พาณิชย์พอใจยอดใช้สิทธิ์ FTA-GSP แตะ 36,000 ล้านดอลลาร์ฯ

นนทบุรี 15 ส.ค. – พาณิชย์พอใจมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าแตะ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เตรียมประเมินมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 10 


นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แถลงการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP)  โดยในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.61) มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมอยู่ที่ 36,435.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ อยู่ที่ร้อยละ 73.72 ขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมาร้อยละ 18.66 แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้  FTA 34,192.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 75.15 ของมูลค่าการส่งออกรวมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไปยังประเทศคู่ภาคีความตกลง และเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 20.05 และมูลค่าการส่งออกภายใต้ GSP 2,242.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน มูลค่า 12,901.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จีน มูลค่า 8,610.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออสเตรเลีย มูลค่า 4,735.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ญี่ปุ่น มูลค่า 3,677.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย มูลค่า 2,237.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ร้อยละ 93.98 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ร้อยละ 89.11 และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ร้อยละ 88.43 


อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ แยกตามตลาดพบว่าทุกตลาดยกเว้นนิวซีแลนด์มูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์ความตกลงการค้าเสรีขยายตัว 2 หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ จีน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 29.93 รองลงมา คือ ตลาดอินเดียและออสเตรเลีย ตามลำดับ แม้ว่าอินเดียจะเป็นตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์สูงเป็นอันดับ 5 คือ อยู่ที่ 2,237.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 25.98 เมื่อพิจารณาอัตราการใช้สิทธิประโยชน์พบว่ามีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์เพียงร้อยละ 50.03 จึงอาจกล่าวได้ว่าตลาดอินเดียยังคงมีโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีซึ่งรัฐได้จัดทำขึ้น สำหรับตลาดที่มีความสำคัญทั้งในแง่มูลค่าและการใช้สิทธิประโยชน์ คือ จีน ออสเตรเลีย และอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าและอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงในอันดับต้น ขณะเดียวกันมีอัตราการขยายตัวระดับสูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับรายการสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์บรรทุก รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติน้ำตาลจากอ้อย และเครื่องปรับอากาศ 

ส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP ปัจจุบันไทยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP 5 ระบบ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย และเครือรัฐเอกราช ทั้งนี้ ตลาดส่งออกสำคัญของไทยทั้งเชิงมูลค่าและอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ คือ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก มูลค่าการใช้สิทธิ GSP อยู่ที่ 2,242.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 57.15 ของมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP รวม ซึ่งมีมูลค่า 3,923.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากเปรียบเทียบมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP ทั้งหมด พบว่ากว่าร้อยละ 90 เป็นการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐอเมริกา โดยในช่วงครึ่งปีแรกมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 2,091.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 68.16 ของมูลค่าการส่งออกในรายการสินค้าได้สิทธิ GSP จากสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 3,068.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.27 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ระบบ GSP สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องดื่มอื่น ๆ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง และรถจักรยานยนต์ ซึ่งรายการสินค้าข้างต้นสหรัฐอเมริกาจะยกเว้นภาษีนำเข้าให้แก่สินค้าไทยที่ส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษ GSP 

จากที่กรมการค้าต่างประเทศประเมินว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าจะมีอัตราการขยายตัวไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกรวมที่ร้อยละ 9 และเมื่อพิจารณามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งมีมูลค่า 36,455.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ FTA 34,192.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ GSP 2,242.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กรมฯ มั่นใจว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่งออกที่สอดคล้องกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับ การปรับปรุงระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าที่สะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่าย รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ กรมฯ จึงอยู่ระหว่างการประเมินความเป็นไปได้ที่จะปรับเพิ่มเป้าหมายการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 10 เป็นต้น. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่