ผู้เสียหายยอดเงินหายจากบัญชีพุ่ง 4 หมื่นคน

กรุงเทพฯ 18 ต.ค.- ภัยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ กรณียอดเงินหายจากบัญชีหลายครั้ง ตำรวจไซเบอร์ระบุล่าสุดมีผู้เสียหายพุ่งถึง 4 หมื่นคน มูลค่าความเสียหายหลายสิบล้านบาท 


พลตำรวจโทกรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวถึงกรณีมิจฉาชีพล้วงข้อมูลส่วนตัว หลอกถอนเงินจากบัญชีธนาคาร โดยมีประชาชนหลายรายถูกหักเงินออกจากบัญชีธนาคารบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุว่า ขณะนี้ตำรวจไซเบอร์ประชุมร่วมกับสภาธนาคารไทย และธปท. เพื่อหาความร่วมมือแก้ปัญหากรณีดังกล่าว เบื้องต้นพบว่ามีผู้เสียหายประมาณ 4 หมื่นคน ยอดสูงสุด 2 แสนบาท มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายถูกถอนเงินครั้งละจำนวนไม่มาก แต่หลายบาท หลายครั้ง เชื่อว่าคนร้ายไม่น่าจะก่อเหตุคนเดียว และมาจากหลายกลุ่ม ใช้วิธีหลายรูปแบบ

พฤติการณ์การก่อเหตุ สัณนิฐานว่าอาจเกิดจาก 3 ลักษณะ คือ


1. เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอปลิเคชันต่างๆ เช่น แอปพลิเคชันออนไลน์ และข้อมูลเกิดหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ

2. การส่ง SMS หลอกลวง ที่จะส่งลิงก์มาตาม sms เข้ามือถือผู้เสียหาย และให้กรอกข้อมูลต่างๆ เข่น ปล่อยเงินกู้  ไปรษณีย์ไทย  

3. การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน เช่น การให้บัตรพนักงานไปชำระค่าสินค้าและบริการ ในห้าง หรือการเติมน้ำมัน อาจถูกพนักงานเก็บข้อมูลเลขหน้าบัตร 16 หลัก และเลข CVC หลังบัตร 3 ตัว ซึ่งคนร้ายอาจมีการรวบรวมข้อมูลและขายต่อในตลาดมืด 


จากการตรวจสอบพฤติกรรมการดูดเงินมักจะเป็นการดูดเงินจำนวนไม่กี่บาท แต่หลายยอด เพราะหากเป็นบัตรเดบิตมักจะไม่มีการส่ง sms แจ้งเตือนให้ผู้เสียหายรู้ ซึ่งยอดเหล่านี้มักเกิดจากการชำระซื้อค่าไอเทมในเกม หรือซื้อโฆษณาออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ ซึ่งการสืบสวนตำรวจต้องประสานกับร้านค้าที่รับชำระว่า กระบวนการตัดเงินอย่างไร หากเป็นแอปพลิเคชันในประเทศอาจง่ายค่อการตรวจสอบมากกว่าแอปพลิเคชันที่อยู่ในต่างเทศ เช่น google 

ชำระสินค้าและบริการที่เป็นยอดน้อยๆ ไม่ถึงขั้นต่ำ เพื่อป้องกันการปัญหาดังกล่าวทั้งเตือนประชาชน อย่าผูกบัตรดับเครดิต บัตรเดบิตกับแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็นหรือไม่น่าเชื้อถือ ไม่คลิกลิงก์ใน sms  หรืออีเมล์แปลกที่ไม่รู้จัก และควรลบหรือปิดเลข CVC เลข 3 ตัวหลังบัตร เพื่อความปลอดภัย สำหรับผู้ที่ถูกหักเงินจากบัญชีธนาคาร หรือบัตรเดบิต โดยไม่มีการใช้จ่ายจริง ขอให้รีบประสานธนาคาร และเข้าแจ้งความกับตำรวจทุกพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งแก้ปัญหาและหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป 

ขณะเดียวกัน ปปง. ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารต่างๆ ได้ตรวจสอบธุรกรรม ป้องกันฉ้อโกงของธนาคาร ไม่พบข้อบกพร่อง หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐาน  บัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าไม่ได้รั่วไหลจากธนาคารแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทางธนาคารจะได้นำสาเหตุที่เกิดขึ้น ไปปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อป้องกันกรณีดังกล่าวนี้ สำหรับการดำเนินคดี เนื่องจากในกรณีนี้ถือว่าธนาคารต่างๆ เป็นผู้เสียหาย ดังนั้น ทางธนาคารจะได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า