อนามัยโลกจ่อประชุมด่วนสกัดโควิดกลายพันธุ์ในแอฟริกาใต้

องค์การอนามัยโลกเปิดประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญนัดเฉพาะกิจที่เมืองเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ในเวลา 11.00 น. ของวันนี้ หรือตรงกับเวลา 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย เพื่อประเมินเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

เอเชียเข้มพรมแดนสกัดโควิดกลายพันธุ์ใหม่ในแอฟริกาใต้

สิงคโปร์ 26 พ.ย. – หลายประเทศและดินแดนในทวีปเอเชียต่างยกระดับการใช้มาตรการเข้มงวดพรมแดน หลังแอฟริกาใต้พบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ใหม่ที่อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิดได้ ขณะที่ข่าวดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นเอเชียทรุดหนักสุดในรอบ 3 เดือน และสร้างความหวั่นวิตกในตลาดค้าน้ำมันที่ร่วงลงกว่าร้อยละ 3 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประกาศใช้มาตรการจำกัดการเดินทางจากแอฟริกาใต้และประเทศใกล้เคียงอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน หลังจากที่อังกฤษได้ประกาศระงับเที่ยวบินจาก 6 ประเทศทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาชั่วคราว ได้แก่ แอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว และเลโซโท ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สำนักข่าวจิจิ นิวส์ ของญี่ปุ่น ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจยกระดับมาตรการควบคุมพรมแดนที่เข้มงวดขึ้นสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้และอีก 5 ประเทศใกล้เคียง ส่วนรัฐบาลอินเดียได้ประกาศคำแนะนำให้รัฐทั้งหมดในอินเดียตรวจหาเชื้อโควิดและคัดกรองผู้เดินทางจากแอฟริกาใต้อย่างเข้มงวด รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนไต้หวันระบุว่า ผู้ที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาจะต้องกักตัวในสถานกักตัวของรัฐบาลเป็นเวลา 14 วัน สำนักข่าวรอยเตอร์สยังรายงานว่า ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์ใหม่ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ขณะที่ข่าวดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นเอเชียทรุดหนักสุดในรอบ 3 เดือนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา และสร้างความหวั่นวิตกในตลาดค้าน้ำมันที่ร่วงลงกว่าร้อยละ 3. -สำนักข่าวไทย

ฮ่องกงพบผู้ป่วยโควิดกลายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้แล้ว

ฮ่องกง 26 พ.ย. – ฮ่องกงพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ 2 คนที่กักตัวอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งบนเกาะเช็กแลปก๊กของฮ่องกงในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง หรืออาร์ทีเอชเค รายงานวันนี้ว่า ฮ่องกงพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ใหม่ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 จำนวน 2 คนที่กักตัวอยู่ในโรงแรมเรกัล แอร์พอร์ต บนเกาะเช็กแลปก๊ก ที่ตั้งของสนามบินนานาชาติของฮ่องกง ขณะที่หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ของสหรัฐรายงานอ้างศูนย์ป้องกันสุขภาพของฮ่องกงที่ยืนยันว่า ชายวัย 36 ปีที่เดินทางจากแอฟริกาใต้มายังฮ่องกงมีผลตรวจหาเชื้อโควิดเป็นบวกและติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ 2 วันหลังเดินทางถึงฮ่องกงในวันที่ 11 พฤศจิกายน ทั้งนี้ ชายคนดังกล่าวได้แพร่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ไปสู่ชายอีกคนที่มีอายุ 62 ปี เดินทางมาจากแคนาดา และกักตัวอยู่ห้องข้าง ๆ อาร์ทีเอชเคยังรายงานเพิ่มเติมว่า ชายที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ได้สวมหน้ากากอนามัยแบบใช้ซ้ำที่มีวาล์วกรองอากาศ ขณะที่นักจุลชีววิทยาของมหาวิทยาลัยฮ่องกงได้เผยในเวลาต่อมาว่า หน้ากากอนามัยประเภทดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโควิดผ่านทางอากาศไปยังชายที่กักตัวอยู่ห้องข้าง ๆ ส่งผลให้รัฐบาลฮ่องกงต้องสั่งห้ามการใช้หน้ากากอนามัยประเภทดังกล่าวในระหว่างกักตัวที่โรงแรม ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ของแอฟริกาใต้เผยเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า แอฟริกาใต้พบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 โดยเชื้อดังกล่าวกลายพันธุ์ได้หลายครั้ง จนแตกต่างอย่างมากกับเชื้อไวรัสดั้งเดิมและเป็นต้นเหตุที่ทำให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อในแอฟริกาใต้พุ่งสูงขึ้น.-สำนักข่าวไทย

แอฟริกาใต้พบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ใหม่ “B.1.1.529”

โจฮันเนสเบิร์ก 26 พ.ย. – นักวิทยาศาสตร์ของแอฟริกาใต้เผยเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า แอฟริกาใต้พบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 โดยเชื้อดังกล่าวสามารถกลายพันธุ์ได้หลายครั้ง และเป็นต้นเหตุที่ทำให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อในแอฟริกาใต้พุ่งสูงขึ้น นักไวรัสวิทยาของแอฟริกาใต้ แถลงว่า แอฟริกาใต้พบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ชื่อ B.1.1.529 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวลในแอฟริกาใต้ เชื้อโควิดกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถกลายพันธุ์ได้หลายครั้ง และหวังว่าองค์การอนามัยโลกจะตั้งชื่อเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดนี้เป็นภาษากรีกเช่นเดียวกับเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ ในวันนี้ นอกจากนี้ เชื้อโควิด B.1.1.529 ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดพุ่งสูงขึ้นในแอฟริกาใต้ และยังพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดชนิดนี้ที่บอตสวานาและฮ่องกง ในกลุ่มผู้เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ ในขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก ระบุว่า กำลังเฝ้าระวังสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด B.1.1.529 อย่างใกล้ชิด และคาดว่าจะจัดการประชุมเฉพาะกิจในวันนี้ เพื่อพิจารณาว่าควรกำหนดให้เชื้อโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่าจับตาหรือสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวลหรือไม่ ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า จากการวิเคราะห์ในเบื้องต้นพบว่า เชื้อโควิด B.1.1.529 สามารถกลายพันธุ์ได้หลายครั้ง และจำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป สำนักข่าวซีเอ็นเอของสิงคโปร์ รายงานว่า แอฟริกาใต้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายวันพุ่งสูงขึ้นถึง 10 เท่า ตั้งแต่ในช่วงต้นเดือนนี้ ส่วนอังกฤษได้ประกาศระงับเที่ยวบินจาก 6 ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ แอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว […]

WHO จับตาเชื้อโควิดสายพันธุ์ “มิว” ในโคลอมเบีย

องค์การอนามัยโลกกำลังเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งพบครั้งแรกในโคลอมเบียเมื่อเดือนมกราคม และจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่น่าจับตา

ญี่ปุ่นพบเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตากลายพันธุ์ครั้งแรก

คณะนักวิจัยของญี่ปุ่นพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่กลายพันธุ์ใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศ

แอฟริกาใต้พบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่

โจฮันเนสเบิร์ก 31 ส.ค. – นักวิทยาศาสตร์ของแอฟริกาใต้พบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่มีการกลายพันธุ์หลายครั้ง แต่ยังไม่ได้ระบุว่าเชื้อโควิดดังกล่าวจะแพร่เชื้อได้รวดเร็วขึ้น หรือเอาชนะภูมิคุ้มกันจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้หรือไม่ ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์แอฟริกาใต้ ที่ยังไม่ได้รับตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการระบุว่า เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่มีชื่อว่า C.1.2 พบครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม และกำลังแพร่ระบาดในหลายจังหวัดส่วนใหญ่ของแอฟริกาใต้ รวมถึงอีก 7 ประเทศในทวีปแอฟริกา ยุโรป เอเชีย และโอเชียเนีย เชื้อโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวมีการกลายพันธุ์หลายครั้งที่เชื่อมโยงกับเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นและลดการตอบสนองของแอนติบอดีที่ต้านเชื้อโควิด อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ของแอฟริกาใต้ยังไม่แน่ใจว่าเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ จะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของเชื้อโควิดดังกล่าวได้อย่างไร และกำลังดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบว่าแอนติบอดีจะสามารถต้านทานเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ได้ดีแค่ไหน ริชาร์ด เลสเซลส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและหนึ่งในคณะผู้เขียนงานวิจัยดังกล่าวระบุว่า การตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์ C.1.2 เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด และเชื้อไวรัสโคโรนายังคงหาทางแพร่เชื้อให้ได้ดีกว่าเดิม ก่อนหน้านี้ แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกที่ตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์เบตา ซึ่งเป็น 1 ใน 4 สายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล.-สำนักข่าวไทย

อินเดียประกาศเชื้อโควิดสายพันธุ์ “เดลตา พลัส” น่ากังวล

เบงกาลูรู 23 มิ.ย. – อินเดียประกาศให้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า เดลตา พลัส เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล โดยพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวหลายสิบรายใน 3 รัฐของอินเดีย นายราเชศ ภูชาน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอินเดียกล่าวว่า ทางการพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า เดลตา พลัส 16 คนในรัฐมหาราษฏระ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขอินเดียระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา พลัส สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วมากขึ้น และแนะนำให้รัฐต่าง ๆ เพิ่มการตรวจหาเชื้อโควิดในประชาชน นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียยังรายงานวันนี้ว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 50,848 คนในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1,358 คน ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 30.3 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 390,600 คน อินเดียทำสถิติฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนได้สูงถึงวันละ 8.9 ล้านคนเมื่อวันจันทร์ เนื่องจากทางการเริ่มโครงการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนวัยผู้ใหญ่ทุกคน อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกลับตั้งข้อสงสัยว่าอินเดียจะรักษายอดผู้ฉีดวัคซีนในระดับดังกล่าวไว้ได้นานเท่าใด ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะและระบบสุขภาพของอินเดียรายหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า ยอดผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนของวันจันทร์เป็นตัวเลขที่ไม่ยั่งยืน เพราะหลายรัฐในอินเดียได้ใช้วัคซีนส่วนใหญ่ที่มีอยู่เพื่อเร่งฉีดวัคซีนภายในหนึ่งวันให้ได้มากที่สุด […]

อดีตผู้นำโลกขอกลุ่มจี 7 จ่ายวัคซีนโควิดให้ประเทศยากจน

ลอนดอน 7 มิ.ย. – อดีตประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ 100 คน เรียกร้องให้กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือจี 7 (G7) จ่ายค่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทั่วโลก เพื่อช่วยหยุดยั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดที่ทำให้เกิดภัยคุกคามไปทั่ว กลุ่มอดีตผู้นำระดับโลกได้ระบุในจดหมายที่ส่งถึงกลุ่มจี 7 ว่า ความร่วมมือระดับโลกล้มเหลวเมื่อปีก่อน แต่ในปีนี้อาจก้าวไปสู่ยุคใหม่ได้ การสนับสนุนจากกลุ่มจี 7 และจี 20 เพื่อทำให้ประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ใช่การกุศล แต่เป็นผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์ของแต่ละประเทศมากกว่า ทั้งยังระบุว่า กลุ่มจี 7 และผู้นำประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในวันศุกร์นี้ ควรรับประกันว่าจะจ่ายเงินสูงสุดปีละ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 93.6 ล้านล้านบาท) เป็นเวลาสองปีเพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ในบรรดาผู้นำที่ลงนามในจดหมายดังกล่าว ได้แก่ นายกอร์ดอน บราวน์ และนายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายบัน […]

WHO เปลี่ยนชื่อโควิดกลายพันธุ์โดยใช้อักษรกรีก

เจนีวา 1 มิ.ย. – องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเมื่อวานนี้ตามเวลาท้องถิ่นว่า จะใช้ตัวอักษรกรีกเรียกแทนชื่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ เพื่อเลี่ยงการตีตราประเทศที่พบการระบาดเป็นครั้งแรก องค์การอนามัยโลกเผยว่า ระบบเรียกชื่อใหม่ดังกล่าวจะนำมาใช้กับเชื้อโควิดกลายพันธุ์ในระดับน่ากังวล ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดรุนแรง รวมถึงเชื้อโควิดกลายพันธุ์ระดับน่าสนใจ ซึ่งเป็นระดับรองลงมาและต้องเฝ้าระวัง ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวใช้ชื่อเรียกเชื้อโควิดกลายพันธุ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เชื้อโควิดสายพันธุ์ B.1.1.7 หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษ จะใช้ชื่อว่า แอลฟา (Alpha) เชื้อโควิดสายพันธุ์ B.1.351 หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จะใช้ชื่อว่า บีตา (Beta) และเชื้อโควิดสายพันธุ์บราซิเลียน P.1 จะใช้ชื่อว่า แกมมา (Gamma) ขณะที่เชื้อโควิดสายพันธุ์ B.1.617 หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้แบ่งออกเป็นหลายสายพันธุ์ย่อย แต่สายพันธุ์ระดับน่ากังวลคือ B.1.617.2 จะใช้ชื่อว่า เดลตา (Delta) และสายพันธุ์ระดับน่าสนใจคือ B.1.617.1 จะใช้ชื่อว่า […]

สิงคโปร์ปิดโรงเรียน-เตือนเด็กเสี่ยงติดโควิดกลายพันธุ์

สิงคโปร์เตือนว่า โรคโควิด-19 ที่ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ เช่น ที่พบการระบาดครั้งแรกในอินเดีย หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โควิดสายพันธุ์อินเดีย กำลังส่งผลกระทบต่อกลุ่มเด็กมากขึ้น ขณะที่ทางการเตรียมสั่งปิดโรงเรียนส่วนใหญ่ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปและวางแผนฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มวัยหนุ่มสาว

โควิดสายพันธุ์อินเดียระบาดเพิ่มเป็น 44 ประเทศ

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์ B1617 ซึ่งพบการระบาดครั้งแรกในอินเดียและเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้แพร่ระบาดใน 44 ประเทศจาก 6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก

1 2
...