ศาลฎีกาสหรัฐไม่รับคำร้องไบเออร์ยกฟ้องคดีมะเร็ง

วอชิงตัน 22 มิ.ย.- ศาลฎีกาสหรัฐไม่รับคำร้องของไบเออร์ บริษัทอุตสาหกรรมเคมีและยาของเยอรมนีที่ขอให้ยกฟ้องคดีความพันกว่าคดีที่ฟ้องว่ายาฆ่าหญ้าของบริษัททำให้เป็นมะเร็ง การไม่รับคำร้องของศาลฎีกาเมื่อวันอังคารตามเวลาสหรัฐ ทำให้คดีความของนายเอ็ดวิน ฮาร์ดแมน ชาวรัฐแคลิฟอร์เนียยังมีผลดังเดิม ตามที่ศาลตัดสินให้ได้รับค่าเสียหาย 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 887 ล้านบาท) ในคดีที่ฟ้องว่าเป็นมะเร็งหลังจากใช้ยาฆ่าหญ้ายี่ห้อราวด์อัพ (Roundup) ของไบเออร์มาหลายสิบปี ถือเป็นคดีตัวอย่างให้แก่ผู้ฟ้องไบเออร์อีกพันกว่าราย ส่วนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในรัฐแคลิฟอร์เนียมีคำชี้ขาดไม่รับข้อยืนยันปี 2563 ของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรืออีพีเอ (EPA) ที่ว่า ไกลโฟเซตในยาฆ่าหญ้ายี่ห้อนี้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ และไม่น่าจะทำให้คนเป็นมะเร็ง โดยได้สั่งให้อีพีเอทบทวนข้อยืนยันดังกล่าว ขณะเดียวกันไบเออร์ชนะคดีในศาลระดับรัฐเป็นคดีที่ 4 ติดต่อกัน กรณีมีคนฟ้องว่าเป็นมะเร็งเพราะใช้ราวด์อัพ โดยชนะคดีล่าสุดที่รัฐออริกอนเมื่อสัปดาห์ก่อน ไบเออร์อ้างว่า หน่วยงานรัฐบาลกลางยืนยันมาโดยตลอดว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทปลอดภัย ดังนั้นคดีความที่อ้างตามกฎหมายระดับรัฐจึงควรถูกยกฟ้อง ปีที่แล้วไบเออร์ได้จ่ายเงิน 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 159,637 ล้านบาท) ยุติคดีความที่ถูกฟ้องว่าไกลโฟเซตทำให้เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิน หลังจากจ่ายเงินเกือบ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 354,750 ล้านบาท) ยุติคดีความไปเมื่อปี 2563 อย่างไรก็ดี ไบเออร์ประกาศว่า จะเลิกใช้สารไกลโฟเซตในยาฆ่าหญ้าสำหรับที่พักอาศัยตั้งแต่ปี […]

ศาลอุทธรณ์สหรัฐสั่งสอบใหม่เรื่อง “ไกลโฟเซต” ไม่อันตราย

แคลิฟอร์เนีย 18 มิ.ย.- ศาลอุทธรณ์สหรัฐสั่งให้ตรวจสอบข้อยืนยันสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรื่องสารไกลโฟเซตในยาฆ่าหญ้ายี่ห้อราวด์อัพ (Roundup) ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ และไม่น่าจะก่อมะเร็งในคน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มีคำสั่งให้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรืออีพีเอ (EPA) ตรวจทบทวนข้อยืนยันปี 2563 ที่ว่าไกลโฟเซตไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้สัมผัสสารนี้ไม่ว่าทางใดก็ตาม ทั้งที่ใช้ในฟาร์ม ในสวน ข้างทาง หรือเป็นสิ่งตกค้างในพืชอาหาร ผู้พิพากษาระบุในคำพิพากษาที่เป็นเอกฉันท์ขององค์คณะผู้พิพากษา 3 คนว่า ข้อยืนยันดังกล่าวของอีพีเอไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักสนับสนุน นอกจากนี้ อีพีเอยังไม่ปฏิบัติตามรัฐบัญญัติสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ จากการที่ไม่ตรวจสอบผลกระทบของไกลโฟเซตที่มีต่อพืชและสัตว์อย่างเพียงพอ โฆษกอีพีเอแถลงว่า ยังคงอนุญาตให้ราวด์อัพจำหน่ายได้ต่อไปในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ศึกษาคำสั่งหนา 54 หน้าของศาลอุทธรณ์เพื่อตัดสินใจในขั้นต่อไป ราวด์อัพเป็นยาฆ่าหญ้าที่ใช้มากที่สุดในโลก ผลิตโดยมอนซานโต บริษัทเกษตรเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรของสหรัฐที่ถูกไบเออร์ บริษัทอุตสาหกรรมเคมีและยาของเยอรมนีซื้อกิจการไปในปี 2561 รัฐแคลิฟอร์เนียและอีกหลายรัฐในสหรัฐระบุว่า ไกลโฟเซตเป็นสารเสี่ยงก่อมะเร็ง ขณะที่สำนักงานเพื่อการวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลกจัดในปี 2558 ให้ไกลโฟเซตเป็นสารที่อาจก่อมะเร็ง ด้านไบเออร์แถลงว่า ข้อยืนยันของอีพีเอในปี 2563 อาศัยการประเมินอย่างแม่นยำของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ที่ใช้เวลานานกว่า 40 ปี บริษัทหวังว่าอีพีเอจะยืนยันตามที่ได้ยืนยันมาตลอด 40 กว่าปีว่า ยาฆ่าหญ้าที่มีไกลโฟเซตไม่เป็นอันตรายและไม่ก่อมะเร็ง เอพีรายงานว่า ศาลฎีกาสหรัฐกำลังพิจารณาว่าจะเปิดการไต่สวนมูลฟ้องฎีกาของไบเออร์ที่อาจส่งผลให้คำร้องจำนวนมากเรื่องราวด์อัพทำให้เป็นมะเร็งเป็นอันตกไป […]

สถาบันมะเร็งฯ ย้ำจุดยืนร่วมต่อต้านการใช้ 3 สารกำจัดศัตรูพืช

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ย้ำจุดยืนเดิมร่วมต่อต้านการใช้สารพาราควอต สารไกลโฟเซต และสารคลอร์ไพริฟอส ชี้งานวิจัยที่เชื่อถือได้จำนวนมากแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการเกิดมะเร็งกับสารกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดนี้

“อนุทิน” เดินหน้าแบน 3 สารเคมี

“อนุทิน” รับยังเดินหน้าแบน 3 สารเคมีต่อไป เน้นให้ความรู้ประชาชนตระหนัก พิษภัย สั่ง อย.ทำฉลากอาหารปลอดภัย หวังกระตุ้น จูงใจคนบริโภคให้ตระหนัก

“สุริยะ” แจงปมคณะ กก.วัตถุอันตราย พลิกมติ ยันตัดสินใจบนข้อเท็จจริง

“สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” ประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย แจงประเด็นสงสัยมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายกรณี 3 สารเคมี เป็นเอกฉันท์หรือไม่ และทำไมมติจึงพลิกจากการประชุมครั้งก่อน พร้อมยืนยันตนเองไม่มีผลประโยชน์เรื่องนี้ การตัดสินใจอยู่บนข้อเท็จจริง

BIG STORY : ยกเลิกแบนไกลโฟเซต เลื่อนแบนพาราควอต-คลอร์ไพริฟอส

การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายวันนี้ มีมติให้แบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส แต่เลื่อนเวลาออกไปอีก 6 เดือน ส่วนไกลโฟเซตยกเลิกการแบน แต่จำกัดการใช้ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนมติคณะกรรมการครั้งที่แล้ว

ผลกระทบแบน 3 สารเคมีต่ออุตสาหกรรมเกษตร ตอน 3

หากมีการแบน 3 สารเคมี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้ หนึ่งในข้อกังวล คือ สตอกสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ที่รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 20,000 ตัน รัฐบาลจะจัดการอย่างไร เกษตรกรยังสงสัยว่าหากนำไปคืนบริษัทจะได้เงินคืนจริงหรือไม่

ผลกระทบแบน 3 สารเคมีต่ออุตสาหกรรมเกษตร ตอน 2

มีข้อเสนอถึงวิธีการที่จะใช้กำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ทั้งการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร สารชีวภัณฑ์หรือสารเคมีทดแทน หากตั้งแต่ 1 ธ.ค.นี้ สารเคมีทั้ง 3 ชนิด จะถูกแบน แต่เกษตรกรกรบอกว่า เมื่อนำไปปฏิบัติ อาจส่งผลให้ทั้งต้นทุนและอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น

ไบเออร์เผยโจทก์ในสหรัฐที่ร้องว่าเป็นมะเร็งเพราะไกลโฟเซตเพิ่มขึ้นหลายเท่า

ไบเออร์ บริษัทยาข้ามชาติของเยอรมนีเผยว่า จำนวนโจทก์ในสหรัฐที่ยื่นฟ้องว่าเป็นมะเร็งเพราะยาฆ่าหญ้าที่มีไกลโฟเซตเป็นส่วนผสมหลัก เพิ่มขึ้น

รมว.พาณิชย์ เชื่อสหรัฐฯ ห่วงใยแบน 3 สารเคมี

“จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” เผย หนังสือของกระทรวงเกษตร สหรัฐฯ ที่ส่งมาให้รัฐบาลไทย ห่วงใยการแบน 3 สารเคมี ส่งต่อกรมการค้าต่างประเทศพิจารณา พร้อมขอเวลาศึกษาก่อนกระทบกับไทยแค่ไหน

1 2 3
...