เจ้ากาตาร์ตำหนินานาชาติตรวจสอบเรื่องสิทธิมนุษยชน

โดฮา 25 ต.ค.- เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ตำหนินานาชาติที่ตรวจสอบเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในกาตาร์ว่า กาตาร์ถูกรุมวิพากษ์วิจารณ์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่กำลังจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน ถึง 18 ธันวาคม เชค ทามิม บิน ฮามัด อัล-ธานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ตรัสต่อสภานิติบัญญัติกาตาร์ในวันนี้ว่า นับตั้งแต่ได้รับเลือกในปี 2553 ให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก กาตาร์ก็ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างที่ไม่เคยมีประเทศเจ้าภาพใดเคยประสบมาก่อน แรก ๆ กาตาร์มองว่าเป็นความปรารถนาดี เป็นเสียงวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์เพื่อนำมาปรับปรุงในบางแง่มุม แต่หลังจากนั้นไม่นานก็พบว่า การวิจารณ์ไปถึงจุดที่เต็มไปด้วยความป่าเถื่อน ทำให้หลายคนสงสัยถึงเหตุผลที่แท้จริงและแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลัง นายจานนี อินฟานติโน ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า (FIFA) เคยกล่าวถึงการจัดฟุตบอลโลกที่กาตาร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกในโลกอาหรับว่า จะเป็นฟุตบอลโลกที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่องค์การนิรโทษกรรมสากลและฮิวแมนไรท์วอทช์ได้ออกรายงานในปี 2559 ชื่อ “ฟุตบอลโลกกาตาร์แห่งความน่าละอาย” เปิดเผยเรื่องการปฏิบัติไม่ดีกับคนงานก่อสร้างสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง จากนั้นหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษได้ลงข่าวสืบสวนสอบสวนในปี 2564 ว่า มีคนงานต่างถิ่นไม่ต่ำกว่า 6,751 คน เสียชีวิตในกาตาร์ระหว่างปี 2553-2563 หลายเมืองในฝรั่งเศส รวมถึงกรุงปารีสประกาศแล้วว่า จะคว่ำบาตรฟุตบอลโลก 2022 […]

กลุ่มสิทธิอ้างศรีลังกาข่มขู่ผู้ประท้วง

โคลัมโบ 4 ส.ค.- กลุ่มสิทธิมนุษยชนอ้างว่า รัฐบาลศรีลังกากำลังใช้กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินคุกคามและจับกุมผู้ประท้วงตามอำเภอใจ กลุ่มฮิวแมนไรท์วอชท์ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐออกแถลงการณ์ว่า กองทัพศรีลังกาหาทางควบคุมการประท้วงด้วยการข่มขู่ สอดแนม และจับกุมตามอำเภอใจกับผู้ประท้วง นักเคลื่อนไหว ทนายความ และผู้สื่อข่าวตั้งแต่นายรานิล วิกรมสิงเห ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม และรัฐสภาศรีลังกาผ่านความเห็นชอบการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ให้อำนาจประธานาธิบดีออกระเบียบเพื่อความมั่นคงและความเป็นระเบียบของประชาชน กลุ่มนี้ระบุว่า ดูเหมือนรัฐบาลศรีลังกาปราบปรามผู้เห็นต่าง หวังเบี่ยงเบนความสนใจเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นขอให้หุ้นส่วนสากลของศรีลังกาแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า ต้องทำงานกับรัฐบาลที่เคารพสิทธิมนุษยชน ประธานาธิบดีวิกรมสิงเหสั่งจับกุมผู้ประท้วงโดยให้เหตุผลว่า แม้การประท้วงเริ่มต้นอย่างสันติ แต่กลุ่มที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองได้เข้ามามีบทบาทและใช้ความรุนแรง พร้อมกับอ้างเรื่องที่มีการเผาบ้านพักนักการเมืองพรรครัฐบาลหลายสิบหลังในการประท้วงเมื่อเดือนพฤษภาคม เขาแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวานนี้ว่า จะผ่อนผันโทษให้แก่ผู้ใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ หรือถูกผู้อื่นยุยง และจะลงโทษผู้เจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย.-สำนักข่าวไทย

สงครามกลางเมืองซีเรียคร่าชีวิตคนไปกว่า 3 แสนคน

เจนีวา 28 มิ.ย.- สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เผยวันนี้ว่า สงครามกลางเมืองในซีเรียที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 คร่าชีวิตพลเรือนไปแล้ว 306,887 คน นางมิเชล บาเชเล ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า ข้อมูลการวิเคราะห์ล่าสุดนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงความร้ายแรงและระดับของความขัดแย้งในซีเรีย ตัวเลขนี้ครอบคลุมเฉพาะพลเรือนที่เสียชีวิตจากการรบโดยตรง ไม่รวมผู้เสียชีวิตเพราะความอดอยากหรือไม่ได้รับบริการสาธารณสุข และผู้เสียชีวิตที่ไม่ใช่พลเรือน สาเหตุหลักเกิดจากอาวุธหลากหลายประเภท มีทั้งการปะทะกัน การซุ่มโจมตี และการสังหารหมู่ สาเหตุรองเกิดจากอาวุธหนัก สงครามกลางเมืองในซีเรียเริ่มต้นจากการประท้วงอย่างสันติต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์ อัสซาด ที่ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 2543 แล้วบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งยืดเยื้อที่มีมหาอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การสู้รบแนวหน้าส่วนใหญ่หยุดนิ่งมาหลายปี แต่ความรุนแรงยังคงดำเนินอยู่ และเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมกับผู้พลัดถิ่นในประเทศหลายล้านคน.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นขอให้จีนทบทวนนโยบายปราบปรามก่อการร้าย

นางมิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรียกร้องให้รัฐบาลจีนทบทวนนโยบายปราบปรามการก่อการร้ายให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล

“สี จิ้นผิง” คุยกับข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนระหว่างเยือนจีน

ปักกิ่ง 25 พ.ค. – ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พูดคุยผ่านระบบวิดีโอกับนางมิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในระหว่างที่นางบาเชลต์เยือนจีนเป็นเวลา 6 วัน ซึ่งรวมถึงการลงพื้นที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ที่จีนถูกกล่าวหาว่าควบคุม ทารุณ และบังคับใช้แรงงานชาวมุสลิมอุยกูร์โดยผิดกฎหมาย ประธานาธิบดีสีกล่าวกับนางบาเชเลต์ว่า การพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของจีนมีความเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขของประเทศ เขามองว่าสิทธิมนุษยชนด้านการดำรงชีพและการพัฒนาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศชาติ การเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงและการลอกเลียนตัวแบบสถาบันจากประเทศอื่นไม่เพียงทำให้เกิดความไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แต่ยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมาอีกด้วย ท้ายที่สุด ประชาชนจำนวนมากก็จะได้รับความเดือดร้อน ในขณะเดียวกัน นางบาเชเลต์ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า การได้พบกับประธานาธิบดีสีถือเป็นโอกาสอันล้ำค่าที่ทำให้เธอเปิดใจพูดเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีนได้โดยตรง เธอยังได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาในด้านดังกล่าวว่าต้องอาศัยสันติภาพและความปลอดภัยที่ยั่งยืน โดยยึดแกนหลักในด้านสิทธิมนุษชน ความยุติธรรม และการมีส่วนร่วมโดยไม่มีข้อยกเว้น อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายรายไม่เชื่อว่า จีนจะอนุญาตให้นางบาเชเลต์เข้าไปประเมินสภาพแวดล้อมด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างเต็มที่ในเขตซินเจียงอุยกูร์ เนื่องจากกระทรวงต่างประเทศจีนระบุว่า การเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์เป็นไปตามแนวทางควบคุมแบบปิดเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ด้านนายเนด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ เผยว่า การเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวถือเป็นความผิดพลาดอย่างมาก.-สำนักข่าวไทย

ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนยูเอ็นจะเยือนเขตซินเจียงของจีน

ปักกิ่ง 23 พ.ค. – นางมิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จะเริ่มต้นภารกิจเยือนจีนในวันนี้เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นคนแรกที่เดินทางเยือนจีนในรอบเกือบ 20 ปี แหล่งข่าวไม่เผยนามด้านการทูตของจีนระบุว่า นางบาเชเลต์ ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีชิลี มีกำหนดเข้าร่วมประชุมแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์กับคณะทูตราว 70 คนในวันนี้ จากนั้น เธอจะเดินทางไปยังนครอุรุมชีและเมืองคัชการ์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ รวมถึงนครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน ขณะที่สำนักงานของนางบาเชเลต์ระบุว่า นางบาเชเลต์จะพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนหลายคน องค์กรภาคสังคม ตัวแทนธุรกิจ และนักวิชาการ ทั้งนี้ การเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์มีขึ้นในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกกล่าวหาว่า คุมขังชาวมุสลิมอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ๆ ไว้ที่ค่ายปรับทัศนคติในเขตซินเจียงมาเป็นเวลานานหลายปี จีนให้เหตุผลว่าเป็นการปราบปรามด้านความมั่นคง ขณะที่สหรัฐระบุว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นเรื่องโกหกครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกัน นายเนด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์ว่า สหรัฐไม่ได้คาดหวังว่าจีนจะอนุญาตให้นางบาเชเลต์สามารถประเมินสภาพแวดล้อมด้านสิทธิมนุษยชนในเขตซินเจียงโดยสมบูรณ์และไร้การควบคุมจากรัฐบาลจีน. -สำนักข่าวไทย

เรียกร้องมาร์กอส จูเนียร์รับประกันประชาธิปไตย-สิทธิมนุษยชน

มะนิลา 11 พ.ค.- หลายฝ่ายเรียกร้องให้นายเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์ ผู้ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์รับประกันว่าจะเคารพสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และประชาธิปไตย ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการเผยว่า นายมาร์กอส จูเนียร์ วัย 64 ปี ชนะด้วยคะแนนที่ได้มากกว่า 31 ล้านเสียงในการเลือกตั้งเมื่อวันจันทร์ ส่วนนางซารา ดูเตอร์เต-การ์ปิโอ ผู้สมัครคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของเขาก็น่าจะชนะด้วยคะแนนถล่มทลายเช่นกัน หากรัฐสภายืนยันผลคะแนนแล้ว ผู้ชนะจะสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 30 มิถุนายนเพื่อดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 6 ปี โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลงหลังทราบผลการเลือกตั้งไม่นานว่า สหรัฐตั้งตารอการฟื้นความสัมพันธ์พิเศษกับฟิลิปปินส์ และการทำงานร่วมกับรัฐบาลใหม่ในเรื่องสิทธิมนุษยชนและเรื่องสำคัญในภูมิภาค สหรัฐเป็นพันธมิตรยาวนานกับฟิลิปปินส์ที่มีค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกันเรื่องประชาธิปไตย รัฐบาลสหรัฐจะเดินหน้าส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมที่เป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ของสองประเทศ ขณะที่กลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ในสหรัฐเรียกร้องให้นายมาร์กอส จูเนียร์ เร่งปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทันทีที่รับตำแหน่ง เช่น ช่วยศาลอาญาระหว่างประเทศดำเนินคดีกับนายโรดริโก ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีคนปัจจุบันเรื่องทำสงครามปราบปรามยาเสพติดอย่างนองเลือด ช่วยให้ สว.ไลลา เดอ ลิมาที่วิจารณ์รัฐบาลได้รับอิสรภาพ สั่งการทหารตำรวจให้หยุดรังควานกลุ่มนักเคลื่อนไหว นายมาร์กอส จูเนียร์หาเสียงด้วยการชูเรื่องทำให้ประเทศมีเอกภาพ แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในช่วงที่นายเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส บิดาของเขาผูกขาดปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2508-2529 และถูกประชาชนลุกฮือขับไล่จนต้องลี้ภัยอยู่ในสหรัฐจนกระทั่งเสียชีวิต นอกจากนี้ยังไม่พูดชัดเจนในประเด็นเศรษฐกิจและการเมืองสำคัญของประเทศด้วย.-สำนักข่าวไทย

กสม. ห่วงปมคลิปล้อเลียน ย้ำหลักสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

กสม. ห่วงปมคลิปล้อเลียนบนแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์แห่งหนึ่ง ชี้สังคมขาดความตระหนักเรื่องการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ย้ำหลักสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ – ดำเนินธุรกิจอย่างเคารพสิทธิมนุษยชน

ผอ.ฮิวแมนไรท์สวอทช์จะลาออกหลังเป็นมาเกือบ 3 ทศวรรษ

นิวยอร์ก 26 เม.ย.- นายเคนเนธ รอธ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์สวอทช์ องค์กรนอกภาครัฐที่ส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนประกาศวันนี้ว่า จะลาออกจากตำแหน่งที่เป็นมาตั้งแต่ปี 2536 แต่จะไม่วางมือจากเรื่องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน นายรอธ ชาวอเมริกันวัย 66 ปี แถลงว่า รู้สึกว่าได้รับสิทธิพิเศษอย่างยิ่งที่ได้ใช้เวลาร่วม 30 ปี สร้างองค์กรที่กลายเป็นกำลังหลักในการปกป้องสิทธิของผู้คนทั่วโลก เขาจะลงจากตำแหน่งผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์สวอทช์ในเดือนสิงหาคม แต่จะไม่วางมือเรื่องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ด้านนายแอนโทนี โรเมโร ผู้อำนวยการสหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกันยกย่องนายรอธว่า เป็นผู้ทำให้ฮิวแมนไรทส์วอทช์กลายเป็นผู้นำเพื่อความยุติธรรม และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จะต่อสู้เพื่อโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม นายรอธเริ่มงานด้านสิทธิมนุษยชนในฐานะอาสาสมัคร โดยทำตอนกลางคืนและวันหยุดสุดสัปดาห์เพราะอาชีพประจำคือทนายความและอัยการรัฐบาลกลาง จากนั้นมาร่วมงานกับฮิวแมนไรท์สวอทช์ในปี 2530 ในฐานะรองผู้อำนวยการ และขึ้นเป็นผู้อำนวยการในปี 2536 ขณะนั้นทั้งองค์กรมีคนทำงานเพียง 60 คน และมีงบประมาณในการทำงานปีละ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 240 ล้านบาท) แต่ขณะนี้มีคนทำงานมากกว่า 550 คนใน 100 กว่าประเทศ และมีงบประมาณในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนร่วม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,424 ล้านบาท) ฮิวแมนไรทส์วอทช์แถลงว่า จะให้นางติรานา […]

หน่วยบัญชาการพิเศษของเมียนมาได้ไฟเขียวโจมตีพลเรือน

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวในรายงานว่า ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาจัดตั้งหน่วยบัญชาการพิเศษขึ้นมาภายในระยะเวลา 1 วัน หลังจากที่ก่อรัฐประหารโค่นล้มอำนาจรัฐบาลพลเรือนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ซึ่งมีหน้าที่รับผิดขอบในการจัดวางกำลังทหารและปฎิบัติการของทหารในพื้นที่เขตเมือง

ผู้นำเชชเนียไปช่วยกองกำลังรัสเซียรบในยูเครนแล้ว

มอสโก 14 มี.ค.- นายรัมซัน คาดีรอฟ ผู้นำสาธารณรัฐเชเชนหรือเชชเนียเผยว่า เขาได้อยู่ในยูเครนแล้ว เพื่อรบร่วมกับกองกำลังรัสเซีย นายคาดีรอฟ วัย 45 ปี โพสต์คลิปวิดีโอในแพลตฟอร์มเทเลแกรมเป็นภาพตัวเองในชุดทหารกำลังศึกษาแผนการรบกับกลุ่มทหารในห้องโดยอ้างว่า บันทึกคลิปนี้ที่โฮโตเมล ซึ่งเป็นสนามบินใกล้กรุงเคียฟที่ถูกกองกำลังรัสเซียยึดได้ในวันแรก ๆ ของการโจมตี เขากล่าวว่า วันก่อนกองกำลังนี้อยู่ห่างจากเคียฟแค่ 20 กิโลเมตร แต่วันนี้ขยับเข้าไปใกล้กว่าเดิม ขอให้กองกำลังยูเครนยอมจำนน ไม่เช่นนั้นจะถูกจัดการ รัสเซียจะแสดงให้เห็นว่า สอนเรื่องการรบได้ดีกว่าทฤษฎีต่างชาติและคำแนะนำของคณะที่ปรึกษาทางทหาร ทั้งนี้ช่วงที่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครน มีการส่งต่อภาพในสื่อสังคมออนไลน์เห็นทหารเชชเนียรวมตัวกันเต็มจัตุรัสในกรุงกรอซนี อ้างว่ากำลังจะเดินทางไปยูเครน นายคาดีรอฟเป็นบุตรของอดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐเชเชนที่หันมาภักดีต่อรัสเซีย และขึ้นเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐเชเชนในปี 2550 ต่อมาได้รับการเสนอชื่อจากรัสเซียให้เป็นประธานาธิบดีต่อเป็นสมัยที่ 2 ในปี 2554 โดยเปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้นำสาธารณรัฐเชเชน เขาถูกองค์กรนอกภาครัฐสากลกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนในเชเชนอย่างร้ายแรง.-สำนักข่าวไทย

รัฐบาลลุยขับเคลื่อนคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

รัฐบาลเดินหน้าขับเคลื่อนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพิ่มคุ้มครองสตรีในชนบทและทุกกลุ่มชาติพันธุ์เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

1 2 3 4 5 12
...