อนามัยโลกเตือนฝีดาษลิง “เสี่ยงปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก

เจนีวา 30 พ.ค. – องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคฝีดาษลิงมีความเสี่ยงต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลกอยู่ในระดับปานกลาง หลังมีรายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศที่พบการระบาดได้ยาก องค์การอนามัยโลกเผยเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า ระบบสาธารณสุขทั่วโลกอาจตกอยู่ในความเสี่ยงระดับสูง หากโรคฝีดาษลิงพัฒนาไปเป็นโรคที่แพร่จากคนสู่คน และแพร่กระจายไปยังกลุ่มเสี่ยงสูงต่ออาการป่วยรุนแรง เช่น เด็กเล็กและผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ขณะนี้ ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงทั้งหมด 257 คน และผู้สงสัยติดโรค 120 คน จาก 23 ประเทศนอกทวีปแอฟริกานับถึงวันที่ 26 พฤษภาคม และยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ทั้งนี้ พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงส่วนใหญ่ในอังกฤษ สเปน และโปรตุเกส องค์การอนามัยโลกยังระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงโดยไม่คาดคิดพร้อมกันในหลายประเทศที่ไม่ใช่พื้นที่แพร่ระบาดสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้มีการแพร่ระบาดอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถตรวจพบการระบาดได้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งยังคาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ประเทศที่พบการระบาดของโรคนี้จนเป็นโรคประจำถิ่นและประเทศที่ไม่ใช่พื้นที่แพร่ระบาดได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงแล้ว.-สำนักข่าวไทย

พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายใหม่ในอีก 3 ประเทศ

อาบูดาบี 25 พ.ค. – สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ประกาศพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกของประเทศและเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่พบผู้ป่วยโรคนี้ ขณะที่สาธารณรัฐเช็กและสโลวีเนียก็พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกเช่นกัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้โรคฝีดาษลิงได้แพร่ระบาดไปยัง 18 ประเทศนอกทวีปแอฟริกา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของยูเออีประกาศเมื่อวันอังคารว่า พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกเป็นผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากแอฟริกาตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้และกำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งยังระบุว่า เจ้าหน้าที่ของยูเออีได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง และได้นำระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและตรวจโรคมาใช้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศนอกทวีปแอฟริกา ซึ่งพบการระบาดน้อย สามารถควบคุมการแพร่กระจายของโรคฝีดาษลิงได้ด้วยการรับมือตามแนวทางที่เหมาะสม เช่น การเพิ่มการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงเพื่อประเมินระดับการแพร่ระบาดและการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นทางการระบาดของโรค ขณะนี้ ประเทศนอกทวีปแอฟริกาพบผู้ป่วยยืนยันและผู้สงสัยติดโรคฝีดาษลิงรวม 237 คน ซึ่งส่วนใหญ่พบการระบาดในทวีปยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐ.-สำนักข่าวไทย

ผอ. WHO เล่าชีวิตวัยเด็กขณะเตรียมเป็นต่ออีกสมัย

เจนีวา 24 พ.ค.- ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวถึงตัวเองขณะเสนอตัวดำรงตำแหน่งต่ออีกสมัยโดยไร้คู่แข่งว่า เป็นคนรักสันติ เพราะถูกหล่อหลอมจากชีวิตวัยเด็กที่เติบโตท่ามกลางสงคราม ดร. ทีโดรส วัย 57 ปี เป็นชาวแอฟริกันคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ WHO คนที่ 8 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 และเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวที่เสนอตัวชิงตำแหน่งวาระ 5 ปีเป็นสมัยที่ 2 โดยจะมีการลงคะแนนลับเลือกผู้อำนวยการคนใหม่ในวันนี้ ซึ่งต้องได้คะแนนอย่างน้อย 2 ใน 3 เขากล่าวสุนทรพจน์ในวันแรกของการประชุมใหญ่ WHO ที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า สงครามคือสิ่งที่สั่นคลอนและทำลายพื้นฐานที่สังคมเคยตั้งอยู่อย่างมั่นคง ยิ่งกว่าโรคระบาด เพราะได้ทิ้งบาดแผลทางใจที่ต้องใช้เวลาหลายปีหรือหลายสิบปีในการเยียวยา อดีตรัฐมนตรีสาธารณสุขและรัฐมนตรีต่างประเทศเอธิโอเปียกล่าวอย่างเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจนว่า ตนคือผู้มีประสบการณ์โดยตรง เพราะเป็นเด็กที่เติบโตมาท่ามกลางสงคราม เสียงยิงปืนและปืนใหญ่ที่ดังกึกก้อง กลิ่นเขม่าควันปืนที่คละคลุ้ง และวิถีกระสุนที่สว่างวาบยามค่ำคืน ยังคงตามหลอกหลอนเขาอยู่ เพราะเมื่อเอธิโอเปียเกิดสงครามอีกในปี 2541 เขามีความหวาดกลัวเช่นเดียวกับที่พ่อแม่เคยเป็น ลูก ๆ ของเขาต้องหลบระเบิดในหลุมหลบภัย และขณะนี้เขาต้องเผชิญกับความรู้สึกเจ็บปวดและสูญเสียอีกครั้ง เพราะบ้านเกิดในภูมิภาคทีเกรย์เกิดการสู้รบมาตั้งแต่ปลายปี […]

อังกฤษพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายใหม่ 36 คน

ลอนดอน 24 พ.ค. – อังกฤษพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายใหม่ 36 คน รวมถึงผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกในสกอตแลนด์ ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 56 คน นับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของอังกฤษ (UKSA) เผยเมื่อวันจันทร์ว่า อังกฤษพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายใหม่ 36 คน ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 56 คน และเน้นย้ำว่าชาวอังกฤษมีความเสี่ยงต่ำต่อการติดโรคดังกล่าว แม้การระบาดจะเข้าขั้นน่าวิตกกังวลก็ตาม ทั้งนี้ สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพอังกฤษได้แนะนำให้กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยควรกักตัวเป็นเวลา 21 วัน ขณะที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษ ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังเฝ้าระวังสถานการณ์ระบาดของโรคฝีดาษลิงอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี โรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากมากและการระบาดก็ยังไม่เข้าขั้นรุนแรง ก่อนหน้านี้ พญ. มาเรีย แวน เคอโคฟ หัวหน้าฝ่ายโรคอุบัติใหม่และโรคจากสัตว์สู่คนขององค์การอนามัยโลก เผยในวันเดียวกันว่า ขณะนี้ ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงและกลุ่มผู้สงสัยติดโรคกว่า 100 คนในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ พร้อมทั้งยืนยันว่า การระบาดในครั้งนี้ยังไม่เข้าขั้นรุนแรง.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกเตือนรับมือโควิด-สงครามยูเครน-ฝีดาษลิง

องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยากลำบาก เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 สงครามยูเครน และโรคฝีดาษลิง

WHO แจงไข้ทรพิษลิงระบาดใน 12 ประเทศ

WHO แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อไข้ทรพิษหรือฝีดาษลิงกว่า 80 คน อย่างน้อยใน 12 ประเทศ โดยไข้ทรพิษลิง เป็นไวรัสใกล้เคียงไข้ทรพิษในคน อาการทั่วไปไม่รุนแรง และไม่ได้แพร่ระบาดจากคนสู่คนได้โดยง่าย

อนามัยโลกห่วงโควิดระบาดหนักในเกาหลีเหนือ

เจนีวา 18 พ.ค. – องค์การอนามัยโลกแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ในเกาหลีเหนือที่อาจทำให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดตกอยู่ในความเสี่ยง และพร้อมให้ความช่วยเหลือเกาหลีเหนือ รวมถึงวัคซีนโควิด ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เผยเมื่อวันอังคารตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า องค์การอนามัยโลกรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิดในเกาหลีเหนือเป็นพิเศษ เพราะชาวเกาหลีเหนือยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงต่ออาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตหลังติดเชื้อโควิด องค์การอนามัยโลกขอให้เกาหลีเหนือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดในครั้งนี้โดยเร็วที่สุด ทั้งยังระบุว่า องค์การอนามัยโลกพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่เกาหลีเหนือในด้านต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนด้านเทคนิคและเวชภัณฑ์ ชุดตรวจหาเชื้อโควิด ยารักษาโรค และวัคซีนโควิด เพื่อควบคุมการระบาดในครั้งนี้ ในขณะเดียวกัน นพ. ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ที่ไม่เคยพบการระบาดมาก่อน องค์การอนามัยโลกจึงรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากมีหลายประเทศยังไม่ยอมรับการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ด้าน พญ. มาเรีย แวน เคอร์โคฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า แนวคิดที่ว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ผู้ป่วยโควิดมีอาการป่วยเล็กน้อยเป็นความเชื่อที่ผิดและเป็นอันตราย เพราะจะทำให้ประชาชนการ์ดตก ทั้งยังระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังคงทำให้ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมีอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว จนถึงขณะนี้เกาหลีเหนือยังคงไม่แสดงท่าทีตอบรับความช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก สำนักข่าวกลางเกาหลี หรือเคซีเอ็นเอ ของทางการเกาหลีเหนือ รายงานว่า เกาหลีเหนือพบผู้ป่วยมีไข้เกือบ 1.5 […]

สหรัฐมียอดผู้เสียชีวิตจากโควิดทะลุ 1 ล้านคนแล้ว

นิวยอร์ก 12 พ.ค. – สหรัฐมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ทะลุ 1 ล้านคนแล้ว นับตั้งแต่พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายแรกเมื่อสองปีก่อน ข้อมูลที่สำนักข่าวรอยเตอร์สบันทึกไว้พบว่า สหรัฐมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดทะลุ 1 ล้านคนแล้ว นับตั้งแต่องค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคโควิดเป็นโรคระบาดทั่วโลกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐมีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดเพียง 36 คน แต่ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น การระบาดของโรคโควิดในสหรัฐก็ลุกลามอย่างรวดเร็วราวกับไฟป่า เนื่องจากพบการระบาดรุนแรงในหลายเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่น นครนิวยอร์ก ก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ก่อนหน้านี้ สหรัฐมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดแซงหน้าตัวเลขทหารสหรัฐที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมิถุนายน 2563 และสูงกว่าตัวเลขทหารสหรัฐที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อมียอดผู้เสียชีวิตจากโควิดกว่า 405,000 คนในเดือนมกราคม 2564 ขณะนี้ ทั่วโลกมียอดผู้เสียชีวิตจากโควิดกว่า 6.7 ล้านคน แต่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ตัวเลขที่แท้จริงของผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดทั้งทางตรงและทางอ้อมอาจมีสูงถึง 15 ล้านคนทั่วโลก.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกชี้ยุทธศาสตร์โควิดเป็นศูนย์ของจีนไม่ยั่งยืน

เจนีวา 11 พ.ค. – ดร. ทีโดส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ยุทธศาสตร์ทำให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์ของจีนไม่ยั่งยืน เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการระบาดของเชื้อโควิดในอนาคต ดร. ทีโดรส กล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันอังคารตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า องค์การอนามัยโลกมองว่ายุทธศาสตร์ทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ไม่ยั่งยืน เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการระบาดของเชื้อโควิดในอนาคต องค์การอนามัยโลกได้หารือเรื่องนี้กับผู้เชี่ยวชาญของจีนและชี้ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ที่จีนใช้อยู่นั้นไม่ยั่งยืน เขาคิดว่าการเปลี่ยนแนวทางควบคุมโรคโควิดในจีนเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิดและเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มขึ้นในการรับมือกับการระบาด ในขณะเดียวกัน นพ. ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก เผยในงานเดียวกันว่า องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำมาโดยตลอดว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการควบคุมโรคโควิดอย่างสมดุลเพื่อลดผลกระทบต่อสังคม เช่น ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ยุทธศาสตร์ทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ในจีนกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนักวิทยาศาสตร์และประชาชน เนื่องจากทางการจีนได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดในหลายเมืองจนทำให้ประชาชนหลายล้านคนไม่พอใจอย่างมาก ในขณะที่หลายประเทศที่เคยใช้ยุทธศาสตร์เดียวกับจีนต่างหันไปใช้แนวทางใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อโควิดกันหมดแล้ว ขณะนี้ จีนมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 220,700 คน และผู้เสียชีวิตเกือบ 5,200 คน. -สำนักข่าวไทย

ผอ.องค์การอนามัยโลก เยือนยูเครน

ผอ.องค์การอนามัยโลก และคณะ เดินทางเยือนกรุงเคียฟของยูเครน หารือความต้องการด้านการรักษาสุขภาพในยูเครน และช่องทางที่ WHO จะสามารถช่วยเหลือได้

อนามัยโลกแนะใช้ยา ‘แพกซ์โลวิด’ รักษาผู้ป่วยโควิด

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาเม็ดต้านเชื้อโควิดของไฟเซอร์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘แพกซ์โลวิด’ (Paxlovid) ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอาการไม่รุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล

อนามัยโลกแนะยูเครนทำลายเชื้อโรคในห้องแล็บกันแพร่กระจาย

เจนีวา 11 มี.ค.-องค์การอนามัยโลก แนะนำให้ยูเครนทำลายเชื้อโรคอันตรายสูงในห้องปฏิบัติการทดลองทั่วประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เชื้อโรคหล่านี้จะแพร่กระจายออกมาจากห้องทดลองและทำให้เกิดโรคระบาดในประชาชน ท่ามกลางสถานการณ์ที่รัสเซียบุกโจมตียูเครนอย่างรุนแรงจนทำให้อาคารหลายแห่งเสียหายหนัก องค์การอนามัยโลกระบุว่า อนามัยโลกขอแนะนำให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ของยูเครนทำลายเชื้อโรคอันตรายสูงที่เก็บอยู่ในห้องปฏิบัติการทดลองทั่วประเทศสำหรับทำการวิจัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคเหล่านี้  แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่ประกาศแนะนำแนวทางดังกล่าว และไม่ได้ระบุถึงประเภทของเชื้อโรคหรือสารอันตรายที่อยู่ในห้องทดลองของยูเครน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางชีวภาพหลายรายรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการบุกโจมตีหลายเมืองในยูเครนของรัสเซียที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายออกมาจากห้องปฏิบัติการทดลองในอาคารที่ได้รับความเสียหายหนัก ทั้งนี้ ยูเครนมีห้องปฏิบัติการทดลองด้านสาธารณสุขเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการลดภัยคุกคามจากโรคร้ายที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์และมนุษย์ ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 โดยที่ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ สหภาพยุโรป หรืออียู และองค์การอนามัยโลก ประเด็นเรื่องห้องปฏิบัติการชีวภาพในยูเครนกลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากนับตั้งแต่รัสเซียนำกำลังทหารบุกโจมตียูเครนเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ขณะที่โฆษกกระทรวงต่างประเทศของรัสเซียเน้นย้ำเมื่อวันพุธโดยอ้างว่า สหรัฐได้มาสร้างห้องปฏิบัติการอาวุธชีวภาพไว้ในยูเครน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่รัฐบาลสหรัฐและยูเครนปฏิเสธมาโดยตลอด.-สำนักข่าวไทย

1 3 4 5 6 7 28
...