มั่นใจเปลี่ยนผ่านแหล่งก๊าซบงกชสู่ระบบ PSC ไร้ปัญหา

กรุงเทพฯ 7 มี.ค.- อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มั่นใจเปลี่ยนผ่านแหล่งก๊าซบงกช G2/61 จากระบบสัมปทานสู่ระบบ PSC เที่ยงคืนนี้ราบรื่น สามารถดำเนินการได้ทันที ไร้รอยต่อ


นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า การดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่านของแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช แปลง G2/61 ในช่วงเที่ยงคืนนี้  (7-8 มีนาคม) จากระบบสัมปทานสู่ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต(Production Sharing Contract หรือ PSC) ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(ปตท.สผ. อีดี) สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนแบบไร้รอยต่อ และไร้ปัญหาใดๆ 

เนื่องจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยได้ตรวจติดตามสภาพความแข็งแรง ปลอดภัยของสิ่งติดตั้งและทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมของแปลง G2/61 รวมทั้งได้จัดตั้งวอร์รูม (War Room) รองรับการบริหารจัดการสถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่านในลักษณะบูรณาการ ร่วมกับผู้รับสัมปทานรายเดิม ผู้รับสัญญารายใหม่ และผู้รับซื้อปิโตรเลียม โดยมีผู้บริหารของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติบัญชาการที่ห้องวอร์รูม รวมทั้งมีทีมเฉพาะกิจภาคสนาม จำนวน 3 ทีม คอยติดตาม ควบคุมสถานการณ์อย่างใกล้ชิดบนแท่นผลิตในทะเลอ่าวไทย โดยประจำที่แท่นผลิตกลางบงกชใต้  แท่นผลิตกลางบงกชเหนือ และเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวปทุมพาหะ เพื่อตรวจสอบปริมาณการผลิตปิโตรเลียมรอบสุดท้ายในช่วงเวลาก่อนหมดอายุสัมปทานรวมทั้งวัดปริมาณปิโตรเลียมที่คงค้างในเรือกักเก็บ ก่อนที่จะมีการส่งมอบให้กับผู้รับสัญญารายใหม่อย่างเป็นทางการ 


“ในวันที่ 8 มีนาคม 2566 ถือเป็นอีกวันหนึ่งในประวัติศาสตร์พลังงานของประเทศไทย ที่จะมีการใช้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตในกิจการปิโตรเลียม ที่สำคัญ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตจะทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแปลงG2/61 ปรับลดลงจากเดิม 279 – 324 บาทต่อล้านบีทียู หลือ 172 บาทต่อล้านบีทียู  หรือลดลงประมาณ 107-152 บาทต่อล้านบีทียู

คิดเป็นมูลค่าประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท (ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม – ธันวาคม 2566) ซึ่งช่วยสร้างเสถียรภาพของราคาก๊าซธรรมชาติที่จะนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า ลดต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า และลดผลกระทบเกี่ยวกับราคาค่าไฟฟ้าของประชาชนได้ด้วย” นายสราวุธ กล่าว

อย่างไรก็ดี  วันนี้แหล่งบงกช ผลิตก๊าซธรรมธรรมชาติอยู่ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ในข้อตกลงระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตกำหนดผลิตก๊าซธรรมธรรมชาติที่ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต้อวัน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงขอความร่วมมือผู้รับสัญญารายใหม่ คงอัตราการผลิต ก๊าซธรรมธรรมชาติที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  ไปจนถึงสิ้นปี(31 ธ.ค.66)


เพื่อชดเชยปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติที่ลดลงของแปลง G1/61 (แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณเดิม) 

แหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย  สร้างรายได้ให้แก่รัฐในรูปแบบค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้อื่น ๆ (ค่าตอบแทนการต่อระยะเวลาผลิต) เป็นมูลค่ากว่า 230,000 ล้านบาท และจะยังคงสร้างรายได้ และความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง