ชัวร์ก่อนแชร์: โควิด-19 ไม่ทำให้คนตายเพิ่มขึ้น แต่วัคซีนทำให้คนตายเพิ่มขึ้น จริงหรือ?

20 มีนาคม 2566
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : Full Fact (สหราชอาณาจักร)
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ประเภทข่าวปลอม : ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. ข้อมูลของ ONS ยืนยันว่าในปี 2020 ที่โควิด-19 เริ่มระบาด มีคนหนุ่มสาวเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
  2. ข้อมูลจากนิวซีแลนด์ยืนยันว่า อัตราการตายส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นในปี 2021 ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook และ YouTube ในสหราชอาณาจักร โดย ดร.กาย แฮชาร์ด แพทย์ผู้อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสถานีโทรทัศน์ GB News เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2022 เพื่อโจมตีความไม่ปลอดภัยของวัคซีน โดยอ้างผลวิจัยที่พบว่าวัคซีน mRNA ทำลายเซลล์สมองและระบบภูมิคุ้มกัน, การติดเชื้อโควิด-19 ไม่ทำให้คนหนุ่มสาวเสียชีวิตมากขึ้นในปี 2020 และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในปี 2021 ทำให้ยอดการเสียชีวิตต่อปีเพิ่มขึ้น พร้อมย้ำว่าน้ำหนักตัวคือปัจจัยเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้ป่วยหนักจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างที่ทำยอดรับชมทาง Facebook และ YouTube รวมกันกว่า 250,000 ครั้ง

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


จากการตรวจสอบโดย Full Fact พบว่าคำกล่าวอ้างของ ดร.กาย แฮชาร์ด ไม่ถูกต้องหลายประการ แบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

  1. จากการทดลองในสิ่งมีชีวิต ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าวัคซีน mRNA ทำลายเซลล์สมองและระบบภูมิคุ้มกัน

ข้ออ้างที่ ดร.กาย แฮชาร์ด ระบุว่าวัคซีน mRNA ทำลายเซลล์สมองและระบบภูมิคุ้มกัน นำมาจากงานวิจัยจากประเทศโปแลนด์ ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ bioRxiv

อย่างไรก็ดี งานวิจัยที่เผยแพร่ทาง bioRxiv ล้วนเป็นงานวิจัยก่อนการตีพิมพ์ (Preprint) ซึ่งยังไม่ผ่านการพิชญพิจารณ์ (Peer Review) หรือการประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิชาการ ซึ่งทาง bioRxiv ระบุไว้อย่างชัดเจนว่างานวิจัยทั้งหมดยังไม่ผ่านการ Peer Review และไม่สามารถใช้อ้างอิงหรือรายงานผ่านสื่อมวลชนในฐานะงานวิจัยที่สมบูรณ์ได้

ดร.ปีเตอร์ อิงลิช อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Vaccines in Practice และอดีตกรรมาธิการสมาคมการแพทย์อังกฤษ (BMA) อธิบายว่าผลวิจัยดังกล่าวยังไม่ใช่การทดลองในสิ่งมีชีวิต จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองจะเกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์หรือไม่

แม้ผลวิจัยจะชี้ถึงความเป็นไปได้ว่าวัคซีน mRNA จะแทรกซึมผ่านตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (Blood-brain barrier) แต่การตรวจสอบโดย ดร.ปีเตอร์ อิงลิช ไม่พบหลักฐานว่า มีวัคซีนอยู่ในเนื้อเยื่อระบบประสาทแต่อย่างใด

ดร.ปีเตอร์ อิงลิช ย้ำว่าเมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่จะอยู่แค่บริเวณที่ฉีดยา ส่วนที่จะหลุดรอดเข้าสู่กระแสเลือดจะมีความเจือจางมาก ๆ ซึ่งตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมองจะยับยั้งไม่ให้วัคซีนเข้าไปถึงระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นวัคซีนที่เข้าสู่ระบบภูมิคุ้มกันได้จะมีปริมาณที่น้อยมากๆ ซึ่ง ดร.ปีเตอร์ อิงลิช สรุปว่า ในฐานะแพทย์และนักระบาดวิทยา เขาไม่เชื่อมั่นในผลวิจัยชิ้นนี้ จนกว่าจะมีงานวิจัยต่อยอดที่ให้ผลลัพธ์ชัดเจนยิ่งกว่านี้

  1. ชาวอังกฤษและเวลส์เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 14% ในปี 2020

มาร์ค สเตน ผู้ดำเนินรายการร่วมกับ ดร.กาย แฮชาร์ด ระบุว่าในปี 2020 ที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนัก อัตราการตายส่วนเกิน (Excess mortality) ไม่เพิ่มขึ้นในสหราชอาณาจักร เนื่องจากผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอยู่ในวัยเกินอายุขัยเฉลี่ยอยู่แล้ว

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) พบว่าอัตราการตายส่วนเกินในประเทศอังกฤษและเวลส์เมื่อปี 2020 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการตายส่วนเกินในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาที่ 14%

ONS ชี้แจงว่า แม้ผู้เสียชีวิตระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่วนใหญ่ จะเป็นคนกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงอยู่แล้วในเวลาไม่กี่วัน, ไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน แต่ก็มีหลักฐานยืนยันว่า กลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีก็มีอัตราการตายส่วนเกินมากกว่าช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างชัดเจน และเป็นหลักฐานยืนยันว่าโควิด-19 ไม่ได้เป็นภัยแค่คนกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเสียชีวิตในอนาคตอันใกล้เท่านั้น

  1. อัตราการตายส่วนเกินในปี 2021 ของนิวซีแลนด์ ไม่เกี่ยวกับวัคซีน

ดร.กาย แฮชาร์ด อ้างว่าในปี 2021 ประเทศนิวซีแลนด์มีอัตราการตายส่วนเกินถึง 2,000 ราย ซึ่งเป็นปีที่มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างแพร่หลาย

ข้อมูลด้านสถิติที่เผยแพร่โดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ระบุว่า ในปี 2021 มีชาวนิวซีแลนด์เสียชีวิต 34,932 ราย มากกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการตายส่วนเกินในรอบ 5 ปีประมาณ 2,200 ราย

อย่างไรก็ดี อัตราการตายส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นในปี 2021 แทบไม่เกี่ยวกับการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19

ระบบรายงานความปลอดภัยจากวัคซีนโควิด-19 ของนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี 2022 พบว่ามีรายงานการเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer จำนวน 156 ราย โดย 89 รายได้รับการยืนยันว่าการเสียชีวิตไม่น่าจะมีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีน, 51 รายไม่สามารถตรวจสอบได้เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ, 14 รายยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุ และมีเพียง 2 รายที่การเสียชีวิตด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบน่าจะเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 และกำลังรอผลยืนยันจากเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพอยู่ในขณะนี้

  1. อายุคือปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด

มาร์ค สเตน ผู้ดำเนินรายการอ้างว่า น้ำหนักตัวคือปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐานที่ 40 ปอนด์หรือ 18 กิโลกรัม

ข้อมูลดังกล่าวนำมาจากระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (NHS) ที่ระบุว่ากลุ่มคนที่จัดอยู่ในกลุ่มอ้วนมาก (severe obesity) หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 40 คือกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19

ผลการสำรวจชาวอังกฤษจำนวน 6.9 ล้านคน พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้น กับอัตราการรักษาตัวในห้องฉุกเฉินจากโรคโควิด-19

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุดไม่ใช่น้ำหนักตัว แต่เป็นอายุของผู้ป่วย

มูลนิธิโรคหัวใจแห่งชาติอังกฤษ ระบุว่าอายุของคนไข้คือปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ยืนยันเช่นเดียวกันว่า ความเสี่ยงของการป่วยหนักจากโควิด-19 จะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้ป่วยที่มากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง:

https://fullfact.org/health/guy-hatchard-mark-steyn-gb-news/

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง