กรุงเทพฯ 16 ธ.ค.- น.ส.กัณญภัค
ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สภาผู้ส่งออก คาด แม้สหรัฐฯ
ประกาศปรับสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ออกจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองพิเศษ
(Priority Watch List:
PWL) เป็นบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง
(Watch List: WL) ไม่ได้เพิ่มการส่งออก หวั่นเงินบาทแข็งกระทบผู้ส่งออกขาดทุน
น.ส.กัณญภัค กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ไทยมาอยู่บัญชี WL ซึ่งเกิดจากที่ผ่านมารัฐบาลไทยดำเนินการปราบปรามสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
มีการลงนามข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการในการจดลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางปัญญาต่ำลง
และคาดว่ายังเกิดจากการพบปะกันระหว่างผู้นำของสองประเทศทั้ง พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ไทยเองก็ได้ประกาศกรอบการเลือกตั้งในปี
2561 ด้วย อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องอีกเรื่องคือ เรื่องแรงงานต่างด้าว
ที่จะบริหารจัดการอย่างไร ไม่กระทบสิทธิมนุษยชนและไม่กระทบต่อผู้ประกอบการไทยมากเกินไป
ทั้งนี้ในเรื่อง
แม้ทางกระทรวงพาณิชย์จะระบุว่าเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาแม้เป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่สหรัฐฯ
พิจารณาในการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP แต่ก็คงไม่ได้มีประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย
เพราะ GSP เป็นข้อกำหนดที่สหรัฐต้องการช่วยเหลือประเทศผู้มีรายได้น้อย
แต่ประเทศไทย กำลังสร้างรายได้ ให้เติบโตด้วย”
ไทยแลนด์ 4.0 “ มีรายได้ต่อหัวของประชากร มากกว่า 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ /ปี พ้นจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นเศรษฐกิจระดับกลาง
ส่วนที่เงินบาทไทย
แข็งค่า สุดในรอบเกือบ 2 ปี 8 เดือน ที่ 32.44 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น ประธานสภาผู้ส่งออกยังมอง ว่า ในปีนหน้า
มีโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าแตะ 33 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นตัวเลขที่
สภาฯใช้ประเมินสำหรับการส่งออกปีหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5
จากที่ปีนี้คาดขยายตัวร้อยละ 8.5-9 แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับประธานธนาคารกลางสหรัฐ
หรือ เฟด คนใหม่ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่เฟดประกาศแนวทางไว้หรือไม่
รวมทั้งการปรับโครงสร้างภาษีของสหรัฐ หากทำได้ ก็คาดว่าจะทำให้เงินทุนไหลกลับไป
และดอลลาร์จะแข็งค่า
“ปีนี้
ไทยเกินดุล เงินคงคลังเพิ่มขึ้นทุกเดือน ตลาดหุ้น ตลาดเงิน ก็ขยายตัว
จึงมีความต้องการเงินบาทจึงมีสูง แต่หากปีหน้าสหรัฐขึ้นดอกเบี้ย และ โดนัลด์
ทรัมป์ กระตุ้นเศรษฐกิจสำเร็จ เงินทุนไหลไปสหรัฐ
ก็คาดว่าจะส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้” น.ส.กัณญภัค กล่าว
อย่างไรก็ตามจากที่ 2 เดือนที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าถึงร้อยละ 8 แม้การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์จะยังขยายตัวแต่หากเมื่อมาลงบัญชีในไทยแล้ว เงินบาทจะน้อยลง ก็น่าเป็นห่วงว่าหากแข็งค่ามากมากแล้ว ผู้ส่งออกอาจมีผลประกอบการขาดทุน นอกจากจะกระทบต่อเอกชนเองแล้ว ก็จะกระทบต่อรายได้ของรัฐจากการจัดเก็บภาษีให้น้อยลงด้วย นอกจากนี้ ยุคนี้เป็น ยุคดิจิตัล หรือ ยุค 4.0 การแข่งขันทุกคนไปสู่นวัตกรรม อิเล็คทรอนิกส์
ชั้น สูง ซึ่งนอกเหนือจากผู้ประกอบการจะต้องลดต้นทุนให้สูงที่สุดแล้ว
ภาครัฐก็น่าจะจัดตั้งสถาบันด้านเทคโนโลยีหรืออิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงเพื่อให้คำแนะนำ
ฝึกอบรม ต่อภาคเอกชน เพื่อให้เป็นหนึ่งในแนวทางเพิ่มขีดความสามาถด้านการแข่งขัน–สำนักข่าวไทย