัน ซึ่งมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น


การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 2.87 ล้านกก./วัน โดยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับจำนวนรถจดทะเบียน NGV สะสม และจำนวนสถานีบริการ NGV ที่มีแนวโน้มปิดตัวลง ทั้งนี้ ปตท. ยังคงช่วยเหลือโดยตรึงราคาให้กับกลุ่มรถแท็กซี่และรถโดยสารสาธารณะที่ถือบัตรสิทธิประโยชน์ ปัจจุบันดำเนินการอยู่ในระยะที่ 2 (1 กรกฎาคม 2567 – 31 ธันวาคม 2568)

การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เฉลี่ยอยู่ที่ 1,037,105 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 2.8 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวม 98,776 ล้านบาท/เดือน โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ 972,261 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันมีการหยุดซ่อมบำรุงประจำปี คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ 93,970 ล้านบาท/เดือน สำหรับการนำเข้า น้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) อยู่ที่ 64,844 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 15.4 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 4,806 ล้านบาท/เดือน

การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เฉลี่ยอยู่ที่ 169,133 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 17,517 ล้านบาท/เดือน. -517-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า