ผลกระทบแบน 3 สารเคมีต่ออุตสาหกรรมเกษตร ตอน 2

สุพรรณบุรี 25 พ.ย.- มีข้อเสนอถึงวิธีการที่จะใช้กำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ทั้งการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร สารชีวภัณฑ์หรือสารเคมีทดแทน หากตั้งแต่ 1 ธ.ค.นี้ สารเคมีทั้ง 3 ชนิดจะถูกแบน แต่เกษตรกรกรบอกว่าเมื่อนำไปปฏิบัติกลับพบข้อจำกัด และอาจส่งผลให้ทั้งต้นทุนและมีอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ติดตามในรายงานพิเศษ “ผลกระทบแบน 3 สารเคมีต่ออุตสาหกรรมเกษตร” วันนี้เสนอเป็นตอนที่ 2


เกษตรกรที่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี กำลังคัดมันส่งโรงรับซื้อมันสำปะหลังเขาปลูกมัน 5 ไร่ ไม่เคยใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชฉีดพ่นในไร่มัน แต่ใช้การถอนด้วยมือแทน


อย่างชาวไร่มันคนนี้ ปลูกอ้อยมาก่อน แต่เมื่ออ้อยล้นตลาด จึงแบ่งพื้นที่ครึ่งหนึ่ง 20 ไร่ มาปลูกมันได้ 3 ปีแล้ว แปลงนี้อายุ 6 เดือน ใช้ทั้งพาราควอต และไกลโฟเซต หากมีการยกเลิกใช้ 3 สารเคมี ต้องใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรกำจัดวัชพืชแทน หนี้เก่าก็ยังมี หนี้ใหม่กำลังจะเพิ่ม เพราะพื้นที่ปลูกอยู่บนเขา รู้สึกท้อใจ


นอกจากมันสำปะหลัง ยังมีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นิยมปลูกบนพื้นที่ภูเขา ตอนนี้อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยว หลังปลูกครบ 4 เดือน นอกจากใช้แรงงานคน หลายแปลงนำเครื่องจักรเข้ามาเก็บเกี่ยว จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะนำเครื่องจักรเข้ามากำจัดวัชพืชได้เช่นกัน แต่เกษตรกรบอกว่าไม่ได้ เพราะเครื่องเกี่ยวข้าวโพดเกี่ยวบนพื้นดิน แต่เครื่องกำจัดวัชพืชต้องขุดลงไปในดิน และในดินยังมีหิน ใบมีดอาจหักพัง ยิ่งจะทำให้เสียเงินมากกว่าเดิม

เหตุผลสำคัญที่ต้องการให้ยกเลิก 3 สารเคมี คือ ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่มีการพูดถึงสารตกค้างในผักผลไม้ ซึ่งยังคงเป็นประเด็นถกเถียงในงานวิจัย

ผู้เชียวชาญด้านวัชพืชให้ข้อมูลว่า พาราควอตออกฤทธิ์เฉพาะส่วนที่เป็นสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ ทำให้เหี่ยวแห้งตาย เมื่อตกลงสู่ดินจะถูกดูดยึดไว้กับอนุภาคของดิน และหมดฤทธิ์ทันที จึงไม่ซึมเข้าสู่ราก ไม่ทำลายระบบรากใต้ดิน และจะสลายตัวโดยแสงและถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินใช้เวลาประมาณ 1-1.5 เดือน หากสะสมในดินและเป็นพิษจริง วัชพืชคงไม่เติบโตขึ้นในพื้นที่เดิม ส่วนไกลโฟเซต ที่มีการระบุว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ยังมีการฟ้องร้องกันอยู่และยังไม่ตัดสินคดี

ระหว่างนี้ยังมีการเสนอให้ใช้สารชีวภัณฑ์ซึ่งผลิตจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ แทน 3 สารเคมี แต่กลับมีผู้ฉวยโอกาสนำพาราควอตและไกลโฟเซ ผสมในสารชีวภัณฑ์ หลอกขายให้เกษตรกรในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนอีกมาก และยิ่งอันตราย เพราะเกษตรกรคิดว่าปลอดภัย จึงสัมผัสโดยตรง และอาจตกค้างถึงผู้บริโภค

ขณะที่การเสนอใช้สารเคมีทดแทนอย่างกลูโฟซิเนต ยังมีการถกเถียงกันเรื่องราคาที่สูงกว่าพาราควอต 3-5 เท่า และประสิทธิภาพอาจไม่เทียบเท่าพาราควอต ซึ่งกระทรวงเกษตรขอเวลา 2-3 ปี เรื่องการหาสารทดแทน

สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมนวัตกรรมเกษตรไทย และสมาคมคนไทยธุรกิจ ซึ่งไม่เห็นด้วยต่อการแบน 3 สารเคมี มองว่าการแบน 3 สารเคมี ที่เคยได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรในอดีต อาจกลายเป็นสารที่ผิดกฎหมายในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ทำให้รัฐต้องพิจารณาแก้ไขและชดเชยความเสียหายทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และวิธีการเก็บผลิตภัณฑ์สารเคมีส่งรัฐในกรอบเวลาที่ทำได้จริง.-สำนักข่าวไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้โรงอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพลิงไหม้โรงงานอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่เร่งนำรถดับเพลิงเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

พุ่งไม่หยุดราคาทองคำโลกนิวไฮอีก คาดไปต่อถึง 3 พันดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งแตะ 2,800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสพุ่งต่อถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลราคาทองไทยวันนี้ขึ้นต่อจากราคาปิดวานนี้ และทำนิวไฮเท่าวานนี้

ข่าวแนะนำ

สาว อบต.ตกใจ ตำรวจตามรอยเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน

สาว อบต. ตกใจ ตำรวจมาถึงที่ทำงาน ถามถึงเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน ยันไม่เคยรู้จัก “มาดามอ้อย-ทนายตั้ม” มาก่อน

นายกฯ ขีดเส้น 30 วัน ออกมาตรการคุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ

นายกฯ สั่ง พาณิชย์-ดิจิทัลฯ เข้ม 3 มาตรการ คุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศให้มีคุณภาพ ขีดเส้นให้เสร็จภายใน 30 วัน

“มาริษ” ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4

“มาริษ” รมว.ต่างประเทศ ร่อนหนังสือ​ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4 เจ็บ 1 ให้ยุติส่งเข้าพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมยับยั้งชั่งใจ ป้องกันความขัดแย้งขยายตัว ขอคนไทยชะลอการเดินทางไปอิสราเอล-ตะวันออกกลาง