ชัวร์ก่อนแชร์: ชาติที่ฉีดวัคซีนน้อย ยอดตายปี 2022 ลดลง จริงหรือ?

16 มีนาคม 2566
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : Reuters Fact Check (สหราชอาณาจักร)
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ประเภทข่าวปลอม : ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. เป็นการเสนอข่าวแบบ Cherry Picking
  2. เป็นการนำอัตราการฉีดวัคซีนที่แตกต่างในแต่ละประเทศ มาเชื่อมโยงกับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินอย่างไม่ถูกต้อง

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook และ Twitter ในต่างประเทศ โดยอ้างรายงานข่าวที่พบว่า ชาติในทวีปยุโรปที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง กลับพบการเสียชีวิตส่วนเกินในปี 2022 เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตรงข้ามกับประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศต่ำ กลับพบการเสียชีวิตส่วนเกินในปี 2022 น้อยลงอย่างมาก จนคลิปรายงานข่าวทำยอดวิวรวมกันกว่า 2 แสนครั้ง และมีการแชร์ไปแล้วกว่า 5,700 ครั้ง

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


คำกล่าวอ้างดังกล่าว นำมาจากรายงานโดยสถานีข่าว GB News ของสหราชอาณาจักร ออกอากาศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2022 โดยผู้ประกาศ มาร์ค สเตย์น นำเสนอข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากร 100 คนในชาติของทวีปยุโรป ที่รวบรวมโดย Statista บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติจากประเทศเยอรมนี

ข้อมูลที่รวบรวมจนถึงเดือนมกราคม 2023 พบว่า โปรตุเกส คือชาติในทวีปยุโรปที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากร 100 คนสูงที่สุด โดยฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 272 โดสต่อประชากร 100 คน ตามมาด้วยประเทศมอลต้า ที่ฉัดวัคซีนประมาณ 258 โดสต่อประชากร 100 คน และ เบลเยี่ยม ที่ฉัดวัคซีนประมาณ 253 โดสต่อประชากร 100 คน

ส่วน บัลแกเรีย คือชาติในทวีปยุโรปที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากร 100 คนน้อยที่สุด โดยฉีดวัคซีนไปเพียง 67 โดสต่อประชากร 100 คน

อีกสถิติที่นำมาเปรียบเทียบในรายงาน คือ อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินของชาติยุโรปในเดือนมิถุนายน 2022 ที่รวบรวมโดย Eurostat หน่วยงานด้านสถิติของสหภาพยุโรป

เมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของเดือนมิถุนายนในปี 2016 จนถึงปี 2019 พบว่า บัลแกเรีย คือชาติที่มีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินน้อยที่สุดในปี 2022 โดยน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ -7.9% ทั้งๆ ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อประชากรน้อยที่สุด ส่วนประเทศโปรตุเกสที่มีคนฉีดวัคซีนโควิด-19 มากที่สุด กลับมีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินสูงที่สุดในปี 2022 โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 23.9%

มาร์ค สเตย์น ผู้ประกาศในรายการตั้งข้อสรุปว่า ประเทศที่ฉีดวัคซีนน้อยที่สุด กลับมีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินน้อยที่สุด ส่วนประเทศที่ฉีดวัคซีนมากกลับมีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินสูงที่สุด ก่อนจะสรุปรายการด้วยความเห็นเชิงกระทบกระเทียบว่า “ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ไม่ใช่ผลลัพธ์ของเหตุการณ์จริงหรือ” (Correlation is not Causation?)

อย่างไรก็ดี การนำอัตราการฉีดวัคซีนและอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินมาเปรียบเทียบ เพื่ออ้างว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่มีประโยชน์ในการป้องกันการเสียชีวิต ถือเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง

โฆษกของ Statista ชี้แจงต่อ Reuters Fact Check ว่า การนำอัตราการฉีดวัคซีนของคนทั้งประเทศมาเทียบกับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินที่เกิดขึ้นเพียงเดือนเดียว เป็นเรื่องที่ไร้สติอย่างมาก

เจฟฟรีย์ มอร์ริส ผู้อำนวยการศูนย์ชีวสถิติ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) อธิบายต่อ Reuters Fact Check ว่า รายงานข่าวของ GB News คือรูปแบบของการ Cherry Picking ด้วยการนำอัตราการฉีดวัคซีนที่แตกต่างในแต่ละประเทศ มาใช้สนับสนุนแนวคิดของตนเองโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หากจะอ้างว่าวัคซีนโควิด-19 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตส่วนเกินเพิ่มขึ้น จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่ใช่เกิดเฉพาะประเทศที่ผู้อ้างจงใจทำให้ผู้คนหลงเชื่อเท่านั้น

การที่ผู้ประกาศกระทบกระเทียบแนวคิด “ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ไม่ใช่ผลลัพธ์ของเหตุการณ์” (Correlation is not Causation) ถือเป็นการไม่ยอมรับแนวทางหาผลลัพธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผล ทางรายการไม่แม้แต่จะพิสูจน์ความถูกต้องของข้อกล่าวอ้าง ด้วยการนำข้ออ้างไปเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากประเทศที่จงใจให้ผู้คนหลงเชื่อ

นอกจากนี้ อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินยังมาจากสาเหตุอันหลากหลาย การนำอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินมาเทียบกับอัตราการฉีดวัคซีนในแต่ละประเทศ ไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตได้ดีหรือไม่

เจฟฟรีย์ มอร์ริส อธิบายว่า การจะหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการฉีดวัคซีนกับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในระดับบุคคล ทั้งสาเหตุการเสียชีวิต, สถานะการฉีดวัคซีน และการเปรียบเทียบระหว่างประชากรที่ฉีดวัคซีนและไม่ฉีดวัคซีน

นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรกวนที่ต้องใช้พิจารณาอีกหลายอย่าง ทั้งอายุ, เพศ, สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม, โรคประจำตัว, ความเสี่ยงติดเชื้อของแต่ละอาชีพ รวมถึงประวัติการติดเชื้อโควิด-19

โฆษกของ Eurostat หน่วยงานด้านสถิติของสหภาพยุโรปชี้แจงว่า อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินอาจเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งกรณีของประเทศโปรตุเกสอาจเป็นผลมาจากคลื่นความร้อนที่ส่งผลกระทบต่อประเทศโปรตุเกสและสเปนในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

โฆษกของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) อธิบายว่า การนำข้อมูลสองแหล่งมาเปรียบเทียบเพื่อหาความสัมพันธ์ บางครั้งอาจทำให้ผู้คนหลงเชื่อได้ไม่ยาก เราสามารถนำอัตราการเพิ่มขึ้นของสิ่งใด ๆ เช่นยอดขายรถยนต์หรืออัตราการอาบน้ำต่อครัวเรือนมาอ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย

โฆษกของ ECDC ยังย้ำว่า มีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ได้ว่า วัคซีนโควิด-19 สามารถลดความรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมาก รวมถึงช่วยลดอัตราการเสียชีวิตอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.reuters.com/article/factcheck-gbnews-excessdeaths/fact-check-european-mortality-data-do-not-support-link-between-higher-covid-19-vaccination-rates-and-excess-deaths-idUSL1N3180Q7

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง