ทูตเมียนมาวอนยูเอ็นเร่งกดดันรัฐบาลทหาร
ผู้แทนถาวรเมียนมาประจำสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรียกร้องยูเอ็นดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อหยุดยั้งความโหดร้ายทางทหารของรัฐบาลทหารเมียนมา
ผู้แทนถาวรเมียนมาประจำสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรียกร้องยูเอ็นดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อหยุดยั้งความโหดร้ายทางทหารของรัฐบาลทหารเมียนมา
นักวิชาการด้านสื่อสารมองพฤติกรรม “กบหัวหน้างาน” ขาดมนุษยธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจขัดกฎหมายแรงงาน แนะผู้บริหาร เจ้านายยึดหลักใช้พระเดช-พระคุณบริหารงาน
จาการ์ตา 6 ก.ค.- องค์กรนอกภาครัฐกล่าวหาบริษัทจีนที่ลงทุนด้านธาตุที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมมากกว่า 100 ครั้งในหลายประเทศทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2564 ศูนย์ทรัพยากรธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรนอกภาครัฐสากลออกรายงานกล่าวหาว่า บริษัทจีน 39 แห่งที่เกี่ยวข้องกับการหาธาตุเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น ทองแดง นิเกิล โคบอลต์ มีการละเมิดใน 18 ประเทศ รวมทั้งหมด 102 ครั้งระหว่างเดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2565 ในจำนวนนี้ 27 ครั้งเกิดขึ้นในอินโดนีเซีย 16 ครั้งเกิดขึ้นในเปรู 12 ครั้งเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 11 ครั้งเกิดขึ้นในเมียนมา และ 7 ครั้งเกิดขึ้นในซิมบับเว ข้อมูลขององค์กรพบว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางในการสำรวจ สกัด และแปรธาตุ ชุมชนท้องถิ่นคือผู้ที่ต้องแบกรับผลของการละเมิดเหล่านี้ รายงานฉบับนี้เรียกร้องให้จีนและรัฐบาลที่ให้บริษัทเหล่านี้เข้าไปลงทุนด้านธาตุเร่งดำเนินการบรรเทาอันตรายที่เกิดขึ้นจากการแปรธาตุ เนื่องจากคาดหมายว่าโลกจะมีความต้องการใช้ธาตุเหล่านี้เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ภายในปี 2583 ตามความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น.-สำนักข่าวไทย
มินสก์ 29 พ.ค.- เจ้าหน้าที่อาวุโสของเบลารุสระบุว่า ชาติตะวันตกทำให้เบลารุสไม่มีทางเลือก นอกจากต้องติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีของรัสเซีย และควรดำเนินการอย่างระมัดระวังที่จะไม่ล้ำเส้นในประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์ สำนักข่าวเบลตา (BelTA) ของทางการเบลารุสรายงานอ้างคำกล่าวของนายพลอเล็กซานเดอร์ โวลโฟวิช เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งรัฐของเบลารุสที่ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ของรัฐเมื่อวันอาทิตย์ว่า ทุกวันนี้ทุกอย่างถูกทำลายพังหมด คำมั่นทุกอย่างหายไปตลอดกาล การติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีในดินแดนเบลารุสจึงเป็นก้าวหนึ่งในการป้องปรามเชิงยุทธศาสตร์ หากนักการเมืองชาติตะวันตกยังมีเหตุผลหลงเหลืออยู่บ้าง ก็จะไม่ล้ำเส้นในเรื่องนี้อย่างแน่นอน เพราะการใช้อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีจะนำมาซึ่งผลที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้อีก เบลารุสที่มีประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก เป็นผู้นำมาตั้งแต่ปี 2537 เป็นพันธมิตรของรัสเซียที่เหนียวแน่นที่สุดในบรรดาอดีตรัฐบริวารสหภาพโซเวียต และได้ให้รัสเซียใช้เป็นฐานในการรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 รัสเซียประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อนเรื่องจะติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีในดินแดนเบลารุสเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเฉพาะในสมรภูมิ ขณะที่ผู้นำเบลารุสเผยในสัปดาห์เดียวกันว่า อาวุธดังกล่าวกำลังลำเลียงมาแล้ว แต่ไม่ได้ระบุว่าจะติดตั้งที่ใด เบลารุสถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรมานานตั้งแต่ยังไม่มีสงครามในยูเครน โดยระบุว่าผู้นำเบลารุสกดขี่สิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีการประท้วงใหญ่ตามที่ฝ่ายค้านอ้างว่าเขาโกงการเลือกตั้งปี 2563 ทำให้ได้ดำรงตำแหน่งอีกสมัย.-สำนักข่าวไทย
รัฐบาลทหารเมียนมากล่าวโจมตีข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าแสดงความเห็นไม่เหมาะสม หลังจากที่เขากล่าวว่า กองทัพเมียนมาอาจจะลงมือก่ออาชญากรรมสงครามในขณะที่ปราบปรามผู้ที่เห็นต่างและไม่ยอมรับการปกครองของรัฐบาลทหาร
โฟลเกอร์ เติร์ก (Volker Türk) ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าววานนี้เรียกร้องให้จีนลงมือดำเนินการเพื่อจัดการกับประเด็นที่น่ากังวลที่สุดในเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในมณฑลซินเจียง
มินสก์ 4 มี.ค.- เบลารุสตัดสินจำคุก 10 ปี นายอาเลส เบียเลียตสกี นักเคลื่อนไหวเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพร่วมปี 2565 ทำให้นานาชาติพากันประณาม นายเบียเลียตสกี วัย 60 ปี เป็นนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยและสมาชิกผู้ก่อตั้งศูนย์สิทธิมนุษยชนเวียสนา (Viasna) ในเบลารุส เขาและพรรคพวก 2 คน ถูกคุมขัง หลังจากชาวเบลารุสออกมาประท้วงครั้งประวัติศาสตร์ ต่อต้านการที่ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก วัย 68 ปี ได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี 2563 ผูกขาดการเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวของเบลารุสนับตั้งแต่เบลารุสประกาศตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายในปี 2534 นายเบียเลียตสกีและพรรคพวกถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาลักลอบและให้เงินสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่ฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างร้ายแรง ศาลมีคำตัดสินเมื่อวานนี้ให้เขาถูกจำคุก 10 ปี จำเลยร่วมอีก 2 คนถูกตัดสินจำคุก 9 ปี และ 7 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีจำเลยอีก 1 คนที่ถูกพิจารณาคดีลับหลัง ถูกตัดสินจำคุก 8 ปี สหประชาชาติประณามว่า การจับกุมและคุมขังตามอำเภอใจกับผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยข้อหาที่มีแรงจูงใจทางการเมืองเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ขณะที่คณะกรรมการโนเบลระบุว่า เป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง […]
กรุงเทพฯ 15 ก.พ.-ตลท.ร่วมกับพันธมิตรเปิดเทรนด์ปี 2566 ชี้ 4 ปัจจัยผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนไทยต้องรู้ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงด้าน ESG ในสัมมนา SET Sustainability Forum
กรุงเทพฯ 22 ธ.ค.- ปตท.-โออาร์ แจงลงทุนในเมียนมาร์คำนึงสิทธิมนุษยชน โดย OR เบรกสร้างคลังน้ำมันในเมียนมาและบริษัทร่วมทุนจะไม่จ่ายเงินผู้ที่ติด Sanctions list
สหรัฐประกาศมาตรการลงโทษบุคคลและองค์กรหลายสิบแห่งเมื่อวานนี้ จากช้อกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งผู้ที่ถูกคว่ำบาตรครั้งนี้ มีคณะกรรมาธิการการเลือกตั้งกลางของรัสเซีย เจ้าหน้าที่ชาวอิหร่านและพลเมืองของจีนรวมอยู่ด้วย
โตเกียว 5 ธ.ค.- วุฒิสภาญี่ปุ่นผ่านความเห็นชอบญัตติแสดงความกังวลเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ฮ่องกง และพื้นที่อื่น ๆ ของจีน วุฒิสภาญี่ปุ่นผ่านญัตติที่เรียกร้องให้ประเทศที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ประชาคมโลกสามารถพิสูจน์ความจริงในข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้ระบุชื่อจีนโดยตรง ญัตติระบุว่า ประชาคมโลกได้แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทิเบต เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และฮ่องกง รวมถึงข้อกล่าวหาเรื่องละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา และขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นทำงานร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในการติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในดินแดนเหล่านี้ สภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นเคยผ่านความเห็นชอบญัตติลักษณะเดียวกันนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ไม่กี่วันก่อนจีนเปิดฉากโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง 2022 ด้านนายโยชิมาสะ ฮายาชิ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นแสดงความพร้อมในการร่วมมือกับประชาคมโลกปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในดินแดนเหล่านี้ว่า ทุกประเทศจะต้องรับประกันสิทธิมนุษยชนและค่านิยมสากลอื่น ๆ.-สำนักข่าวไทย
โดฮา 19 พ.ย.- นายจันนี อินฟันตีโน ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า (FIFA) ตอบโต้นักวิจารณ์ตะวันตกว่า เสแสร้ง กรณีวิจารณ์เรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกาตาร์ ประเทศเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 นายอินฟันตีโนแถลงข่าวที่กรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ก่อนที่ฟุตบอลโลกจะเปิดฉากในวันพรุ่งนี้ว่า การพร่ำสอนเรื่องศีลธรรมด้านเดียวเป็นเพียงการเสแสร้ง เขาไม่อยากสอนบทเรียนชีวิตให้ใคร แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้เป็นความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ชาวยุโรปควรขอโทษไปอีก 3,000 ปีข้างหน้าจากสิ่งที่ได้ทำมาตลอด 3,000 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะไปเริ่มสอนศีลธรรมให้ผู้อื่น ประธานฟีฟ่าวัย 52 ปี ซึ่งเกิดที่สวิสเซอร์แลนด์ โดยมีบิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี ได้แสดงความสนับสนุนคนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลายกันว่า วันนี้เขารู้สึกว่าตัวเองเป็นชาวกาตาร์ เป็นชาวอาหรับ เป็นชาวแอฟริกัน เป็นเกย์ เป็นผู้ทุพพลภาพ และเป็นแรงงานย้ายถิ่น หลังจากกาตาร์ถูกวิจารณ์เรื่องปฏิบัติไม่ดีต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ สตรี และแรงงานย้ายถิ่น ทางการกาตาร์ชี้แจงว่า ตกเป็นเป้าการเหยียดผิวและการปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน ทั้งที่ได้ปฏิรูปเรื่องสภาพการทำงานและความปลอดภัยในการทำงาน จนได้รับยกย่องว่าก้าวหน้าที่สุดในกลุ่มประเทศริมอ่าวอาหรับหรืออ่าวเปอร์เซียแล้ว.-สำนักข่าวไทย