คับข่าวมีของ กฐินพระราชทาน ณ ภูฏาน

กทม. 12 พ.ย.-คับข่าวมีของ ช่วงออกพรรษา มีพิธีกรรมหนึ่งที่สำคัญสำหรับชาวพุทธ นั่นคือการทอดกฐิน และกฐินพระราชทานไม่ได้มีแค่ในไทย แต่ยังขยายไปวัดพุทธในต่างประเทศด้วย


ประเพณีทอดกฐิน เป็นพิธีที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติมาช้านาน ที่ทำเฉพาะในช่วงกฐินกาล คือหลังออกพรรษา 1 เดือน นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือวันลอยกระทง เพื่อถวายเครื่องบริวารให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาตลอดช่วง จะมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ


โครงการเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายที่วัดพุทธในต่างประเทศนั้น มีตั้งแต่ปี 2538  ปัจจุบันมี 13 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน ศรีลังกา อินเดีย เนปาล บังกลาเทศและภูฏาน ที่ริเริ่มโดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขณะนั้น ที่ต้องการวางรากฐานร่วมทางวัฒนธรรมของไทยและมิตรประเทศ ตลอดจนเผยแพร่พระกียรติคุณของสถาบันพระมาหากษัตริย์ไทยที่ทรงอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นพิธีสำคัญที่จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี 

ในปีนี้ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศแรกที่ไทย เชิญผ้ากฐินพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทอดถวาย ณ วัดคิชู ลาคัง เมืองพาโร โดยมีนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนฝ่ายไทยและฝ่ายภูฏาน รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั้งสองประเทศ


วัดคิชู ลาคัง เป็นวัดพุทธมหายานที่เก่าแก่ที่สุดในภูฏานและเป็นวัดพุทธแห่งแรก มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 1,200 ปี สร้างเมื่อศตวรรษที่ 7 โดยกษัตริย์ซ็องเซน กัมโป แห่งทิเบตภายในประดิษฐานโจโว ศากยมุนี พระพุทธปฎิมาศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่เคารพสูงสุดของที่นี่ โดยภายในวัดโอบล้อมด้วยภูเขา และเต็มไปด้วยวงล้อมนตราที่เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างมาหมุนเพื่อให้ได้รับพรและการคุ้มครองอีกทั้งยังช่วยทำสมาธิ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงความสำคัญของกฐินพระราชทาน ในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน ว่าเป็นการสร้างความแน่นแฟ้น ทั้งในระดับประเทศและประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางเชื่อมความสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม แม้จะนับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน แต่ก็มีหลากหลายนิกาย พิธีกรรมจึงไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ภูฏานจะไม่มีการกรวดน้ำเหมือนไทยที่ความสำคัญกับพิธีกรรมนี้ หรือไทยจะใช้เทียนไข 1 คู่ ส่วนภูฏานจะใช้เทียนที่ทำจากเนยหลายสิบอันอีกทั้งจะต้องมีพานผลไม้วางถวายเสมอแต่ไทยมีเพียงดอกไม้ รวมถึงการกราบพระพุทธรูป ชาวภูฏานจะไหว้อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน แบบอัษฎางคประดิษฐ์ โดยนอนราบให้อวัยวะส่วนสำคัญสัมผัสกับพื้นทั้ง 8 ส่วน ซึ่งแม้ว่าพิธีกรรมจะต่างกันอย่างไร แต่ก็มิใช่อุปสรรคต่อการทำนุบำรุงศาสนาของพุทธศาสนิกชนระหว่างมิตรประเทศ ที่สามารถหลอมหลวมใจชาวพุทธให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง