ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ จริงหรือ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo CekFakta (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes เพิ่มขึ้นเพิ่มยับยั้งไวรัสโควิด 19 แต่จะอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความโจมตีวัคซีนโควิด 19 ที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซีย โดยอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้นกันผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte (ลิมโฟไซด์) มากเกินจำเป็น จนนำไปสู่อาการ Lymphocytosis หรือภาวะที่ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte มากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ข้อความถูกเผยแพร่มาตั้งแต่ช่วงที่ประเทศอินโดนีเซียเริ่มโครงการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชนเมื่อต้นปี 2021 จนวันนี้ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้รับยอดไลค์กว่า 600 ครั้ง และทำให้ผู้พบเห็นข้อความมาแสดงความเห็นต่อต้านการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างมาก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Tempo CekFakta ระบุว่า วัคซีนโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่มีทางเกิดขึ้น จนกว่าทุกคนจะฉีดวัคซีน จริงหรือ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ภูมิคุ้มกันหมู่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ประชากรทั้งหมดเข้ารับวัคซีน การคำนวณทางคณิตศาสตร์พบว่า ภูมิคุ้มกันหมู่โควิด 19 เกิดขึ้นได้เมื่อมีผู้เข้ารับวัคซีนประมาณ 70% ถึง 85% ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) เผยแพร่ผ่านทาง Instagram โดยระบุว่าภูมิคุ้มกันหมู่จะไม่มีวันเกิดขึ้น เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ประชากรรับวัคซีนได้หมดทุกคน ซึ่งภายหลังข้อความดังกล่าวได้ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในที่สุด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ภูมิคุ้มกันหมู่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ประชากรทั้งหมดเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างที่กล่าวอ้าง ดร.ซาราห์ ฟอร์จูน หัวหน้าภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกันและโรคติดต่อ มหาวิทยาลัย Harvard T.H. Chan School of Public Health อธิบายว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ใช่การทำให้โรคหายไปด้วยการทำให้ประชากรทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนทั้งหมด ภูมิคุ้มกันหมู่คือการทำให้ประชาชนได้รับวัคซีนในจำนวนที่มากพอ จนการแพร่เชื้อในสังคมลดลง ดร.ซาราห์ ฟอร์จูน ย้ำว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไต้หวันได้รับวัคซีน AstraZeneca ใกล้หมดอายุจากเกาหลีใต้ จริงหรือ?

14 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 จะมีอายุใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนเมื่อเก็บรักษาอย่างถูกวิธี วัคซีนต้องผ่านการตรวจสอบอีก 2 เดือน การได้รับวัคซีนที่อายุการใช้งานเหลือ 3 เดือนจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นกระแสกดดันรัฐบาลไต้หวันทางออนไลน์ จากการเผยแพร่ข้อความที่อ้างว่าไต้หวันซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 117,000 โดสจากประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่าน แต่วัคซีนล็อตดังกล่าวเป็นล็อตที่รัฐบาลเกาหลีใต้มีคำสั่งให้จำหน่ายออกนอกประเทศ เนื่องจากเป็นล็อตที่ใกล้หมดอายุแล้ว โดยเหลืออายุการใช้งานเพียง 3 เดือน ซึ่งน้อยกว่าอายุการใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยอดตายจากวัคซีนปี 2021 มากกว่าทั้งทศวรรษเกือบ 2 เท่า จริงหรือ?

12 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการบิดเบือนตัวเลขโดย Gateway Pundit เว็บไซต์อนุรักษ์นิยมของสหรัฐฯ รายงานการเสียชีวิตหลังการฉีดวัคซีนของ VAERS ไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ เนื่องจากยังไม่ผ่านการตรวจสอบว่ามีความสัมพันธ์กับวัคซีนหรือไม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ทาง Facebook โดย Gateway Pundit เว็บไซต์อนุรักษ์นิยมของสหรัฐฯ โดยอ้างว่าหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2021 ที่มีการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างแพร่หลายในประเทศ พบการเสียชีวิตจากวัคซีนในสหรัฐฯ ถึง 1,755 ครั้ง ขณะที่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยอดผู้เสียชีวิตจากวัคซีนในสหรัฐฯ มีแค่ 994 ครั้ง อย่างไรก็ดี ข้อความดังกล่าวได้ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในเวลาต่อมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ตัวเลขการเสียชีวิตที่ Gateway […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้รสนิยมทางเพศเบี่ยงเบน จริงหรือ?

11 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Gavi องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมหรือรสนิยมทางเพศได้ ซาอิด นามากิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอิหร่าน แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่นำข้ออ้างทางศาสนาและวิธีรักษาแบบพื้นบ้านมาหลอกลวงประชาชน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่าน Telegram ของ อายะตุลลอฮ์ อับบาส ทาบริเซียน นักสอนศาสนาชาวอิหร่านที่ส่งไปยังผู้ติดตามกว่าสองแสนคน โดยเนื้อหาเป็นการโจมตีวัคซีนโควิด 19 ว่ามีไมโครชิปที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรม เมื่อฉีดไปแล้วผู้รับวัคซีนจะไม่เหลือความเป็นมนุษย์, มีสภาพไม่ต่างจากหุ่นยนต์, สูญสิ้นศรัทธา, ขาดคุณธรรม และจะกลายเป็นคนรักเพศเดียวกัน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ทาบริเซียน ซึ่งอ้างตนว่าเป็น “บิดาการแพทย์อิสลาม” เคยอ้างว่ารักษาผู้ป่วยโควิด 19 ได้วันละ 150 คน และโจมตีวัคซีนโควิด 19 ว่าเป็นผลงานของขบวนการชาตินิยมยิว (Zionist) และการฉีดวัคซีนก็คือการล่าอาณานิยมทางการแพทย์รูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักสอนศาสนากล่าวอ้างว่าวัคซีนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรสนิยมทางเพศ โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ทำให้เกิดอาการสั่นรุนแรง จริงหรือ?

11 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้ บทสรุป: อาการสั่นรุนแรง (Strong Tremor) ไม่จัดเป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ บุคคลที่อยู่ในคลิปไม่สามารถยืนยันได้ว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 มาจริงหรือไม่ ก่อนจะลบคลิปของตนเองในภายหลัง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอผ่านทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยผู้โพสต์วิดีโออ้างว่าผู้หญิงสองคนที่อยู่ในคลิปเพิ่งผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer และ Moderna แต่พอกลับถึงบ้านก็มีอาการสั่นรุนแรงคล้ายอาการชักกระตุก ทำให้การพูดและการขยับตัวลำบากจนควบคุมตัวเองไม่ได้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง PolitiFact ของสหรัฐอเมริกา ได้ติดต่อไปยังผู้หญิงในคลิปและผู้เกี่ยวข้องกับเธอทั้งสองคนเพื่อขอคำยืนยัน แต่ทั้งสองคนต่างไม่ยอมบอกว่าได้รับการวัคซีนโควิด 19 มาจริงหรือไม่ และทำการลบคลิปดังกล่าวจาก Facebook ของตนเองแล้วทั้งคู่ อาการสั่นรุนแรง (Strong Tremor) ไม่จัดเป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ และยังไม่มีรายงานในประเทศใดที่พบคนมีอาการดังกล่าวหลังจากฉีดวัคซีนโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สตรีไม่ควรตั้งครรภ์ 2 เดือน หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการกล่าวอ้างโดยแพทย์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกาและบริษัท Pfizer ต่างยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนมีปัญหาในการตั้งครรภ์แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่านคลิปวิดีโอทาง Instagram ของ ดร.เชอร์รี เทนเพนนี แพทย์โรคกระดูกและกล้ามเนื้อชาวอเมริกัน ผู้เผยแพร่แนวคิดต่อต้านการฉีดวัคซีนผ่านงานเขียน โดยอ้างว่าวัคซีนคือสาเหตุของโรคออทิสติก ในคลิปวิดีโอความยาว 10 นาที ที่ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม ดร.เชอร์รี เทนเพนนี กล่าวอ้างว่าสตรีที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในช่วง 2 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย เพราะหนามโปรตีนที่อยู่ในวัคซีนอาจจะไปรบกวนรังไข ซึ่งไม่อาจรู้ได้ว่าจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์แค่ไหน หนามโปรตีนอาจรบกวนการทำงานของอสุจิและส่งผลกระทบมหาศาลต่อการปฏิสนธิและต่อไข่ของสตรี และยังไม่รู้ว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อพันธุกรรมหรือความพิการของทารกแรกเกิดหรือไม่ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไม่มีหลักฐานว่าหน่ายงานด้านสาธารณสุขหรือผู้ผลิตวัคซีนรายใด แนะนำให้สตรีที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ระงับการตั้งครรภ์หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้ชายควรนำเชื้ออสุจิไปแช่แข็งก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้ผู้ชายเป็นหมัน แม้จะพบเชื้อไวรัสในอัณฑะหลังติดเชื้อโควิด 19 ไปแล้ว 6 เดือน แต่ปริมาณของไวรัสหรือปริมาณของวัคซีนโควิด 19 ก็มีไม่มากพอที่จะทำให้ผู้รับเชื้อหรือวัคซีนกลายเป็นหมันไปได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: ความเชื่อว่าวัคซีนโควิด 19 อาจทำให้ผู้ชายเป็นหมัน ถูกเผยแพร่ผ่านรายงานของ Local10. สถานีโทรทัศน์ท่องถิ่นในสหรัฐฯ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการนำบทสัมภาษณ์ของ แรนจิธ รามาซามี ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ มหาวิทยาลัย University of Miami มาใช้อย่างผิดบริบท FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Newtral ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสเปน ได้ตรวจสอบบทสัมภาษณ์ของ แรนจิธ รามาซามี กับทาง Local10. ศัลยแพทย์ผู้นี้ยืนยันในบทสัมภาษณ์ว่า ไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้ผู้ชายเป็นหมัน แต่เมื่อนักข่าวถามว่าจะทำอย่างไรสำหรับคนที่กังวลเรื่องการมีบุตรในอนาคต […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามดื่มสุราเป็นเวลา 5 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo CekFakta (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: แอลกอฮอล์ไม่มีผลต่อการทำงานของวัคซีน กระนั้น งานวิจัยพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เว้นการดื่มสุราปริมาณมากๆ ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนฉีดวัคซีนโดสแรก และช่วง 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนโดสที่ 2 ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อความทาง Facebook ในประเทศอินโดนีเซียว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ห้ามดื่มสุราหรือรับประทานข้าวหมัก (tapai) เป็นเวลา 5 เดือน เพราะจะทำให้วัคซีนหมดประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทันที FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Tempo CekFakta เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของอินโดนีเซียยืนยันว่า ข้อกล่าวอ้างนี้ไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ เพราะไม่พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการป้องกันโรคของวัคซีนแต่อย่างใด ฮินดรา ซัตตารี ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติอินโดนีเซีย (Komnas KIPI) ยืนยันว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ส่งผลต่อการทำงานของวัคซีน และการฉีดวัคซีนไม่ส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนแต่อย่างใด สิติ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามผู้รับวัคซีนมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาหนึ่งเดือน จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ผ่านการทดสอบกับสัตว์ทดลอง วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ปลอดภัยต่อผู้ที่มีโรคประจำตัว บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์หลังจากรับวัคซีน บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามเรื่องการเปิดเผยอาการข้างเคียงจากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 19 หลายประเด็น ถูกเผยแพร่ผ่านรายการโทรทัซน์ Ghamis Studia ของสถานี Obiektivi TV ในประเทศจอร์เจียเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Myth Detector เว็บไซต์ตรวจสอบความจริงของประเทศจอร์เจียได้ทำการหักล้างข้อมูลเท็จต่างๆ ดังนี้ 1.วัคซีนโควิด 19 ผลิตออกมาอย่างเร่งรีบ จนข้ามขัดตอนการทดลอง และไม่เคยทดสอบในสัตว์ทดลอง – ข้อมูลเท็จ เนื่องจากวิกฤตการระบาดของโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ได้ผลที่สุดเมื่อฉีดที่อวัยวะเพศชาย จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: BOOM (อินเดีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิด ควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อหน้าขาด้านนอก ซึ่งช่วยให้วัคซีนไหลเวียนได้ดีที่สุด ส่วนอวัยวะเพศชายที่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื้อและเส้นเลือด ไม่ใช่บริเวณที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นรูปภาพและข้อความเท็จที่เผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าแพทย์จากมหาวิทยาลัย University of California ค้นพบว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่บริเวณอวัยวะเพศชาย จะทำให้ตัวยาไหลเวียนได้ดีที่สุด ซึ่งการอ้างว่าเป็นรายงานจากสถานีข่าว CNN ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ทไม่น้อยหลงเชื่อแล้วนำข้อมูลไปแชร์ต่อ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบของ BOOM พบว่ารูปภาพและข้อมูลดังกล่าวเป็นการตัดต่อโลโก้ของ CNN และนำชื่อมหาวิทยาลัย University of California การผลิตซ้ำเพื่อการล้อเลียน ส่วนนายแพทย์ผู้ถูกนำรูปภาพมาแอบอ้าง เป็นแพทย์ที่ทำงานให้กับโรงพยาบาล Claremont Medical Center ในเมืองแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่าไม่เคยเสนอแนะวิธีการฉีดยาดังกล่าว ข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขระบุว่า การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิดควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอเมริกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ เพราะวัคซีน จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เด็กที่ป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิผลและปลอดภัย ทำให้โรคติดต่อร้ายแรงอย่างโปลิโอและไข้ทรพิษหมดไปจากสหรัฐฯ วัคซีนยังช่วยป้องกันโรคสำคัญๆ ทั้ง โรคคอตีบ, โรคหัด, ตับอักเสบ และ โรคอีสุกอีใส ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย แพทริก ฟลินน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก ที่กล่าวหาว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวอเมริกันแย่ลงเรื่อยๆ และเมื่อสหรัฐฯ เปิดโครงการชดเชยผลกระทบจากวัคซีนเพื่อปกป้องบริษัทยาจากการถูกฟ้องร้องเมื่อปี 1986 นำไปสู่การกำหนดวัคซีนที่ผู้คนจำเป็นต้องฉีดหลากหลายชนิดอย่างไม่เคยมีมาก่อน ข้อความนี้ถูกเผยแพร่ผ่านทาง Facebook ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีผู้แสดงความคิดเห็นและส่งต่อข้อความรวมกันกว่า 2,800 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อกล่าวอ้างที่ว่าชาวอเมริกันในยุคนี้มีสุขภาพย่ำแย่ลงเพราะวัคซีนเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยรายงานประจำปี 2019 ของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีอายุที่ยืนยาวกว่าเมื่อทศวรรษที่แล้ว และอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดก็สูงกว่า 10 ปีที่แล้วเช่นกัน […]

1 22 23 24 25
...