รมว.แรงงาน ยันแรงงานไม่ขาดแคลน พร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0

ก.แรงงาน 24ก.พ.-ก.แรงงาน เตรียมพร้อมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยทุกกลุ่ม เพื่อให้เพียงพอความต้องการแรงงานในทุกอุตสาหกรรม รองรับความต้องการตลาดในอนาคต และก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 


 

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน ได้กำชับให้มุ่งเน้นดูแลพัฒนาฝีมือแรงงานไทยทุกกลุ่ม เพื่อสนองตอบความต้องการแรงงานในทุกอุตสาหกรรมตามกรอบแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ระยะ 20 ปี(พ.ศ.2560-2579)จุดเริ่มต้นความสำเร็จอยู่ที่การวางรากฐานในช่วง 5 ปีแรก โดยได้บูรณาการกับ15 หน่วยงาน จัดทำยุทธศาสตร์ระยะ  5 ปีแรก  ภายใต้ “แผนแม่บทด้านแรงงาน (พ.ศ.2560–2564)”โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนแม่บทพัฒนาแรงงานไทย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การลงทุน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ  รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพแรงงานรองรับความต้อง การของตลาดแรงงานในอนาคต และการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0


ภาพข่าวรมวแรงงานยันแรงงานไม่ขาดแคลน (2)

นายอนันต์ชัย กล่าวว่า จากข้อมูลความต้องการแรงงานกลุ่ม First S- curve และNew S–curve ใน 10 อุตสาหกรรม ในปี2560–2564 พบว่า มีความต้องการแรงงานในภาพรวมเฉลี่ย 69,242 คนต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีความต้องการแรงงานเฉลี่ยต่อปีมากที่สุด จำนวน 18,558 คน รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร จำนวน 10,794 คน และอุตสาหกรรมดิจิทัล จำนวน 9,192 คน

 


ส่วนความคืบหน้าในการดำเนินการเตรียมแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมในอนาคตนั้น กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ดังนี้ ในปี 2560 ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 72,440 คน ได้ฝึกเตรียมคนไว้ ทั้งสิ้น 205,281 คน แบ่งเป็นการฝึกคนเตรียมเข้าทำงาน 6,540 คน พัฒนาศักยภาพแรงงานใหม่7,700คนและทวิภาคี/สหกิจศึกษา 191,041 คน นอกจากนี้มีการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่ทหารก่อนปลดประจำการ เป้าหมายอีก 3,000 คน

 

ปี2561 ความต้องการแรงงานใน10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 70,525 คน ได้ฝึกเตรียมคนไว้ทั้งสิ้น 191,850 คน แบ่งเป็นฝึกคนเตรียมเข้าทำงาน 10,000 คน พัฒนาศักยภาพแรงงานใหม่ 15,400 คน และทวิภาคี/สหกิจศึกษา 166,450 คน นอกจากนี้มีการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่ทหารก่อนปลดประจำการ เป้าหมายอีก 10,000 คน

 

ปี 2562 ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 68,933 คน ได้ฝึกเตรียมคนไว้ ทั้งสิ้น 179,337 คน แบ่งเป็นฝึกคนเตรียมเข้าทำงาน 10,410 คน พัฒนาศักยภาพแรงงานใหม่ 23,100 คน และทวิภาคี/สหกิจศึกษา 145,827 คน

 

ปี2563ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 67,647 คน ได้ฝึกเตรียมคนไว้ ทั้งสิ้น 167,613 คน แบ่งเป็นฝึกคนเตรียมเข้าทำงาน 10,841 คน พัฒนาศักยภาพแรงงานใหม่  23,100 คน และทวิภาคี/สหกิจศึกษา 133,673 คน

 

ปี2564 ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 66,666 คน ได้ฝึกเตรียมคนไว้ ทั้งสิ้น 156,482 คน แบ่งเป็นฝึกคนเตรียมเข้าทำงาน 11,293 คน พัฒนาศักยภาพแรงงานใหม่23,100 คน และทวิภาคี/สหกิจศึกษา122,089 คน

นอกจากอุตสาหกรรมหลักดังกล่าว ทางกระทรวงยังเตรียมกำลังแรงงานให้สอดคล้องความต้องการนายจ้างและตลาดแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมย่อยต่างๆ ในอนาคต โดยเฉพาะความต้องการแรงงานในประเภทกิจการที่คนไทยไม่นิยมทำ ส่วนแรกได้อนุญาตให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาวและกัมพูชา) เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2,615,703 คน รวมทั้งการนำเข้าแรงงานตาม MOU กับเวียดนาม ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับ 41 บริษัทนำเข้าแรงงานของไทย

 

นอกจากนี้ยังมีแรงงานพื้นที่สูง 560,00 คน ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามความรู้ความสามารถทุกประเภทงาน  รวมทั้งฝึกทักษะให้ทหารประจำการ เมื่อปลดออกไปแล้วสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานตามที่กระทรวงแรงงานทำ MOA กับกระทรวงกลาโหมไว้แล้ว

 

“รมว.แรงงานย้ำว่า ขอให้ภาคเอกชนมั่นใจว่า กระทรวงสามารถตอบสนองความต้องการแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศได้ แรงงานที่จบใหม่จะได้รับพัฒนาทักษะให้สูงขึ้นตรงความต้องการก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาตามความต้องการนายจ้างก็จะนำเข้าตามระบบ MOUให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องปรับกระบวนการผลิต ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีแนวทางรักษาคนให้อยู่ในระบบได้ รองรับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนกลุ่มแรงงานส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถพัฒนาทักษะให้อยู่ในอุตสาหกรรมหลักได้ก็พัฒนาไปอยู่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆให้สามารถประกอบอาชีพดำรงชีพได้อย่างมีความสุข” นายอนันต์ชัย กล่าว .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า