เชื่อ ก้าวข้ามกับดักประเทศได้ด้วยจิตวิญญาณประชาธิปไตย

ธรรมศาสตร์ 14 มิ.ย.-  “อภิสิทธิ์” ชี้ กับดักประเทศ คือ คำสั่ง คสช.ที่จำกัดสิทธิพรรคการเมือง และรัฐธรรมนูญ ปี 60  อนาคตต้องมีการแก้ไข เชื่อ ก้าวข้ามกับดักประเทศได้ด้วยจิตวิญญาณประชาธิปไตย


คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนาหัวข้อ “อนาคตประชาธิปไตยไทย ข้ามพ้นกำดักความหวัง” เนื่องในโอกาสครบรอบ 69 ปี การสถาปนาคณะรัฐศาสตร์  โดยเชิญนักการเมืองที่มีชื่อเสียงมาร่วมเสวนา อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป

 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กับดักของประชาธิปไตย คือ คำสั่งของ คสช.  เรื่องการห้ามทำกิจกรรมของพรรคการเมือง และห้ามประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพตามปกติ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถเดินตามโรดแมปที่กำหนดไว้ได้ แม้จะผ่านกับดักในจุดนี้ได้ แต่ในกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย ยังมีเครื่องหมายคำถามว่า จะจัดได้ตามมาตรฐาน มีอิสระในการทำหน้าที่หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีการใช้อำนาจ ม.44 ปลดคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)


“นอกจากนี้ การที่ผู้มีอำนาจ ที่จากเดิมทำตัวเป็นกรรมการ ขณะนี้ กำลังแสดงอาการเหมือนเป็นผู้เล่นด้วย จะทำให้การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจะสุจริต เสรี และเป็นธรรมหรือไม่  รวมถึง การมี ส.ว.สรรหา อีก 250 คน ที่จะลงคะเเนนเลือกรัฐบาล  ซึ่งถือเป็นอีกกลุ่มคนที่มีบทบาท และอาจใช้อำนาจที่สวนทางกับความต้องการของประชาชน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า   กับดักสุดท้ายคือรัฐธรรมนูญ ปี 60 ที่ยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย มีอุปสรรคที่ประชาชนไม่สามารถใช้อำนาจตามสิทธิเสรีภาพ ดังนั้น นักการเมืองจะต้องกอบกู้ศรัทธาจากประชาชน แต่เชื่อว่าข้ามพ้นได้และมีความหวัง

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า รัฐธรรมนูญปี 2560  แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนปฎิรูปประเทศ จะเป็นอุปสรรคของรัฐบาล ที่เข้ามาทำหน้าที่ในอนาคต แต่หากคนที่อาสาเข้ามามีแผนที่ดีกว่าแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ขอให้มีความกล้าที่จะนำออกมา  เพราะเชื่อว่าในอนาคตจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2560  หากประชาชนให้การสนับสนุนก็สามารถทำได้ แต่ไม่ควรทำในทันที  เพราะจะถูกมองจากกลุ่มที่ลงคะเเนนเสียงตอนทำประชามติรัฐธรรมนูญ ว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้ตนเอง จึงต้องทำให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญ ปี 60 มีอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างไร 


“ผมเชื่อว่า ทุกกับดักสามารถก้าวข้ามได้ แต่ต้องข้ามด้วยหลัก และจิตวิญญาณของกระบวนการประชาธิปไตย  คสช.ควรอนุญาตให้มีการประชุมพรรคการเมือง เพราะผมยังไม่เคยเห็นพรรคการเมืองไหน ที่ประชุมแล้วสร้างปัญหาความมั่นคง ควรเปิดให้พรรคไปหาสมาชิก เพื่อทำไพรมารีโหวตกันอย่างจริงจัง แต่หากเวลาบีบขนาดนี้ การทำไพรมารีโหวตจะเป็นเพียงวิธีกรรม คนชนะจะได้เพียง 60 คะแนน ไม่มีความหมาย”  นายอภิสิทธิ์ กล่าว        .- สำนักข่าวไทย      

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง