ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ GSP เพิ่มข้อได้เปรียบราคาสินค้าส่งออก

นายกฯ ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ GSP เพิ่มข้อได้เปรียบทางด้านราคาสินค้าส่งออก และมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดย 2 เดือนแรก 2567 ใช้ GSP แล้วรวมที่ 480.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถุงมือยางแชมป์ ส่งออกภายใต้ GSP สูงสุด

ไทยขอสหรัฐฯ พิจารณาต่ออายุให้สิทธิ GSP หลังหมดไปเมื่อปลายปี 63

นนทบุรี 13 มี.ค.-รมว.พณ.หารือรัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ พร้อมสภาผู้ส่งออกแห่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า ส่งเสริมความเข้มแข็งห่วงโซ่อุปทาน และขอให้สหรัฐฯ พิจารณาเร่งรัดการต่ออายุการให้สิทธิ GSP ที่ได้หมดอายุไปเมื่อปลายปี 2563 ให้เสร็จโดยเร็ว เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับนางจีนา เอ็ม. เรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ พร้อมด้วยสภาผู้ส่งออกแห่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทางการค้า เน้นย้ำการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ร่วมมือกันขับเคลื่อนการเจรจา IPEF และผลักดันการต่ออายุโครงการ GSP ตลอดจนการปลดไทยออกจากบัญชี WL ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ กับผู้บริหารสหรัฐในครั้งนี้ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการค้าและโอกาสทางธุรกิจกับประเทศในภูมิภาคต่างๆ ถือเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองฝ่ายได้พบหารือกัน โดยเน้นย้ำว่าไทยและสหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาเป็นเวลานานกว่า 190 ปี และกระทรวงพาณิชย์ของไทยพร้อมร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และสภาผู้ส่งออกแห่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม ได้นำเสนอนโยบายด้านเศรษฐกิจการค้าที่สำคัญของไทยแก่สหรัฐฯ อาทิ นโยบาย Soft Power การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การสร้างดุลยภาพของผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต […]

ส่งออกเครื่องปรับอากาศไทยใช้สิทธิ GSP ไปตลาดสหรัฐฯ พุ่ง

นนทบุรี 4 เม.ย.-กรมการค้าต่างประเทศเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) และนอร์เวย์ ในเดือนแรกของปี 2566 มูลค่ารวม 281.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดสหรัฐฯ ยังคงครองแชมป์อันดับ 1 ใช้สิทธิสูงถึง 264.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศใช้สิทธิ GSP ส่งออกสูงสุด นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยสถิติการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบที่ไทยได้รับอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช มีมูลค่ารวม 281.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ สูงถึง 53.56% โดยตลาดสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยที่ใช้สิทธิ GSP มากที่สุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 94% ของมูลค่าการส่งออกรวมที่ใช้สิทธิ GSP ทั้ง 4 ระบบ โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ส่งออกไปสหรัฐฯ 264.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.83% ส่วนการส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์และกลุ่ม CIS มีการใช้สิทธิ GSP ลดลง 16.90% 22.14% และ 66.78% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและสถานการณ์สงครามระหว่างรัฐเซีย-ยูเครน ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่มีการส่งออกโดยใช้สิทธิไปยังสหรัฐฯ สูงสุดอันดับ 1 คือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 44.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 176.24% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 1 ของกลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ ซึ่งคาดการณ์ว่าไทยจะมีแนวโน้มการใช้สิทธิฯ เพื่อส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก สหรัฐฯ ยังมีการดำเนินนโยบายตอบโต้ทางการค้าทางด้านภาษีกับจีนอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ สินค้าอื่นที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง คือ อาหารปรุงแต่ง เลนส์แว่นตาทำจากวัสดุอื่นๆ ที่ไม่ใช่แก้ว หีบเดินทางขนาดใหญ่ กระเป๋าใส่เสื้อผ้า และถุงมือยาง สำหรับโครงการ GSP อื่นๆ มีสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิสูง อาทิ ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องดื่ม (สวิตเซอร์แลนด์) เพชรพลอยรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ (สวิตเซอร์แลนด์) ของที่ใช้บรรจุสินค้ารวมทั้งฝาทำด้วยโพลิเมอร์ของเอทิลีน (สวิตเซอร์แลนด์) สูทของสตรีหรือเด็กหญิงทำด้วยขนแกะหรือขนละเอียดของสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป (นอร์เวย์) อาหารปรุงแต่งอื่นๆ ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด และข้าวโพดหวาน (นอร์เวย์) เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการ GSP สหรัฐฯ ได้สิ้นสุดอายุไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และขณะนี้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการดำเนินขั้นตอนการต่ออายุโครงการฯ ส่งผลให้ผู้นำเข้าสินค้าที่เคยได้รับสิทธิ GSP สหรัฐฯ จะต้องชำระภาษีในอัตราปกติ (MFN rate) ไปจนกว่าโครงการฯ จะได้รับการต่ออายุ แต่เพื่อเป็นการรักษาสิทธิฯ ผู้นำเข้าสามารถยื่นขอใช้สิทธิ GSP ในการนำเข้าสินค้าได้ตามปกติ โดยที่ผ่านมาสหรัฐฯ จะทำการคืนภาษีเมื่อโครงการฯ ได้รับการต่ออายุแล้ว หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทรสายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี “@gsp_helper” .-สำนักข่าวไทย

พาณิชย์ผนึกกำลังพันธมิตรเน้นสหรัฐฯ ต่อโครงการ GSP

นนทบุรี 14 ม.ค.-กรมการค้าต่างประเทศแจงความคืบหน้าการต่ออายุโครงการ GSP ของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อต่ออายุโครงการ GSP ให้กับประเทศที่ได้รับสิทธิฯ ทุกประเทศทั่วโลก ย้ำไทยกับ 26 ประเทศพันธมิตร เรียกร้องรัฐสภาสหรัฐฯ พิจารณาร่างกฎหมายนี้ด้วย นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยความคืบหน้าการต่ออายุโครงการ GSP ที่สหรัฐอเมริกาให้แก่ประเทศต่างๆ รวมถึงไทย ซึ่งหมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ว่าขณะนี้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการดำเนินขั้นตอนเพื่อผ่านร่างกฎหมายการต่ออายุโครงการ GSP ซึ่งในส่วนของการดำเนินการของประเทศไทยนั้น ไทยได้ร่วมกับกลุ่ม Alliance for GSP Countries (A-GSPC) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ที่ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 27 ประเทศ อาทิ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อาร์เจนตินา บราซิล คาซัคสถาน ศรีลังกา ยูเครน เป็นต้น ในการยื่นหนังสือขอให้รัฐสภาสหรัฐฯ เร่งพิจารณาร่างกฎหมายการต่ออายุโครงการ GSP […]

โควิดฉุดยอดใช้สิทธิฯ FTA-GSP ปี 63 ลดลงร้อยละ 10.46

พาณิชย์ระบุยอดใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ปี 63 มูลค่าถึง 62,338.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ไทยถูกตัด GSP สหรัฐ เอกชนยันไม่กังวล

รัฐมนตรีพาณิชย์ ระบุเอกชนไทยมั่นใจ ไม่กังวลแม้ไทยถูกตัด GSP เตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว ย้ำไม่พิจารณานำเข้าหมูเพียงหน่วยงานเดียวแน่

ทรัมป์ตัดจีเอสพีสินค้าไทยกว่า 25,000 ล้านบาท

วอชิงตัน 31 ต.ค.- ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐประกาศระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี (GSP) สำหรับสินค้านำเข้าจากไทยมูลค่าราว 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 25,415 ล้านบาท) ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคมนี้ เนื่องจากไทยไม่มีความคืบหน้าเรื่องเปิดตลาดเนื้อหมูให้สหรัฐ เว็บไซต์วิทยุเสียงอเมริกาหรือวีโอเอ (VOA) รายงานว่า ทำเนียบขาวเผยแพร่จดหมายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ส่งถึงนางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ได้ข้อสรุปว่าไทยไม่ได้ให้การรับรองกับสหรัฐว่าจะให้สหรัฐเข้าถึงตลาดอย่างเท่าเทียมและสมเหตุสมผล วีโอเอระบุว่า การตัดสินใจนี้มีขึ้นหลังจากสหรัฐเจรจากับไทยนานกว่าสองปีในหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่องให้สินค้าสหรัฐเข้าตลาดไทยไปจนถึงเรื่องสิทธิแรงงานในไทย ก่อนหน้านี้สหรัฐได้ระงับจีเอสพีสินค้านำเข้าจากไทยมูลค่าราว 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 40,423 ล้านบาท) ไปแล้วในปีนี้ หลังจากที่เคยให้จีเอสพีแก่ไทยรวมมูลค่าประมาณ 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 136,817 ล้านบาท) สหรัฐให้จีเอสพีแก่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษหลังปี 1970 โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสิทธิแรงงานและการเข้าถึงตลาด ด้านสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐแถลงว่า รายชื่อสินค้าไทยที่จะถูกระงับจีเอสพีครอบคลุมทั้งอะไหล่ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอบแห้ง เครื่องมือ และเครื่องครัวอะลูมิเนียม.-สำนักข่าวไทย (ดูรายชื่อสินค้า) https://ustr.gov/sites/default/files/files/Press/Releases/Thailand%20GSP%20Country%20Practice%20Review%20%20Product%20Removal%20List.pdf

1 2 3 4
...