fbpx

สทนช.เปิดแผนบริหารจัดการน้ำชาติ 20 ปี

กรุงเทพฯ 29 ม.ค. – สทนช.สร้างความรู้ความเข้าใจกฎหมายน้ำฉบับแรกของไทย พร้อมเปิดแผนบริหารจัดการน้ำของชาติ 20 ปี เร่งเข็นโครงการสำคัญขนาดใหญ่ 30 แห่ง  ยันเกษตรกร-การใช้น้ำพื้นฐาน -ครองชีพปลอดการจัดเก็บ  


นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวระหว่างการสัมมนาเรื่อง “เหลียวหน้า….แลหลังแนวทางการบริหารจัดการน้ำของชาติ 20 ปีภายใต้การแจ้งเกิด พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำพ.ศ.2561” ว่า  พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวนับเป็นกฎหมายน้ำฉบับแรกของประเทศ  ซึ่งรัฐบาลคาดหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดการบูรณาการการใช้ พัฒนา บริหารจัดการ ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำที่เป็นเอกภาพ มีมาตรการป้องกันแก้ไขน้ำแล้ง-น้ำท่วม วางหลักเกณฑ์ในการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำสาธารณะ มีองค์กรบริหารจัดการน้ำระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำสะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำ  

นายสมเกียรติ กล่าวถึงทิศทางบริหารจัดการทรัพยากรน้ำว่า จะมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความเป็นเอกภาพ ตลอดจนบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถบริหารทรัพยากรน้ำให้มีความสอดคล้องกันทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน 8 เรื่อง คือ การจัดสรร การใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และสิทธิ์ในน้ำ รวมทั้งจะวางหลักเกณฑ์ในการประกันสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำสาธารณะการจัดทำนโยบายและแผนบริหารทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    รวมทั้งจะทำให้เกิดองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 3 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำ 


“ขั้นตอนต่อไป สทนช.เตรียมความพร้อมในการนำกฎหมายลูกต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนดพื้นที่ลุ่มนํ้าและการอนุญาตการใช้นํ้า และการเก็บค่านํ้า เป็นต้น เพื่อออกไปรับฟังความคิดเห็นในคราวเดียวกัน โดยเฉพาะการเก็บค่านํ้า ทาง สทนช.อยู่ในช่วงศึกษาการเก็บค่านํ้าของชลประทานและการจัดเก็บค่านํ้าบาดาล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมากที่สุด และการน้ำใช้ในขั้นพื้นฐานการดำรงชีพจะไม่มีการเก็บค่านํ้าอย่างแน่นอน  ส่วนจะเก็บจากอุตสาหกรรมขนาดไหน เก็บอย่างไร จะต้องไปรับฟังความคิดเห็นและศึกษาให้รอบคอบที่สุด” นายสมเกียรติ กล่าว  

นายสมเกียรติ  กล่าวถึงบทบาทของ สทนช.ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำฯ ว่า จะทำหน้าที่เป็นเสนาธิการน้ำและเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) โดยมีหน้าที่และอำนาจสำคัญในการจัดทำผังน้ำเชื่อมโยงการดำเนินงานกับคณะกรรมการลุ่มน้ำ หน่วยงานของรัฐ อปท. และภาคส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.น้ำฯ อำนวยการและกำกับดูแลโครงการสำคัญระดับชาติหรือโครงการเร่งด่วน ตลอดจนบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติน้ำที่นายกรัฐมนตรีจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ขณะที่ สทนช.ภาคมีบทบาททำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการลุ่มน้ำและดำเนินการให้มีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและจัดทำกฎหมายลำดับรองตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำฯ ให้เสร็จ เพื่อเป็นกฎหมายในการบริหารทรัพยากรน้ำเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คาดภายใน 2 ปี กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ ตามหมวด 4 และกฎหมายว่าด้วยการยื่นคำขอรับใบอนุญาตการใช้น้ำตามมาตรา 104 เสร็จ  

สำหรับประโยชน์จากการบริหารทรัพยากรน้ำภายใต้ พ.ร.บทรัพยากรน้ำฯ จะทำให้มีนโยบายการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ทำให้มีแผนแม่บทการบริหารทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยระดับลุ่มน้ำจะมีแผนแม่บทการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ ซึ่งจะเป็นแผนที่ที่กำหนดทางเดินให้ไปถึงจุดหมาย ทำให้มีความมั่นคงและยั่งยืนด้านน้ำ มีการบริหารจัดการน้ำครอบคลุมทุกบริบทของน้ำ ทั้งน้ำในบรรยากาศ น้ำบนดิน น้ำใต้ดิน และน้ำทะเล ตลอดจนบริหารจัดการโดยองค์กรระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และองค์กรผู้ใช้น้ำ ขณะที่ประชาชนก็จะมีสิทธิ์ใช้น้ำตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่สำคัญคือ จะทำให้ประเทศไทยมีแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมที่บูรณาการร่วมกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ 


นอกจากนี้ สทนช.จะเร่งขับเคลื่อนแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ให้สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ 66 พื้นที่  แบ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาด้านน้ำ 53 พื้นที่ รวม 34.62 ล้านไร่ น้ำท่วม 11.24 ล้านไร่ น้ำแล้ง 6.87 ล้านไร่  ประสบปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง 16.51 ล้านไร่ ปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ 0.001 ล้านไร่ และพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ 13 พื้นที่ 10.81 ล้านไร่ ส่วนที่พร้อมดำเนินการปี 2562 จำนวน 7 แห่ง วงเงิน 29,660 ล้านบาท  ปี 2563 จำนวน 46 921,273 ล้านบาท  ปี 2564 จำนวน 52 แห่ง วงเงิน 189,755 ล้านบาท  ดำเนินการปี 2565 จำนวน 7 แห่ง วงเงิน 76,738 ล้านบาทฃ รวมทั้งศึกษา SEA ใน 5 ลุ่มน้ำสำคัญ ได้แก่ สะแกกรัง ปราจีนบุรี-บางปะกง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ชี มูล เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด