กสม.เผยแพร่รายงานผลประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทย ปี 63

กสม.เผยแพร่รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563 โดยประเมินสถานการณ์การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองในไทย

โฆษก ก.ต่างประเทศ ยืนยันไทยไม่มีนโยบายผลักดันผู้ลี้ภัยเมียนมา

กระทรวงการต่างประเทศยืนยันไทยไม่มีนโยบายผลักดันผู้อพยพเมียนมา พร้อมดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน เตรียมพร้อมอพยพคนไทยกลับประเทศหากสถานการณ์รุนแรงขึ้น

กสม.มอบรางวัล 7 องค์กร-บุคคลมีผลงานดีเด่นด้านสิทธิฯ ปี 63

กสม.มอบรางวัล 7 องค์กร-บุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านสิทธิฯ ประจำปี 63 “ประกายรัตน์” วอนสังคมให้ความสำคัญหวงแหนสิทธิตัวเองและเคารพสิทธิผู้อื่น จี้เร่งแก้กฎหมายสิทธิฯ เพื่อไทยได้คืนสถานะ A

กลุ่มธุรกิจวิจารณ์ร่าง ก.ม.ไซเบอร์เมียนมา

ย่างกุ้ง 13 ก.พ.- กลุ่มธุรกิจ 50 รายในเมียนมาวิจารณ์ร่างกฎหมายไซเบอร์ฉบับใหม่ที่รัฐบาลทหารเมียนมาเสนอว่า เป็นการแทรกแซงสิทธิมนุษยชน ละเมิดความเป็นส่วนตัวทางข้อมูล และจำกัดการสร้างสรรค์นวัตกรรม กลุ่มธุรกิจซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทเทคโนโลยีออกแถลงการณ์ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวมีมาตราปลายเปิดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จำกัดสิทธิการสร้างนวัตกรรมในภาคธุรกิจ ภาคเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาคอื่น ๆ รอยเตอร์รายงานอ้างสำเนาร่างกฎหมายว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสาธารณชน ป้องกันการก่ออาชญากรรมและการทำอันตรายต่อรัฐ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องสกัดหรือลบเนื้อหาที่เห็นว่าสร้างความเกลียดชัง ทำลายความสามัคคี และความสงบสุข เนื้อหาที่เป็นข่าวเท็จหรือข่าวลือหรือไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมเมียนมา ก่อนหน้านี้องค์กรภาคประชาสังคมกว่า 160 แห่งและพันธมิตรอินเทอร์เน็ตเอเชียที่มีแอปเปิล เฟซบุ๊ก กูเกิล และแอมะซอนเป็นสมาชิก ได้วิจารณ์ร่างกฎหมายนี้ ตามที่ทางการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทโทรคมนาคมในสัปดาห์นี้ หลังจากกองทัพทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ รัฐบาลยังได้ห้ามการเข้าถึงเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่กลายเป็นช่องทางวิพากษ์วิจารณ์ แต่ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสประท้วงต่อต้านได้.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นว่ามีผู้ถูกจับ 350 คนในเมียนมาตั้งแต่รัฐประหาร

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าววันนี้ว่า มีผู้ที่ถูกจับกุมในเมียนมามากกว่า 350 คน นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งเจ้าหน้าที่ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และพระสงฆ์ บางคนโดนข้อหาในคดีอาญา ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่น่าสงสัยเคลือบแคลงใจ

กสม.ห่วงโควิดระบาดระลอกใหม่ กระทบสิทธิมนุษยชน

กสม.ห่วงโควิดระบาดระลอกใหม่ กระทบด้านสิทธิมนุษยชน เร่งรัฐประกันสิทธิในสุขภาพและการดำรงชีพ วอนสังคมไม่ตีตรา-เลือกปฏิบัติผู้ได้รับผลกระทบทั้งไทย-ต่างด้าว

กมธ.กฎหมายฯ เตรียมเยี่ยมแกนนำม็อบที่ถูกจับ

กมธ.กฎหมายฯ ทำหนังสือถึงรัฐบาล ห่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้ชุมนุม ขอให้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เตรียมนำทีมเยี่ยมแกนนำที่ถูกจับ 29 ต.ค.

กสม.ประสานก.ยุติธรรม คุ้มครองสิทธิมนุษยชนนักปกป้องสิทธิฯ

กสม. ประสานกระทรวงยุติธรรม เร่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนักปกป้องสิทธิฯ และประชาชนที่ชุมนุมคัดค้านการต่อใบอนุญาตเหมืองหินดงมะไฟ พร้อมขอเพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยผู้ชุมนุม “ผู้หญิง-ผู้สูงอายุ”

กสม.วอนทุกฝ่ายยึดหลักสิทธิมนุษยชน-สันติวิธี

กสม. 20 ส.ค.-กสม.ห่วงชุมนุม วอนทุกฝ่ายยึดหลักสิทธิมนุษยชน-สันติวิธีแก้ไขปัญหา เด็กมีสิทธิเสรีภาพแสดงออก ข้อเรียกร้องต้องชัดเจน ไม่ก้าวร้าว จาบจ้วง สร้างความเกลียดชัง ผูกขาดความถูกต้องฝ่ายเดียว จี้รัฐเปิดกว้าง-ไม่แทรกแซงสิทธิความเป็นส่วนตัว พร้อมจัดพื้นที่ปลอดภัยให้แสดงความเห็น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ชุมนุมในขณะนี้ พร้อมเรียกร้องขอให้ทุกฝ่ายในการชุมนุมยึดหลักสิทธิมนุษยชนและใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา โดยแถลงการณ์ ระบุว่าตามที่มีการชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ทั้งในที่สาธารณะ สถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่าคณะประชาชนปลดแอก เสนอ 3 ข้อเรียกร้อง 2 หลักการ และ 1 ความฝัน กลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่าสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย เสนอ 10 ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถาบัน และกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ ที่แสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว และผูกโบว์สีขาว เพื่อเรียกร้องทางการเมืองและปฏิรูปการศึกษา จนเกิดเป็นความเห็นที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวางในสังคม กสม.ได้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ และส่งเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์ตลอดมา โดยมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่มีความละเอียดอ่อน อาจสร้างความขัดแย้งยิ่งขึ้น […]

1 3 4 5 6 7 12
...