กรมประมงใช้งบไทยนิยมยั่งยืนช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้ง

กรุงเทพฯ 2 ก.ค. – กรมประมงใช้งบไทยนิยมยั่งยืนช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์แจกจ่ายเกษตรกรป้องกันโรคระบาดในกุ้ง


นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลมักประสบปัญหาโรคระบาดในกุ้งเป็นผลจากสภาพน้ำมีสารอินทรีย์สะสม ทำให้กุ้งติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาครจึงร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือ “จุลินทรีย์ ปม.1” เมื่อปี  2551 โดยคัดเลือกจุลินทรีย์ในกลุ่มบาซิลลัส 3 ชนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารอินทรีย์เหมาะสำหรับใช้บำบัดสารอินทรีย์ที่ตกค้างสะสมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยระยะเริ่มต้นกรมประมงผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 จำนวน 100,000 ซอง เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วประเทศไทย จากนั้นพัฒนาทั้งสูตรผงและสูตรน้ำมอบแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง แต่จากปริมาณการเลี้ยงกุ้งทะเลเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรจำนวนมากประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและโรคระบาด เกษตรกรต้องการหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 1 เพิ่มขึ้นเกินกว่ากำลังการผลิตของกรมประมง 

สำหรับปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดสรรงบประมาณในโครงการไทยนิยมยั่งยืนมาให้กรมประมงจัดทำโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ภายใต้โครงการ ไทยนิยม โดยจัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 หนุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกุ้งทะเลให้แก่กลุ่มเกษตรกร ชมรม สมาคม และสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการดำเนินการ รวม 20 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 19 จังหวัดได้แก่ ตรัง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ปัตตานี สตูล พัทลุง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ใช้งบประมาณกว่า 9,800,000 บาท โดยหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 มีกลไกช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำสามารถลดปริมาณเชื้อก่อโรคในสิ่งแวดล้อมและระบบทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพย่อยอาหารของกุ้ง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคและลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายสินค้าเกษตรปลอดภัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 


โครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นมา โดยมุ่งหวังจะผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 สูตรน้ำแจกจ่ายให้กับเกษตรกรนำไปใช้ในการเลี้ยงกุ้งทะเลและสัตว์น้ำอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและพอเพียงโดยคาดการณ์ว่าสามารถให้บริการแจกจ่ายแก่เกษตรได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ