ฟิลิปปินส์เพิ่มเวลากักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศสกัดโควิด

มะนิลา 7 พ.ค. – ฟิลิปปินส์ประกาศให้ผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศต้องเข้าสู่มาตรการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน จากเดิมที่ให้กักตัวเพียง 7 วัน เนื่องจากทางการพยายามควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ที่แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าเดิม นายแฮร์รี่ โร้ก โฆษกของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ แถลงว่า ฟิลิปปินส์จะใช้มาตรการดังกล่าวในผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศทุกคน แม้บางคนจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้วก็ตาม โดยจะต้องเข้าสู่มาตรการกักตัว 10 วันแรกในสถานกักตัวที่รัฐบาลรับรอง และกลับไปกักตัวต่อที่บ้านอีก 4 วัน นอกจากนี้ ผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศจะได้รับการตรวจหาเชื้อโควิดในวันที่ 7 ของการกักตัว และถ้ามีผลตรวจหาเชื้อเป็นลบ ก็ต้องกักตัวให้ครบ 10 วัน นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังไม่อนุญาตให้ผู้ที่เดินทางจากอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา เนปาล และบังกลาเทศ เดินทางเข้าประเทศ เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย ในขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขของฟิลิปปินส์ ระบุว่า การใช้มาตรการควบคุมครั้งใหม่มีขึ้นหลังจากที่ฟิลิปปินส์พบผู้โดยสาร 5 คน มีผลตรวจหาเชื้อโควิดเป็นบวก เมื่อเดือนก่อน โดยที่ผู้โดยสารกลุ่มดังกล่าวมีประวัติเดินทางไปอินเดีย และได้นำตัวอย่างส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์ลำดับจีโนมแล้ว ขณะนี้ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่เผชิญกับการระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ในทวีปเอเชีย […]

WHO เผยเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดียระบาดใน 17 ประเทศ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.617 ซึ่งพบการระบาดครั้งแรกในอินเดีย และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้แพร่ระบาดในอย่างน้อย 17 ประเทศทั่วโลก

กรุงโตเกียวมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น

โตเกียว 12 มี.ค. – กรุงโตเกียวและพื้นที่โดยรอบมีสัญญาณว่า จำนวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าจะสามารถยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกำหนดในวันที่ 21 มีนาคมได้หรือไม่ รัฐบาลญี่ปุ่นขยายระยะเวลาใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงโตเกียวและอีก 3 จังหวัดโดยรอบออกไปอีก 14 วันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากยอดผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่ลดลงมากพอ และยังพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่แพร่เชื้อได้รวดเร็ว นายโนริฮิสะ ทามูระ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นกล่าวว่า การตัดสินใจยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงโตเกียวและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งมีประชากรร้อยละ 30 ของประเทศหรือไม่นั้น จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับคำแนะนำจากคณะผู้เชี่ยวชาญหรือระบบต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า ยอดผู้ป่วยติดเชื้อจะไม่กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกหากมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะเดียวกัน การใช้มาตรการเข้มงวดต่าง ๆ เช่น การจำกัดเวลาเปิดบริการร้านอาหารและบาร์ให้สั้นลง มีส่วนช่วยลดยอดผู้ป่วยติดเชื้อในกรุงโตเกียวลงได้ประมาณ 1 ใน 10 ของตัวเลขผู้ป่วยสูงสุดที่ 2,520 คนเมื่อในวันที่ 7 มกราคม อย่างไรก็ดี ยอดผู้ป่วยติดเชื้อที่ลดลงก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่นางยูริโกะ โคอิเกะ ผู้ว่าการกรุงโตเกียวตั้งไว้ว่า จะลดอัตราผู้ป่วยติดเชื้อในรอบ 7 วันให้ได้ร้อยละ 70 โดยเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า […]

ฟิลิปปินส์พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้เพิ่ม 52 ราย

ฟิลิปปินส์พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่แพร่เชื้อรวดเร็วเพิ่มอีก 52 คน และต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ในการควบคุมการระบาดที่รุนแรง

มาเลเซียพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ 2 ราย

มาเลเซียพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ 2 คน ซึ่งคาดว่าเป็นเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดรวดเร็วกว่าเดิมและต้านทานแอนติบอดีในร่างกายได้

อินโดนีเซียพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษ 2 ราย

จาการ์ตา 2 มี.ค. – อินโดนีเซียพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ที่พบการระบาดครั้งแรกในอังกฤษ 2 คน ซึ่งถือเป็นความยุ่งยากใหม่ ในขณะที่อินโดนีเซียพยายามควบคุมการระบาดที่รุนแรงเป็นอันดับต้น ๆ ของทวีปเอเชีย นายดานเต้ ซักโซโน ฮาร์บูโวโน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียกล่าวว่า อินโดนีเซียต้องเผชิญกับความท้าทายและความยุ่งยากครั้งใหม่หลังพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว คณะทำงานเฉพาะกิจโรคโควิด-19 ของอินโดนีเซียยืนยันว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษหรือที่รู้จักกันในชื่อ B117 จริง แต่ไม่ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ขณะที่นักวิจัยด้านจีโนมในกรุงจาการ์ตาเรียกร้องให้เพิ่มการเฝ้าระวังด้านจีโนมในอินโดนีเซีย การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพเพื่อรับมือกับเชื้อโควิดกลายพันธุ์ และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือที่ครอบคลุมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดผลกระทบจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์ในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบการระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ได้แก่ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ แม้อินโดนีเซียพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นบวกของประชาชนในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงพุ่งสูงอยู่ที่ราวร้อยละ 20 นับว่าสูงกว่าอัตราที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 5 จึงจะถือว่าสามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ทั้งนี้ อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรสูงเป็นอันดับสี่ของโลก ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกว่า 181 ล้านคนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่เจ้าหน้าที่การแพทย์ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้สูงอายุเป็นกลุ่มแรก ๆ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขณะนี้ อินโดนีเซียมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า […]

อินเดียจะตรวจหาเชื้อผู้ที่มาจากประเทศพบโควิดกลายพันธุ์

นิวเดลี 18 ก.พ. – อินเดียจะบังคับการตรวจหาโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนประกอบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากอังกฤษ แอฟริกาใต้ และบราซิล เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่แพร่เชื้อเร็วในกลุ่มประเทศดังกล่าว อินเดีย ซึ่งมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แอฟริกาใต้ 4 คนในเดือนที่แล้ว และพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์บราซิล 1 คนในเดือนนี้ รัฐบาลอินเดียกล่าวว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แอฟริกาใต้และบราซิลสามารถติดเชื้อในปอดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อังกฤษที่อินเดียพบผู้ป่วยทั้งหมด 187 คนแล้ว รัฐบาลอินเดียเผยว่า สายการบินต่าง ๆ จำเป็นต้องคัดกรองผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าอินเดียจากกลุ่มประเทศดังกล่าวตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป แม้ว่าอินเดียไม่มีเที่ยวบินตรงจากบราซิลและแอฟริกาใต้ และผู้โดยสารส่วนใหญ่ที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าวต้องแวะเปลี่ยนเครื่องที่ท่าอากาศยานในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางก็ตาม ขณะที่กระทรวงสวัสดิการสุขภาพและครอบครัวของอินเดียระบุในแถลงการณ์ว่า ผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางหรือแวะเปลี่ยนเครื่องในเที่ยวบินจากอังกฤษ ทวีปยุโรป หรือตะวันออกกลางจะต้องเข้ารับการตรวจหาโมเลกุลแบบเสียค่าใช้จ่ายเองเมื่อเดินทางมาถึงอินเดีย นอกจากนี้ ผู้โดยสารทุกคนจะต้องมีใบรับรองผลตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นลบก่อนออกเดินทางมายังอินเดีย ขณะนี้ อินเดียมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมราว 11 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 155,000 คน โดยพบยอดผู้ป่วยติดเชื้อรายวันลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงกลางเดือนกันยายนปีก่อนที่มียอดผู้ป่วยสูงถึงวันละเกือบ 100,000 คน ทั้งนี้ ทางการอินเดียได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชน 9.2 ล้านคนแล้วตั้งแต่เริ่มโครงการฉีดวัคซีนวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา.-สำนักข่าวไทย

อังกฤษเผยมีเชื้อโควิดกลายพันธุ์ราว 4,000 สายพันธุ์แล้ว

ลอนดอน 4 ก.พ. – อังกฤษเผยว่า ขณะนี้มีเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่กลายพันธุ์ราว 4,000 สายพันธุ์ทั่วโลก และทำให้ผู้ผลิตวัคซีน เช่น ไฟเซอร์และแอสตราเซนเนกากำลังหาทางปรับปรุงวัคซีนเช่นกัน นายนาดิม ซาฮาวี รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านการจัดเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของอังกฤษกล่าวกับสถานีโทรทัศน์สกายนิวส์ของอังกฤษว่า ตอนนี้ยังไม่มีแนวโน้มว่าวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะไม่มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่พบในเมืองเคนท์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษหรือสายพันธุ์อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตวัคซีน เช่น ไฟเซอร์/ไบออนเทค โมเดอร์นา มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและแอสตราเซนเนกา รวมถึงผู้ผลิตรายอื่น ๆ กำลังหาทางปรับปรุงวัคซีนเพื่อให้มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดได้ทุกสายพันธุ์ แม้ว่าในขณะนี้จะมีเชื้อโควิดกลายพันธุ์ราว 4,000 สายพันธุ์ทั่วโลกแล้วก็ตาม นายซาฮาวีกล่าวทิ้งท้ายว่า อังกฤษมีอุตสาหกรรมการศึกษาลำดับจีโนมขนาดใหญ่ที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของอุตสาหกรรมทั่วโลก และยังได้เก็บข้อมูลของเชื้อโควิดทุกสายพันธุ์ไว้เพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายของเชื้อไวรัสโคโรนาที่อาจเกิดขึ้นใหม่และผลิตวัคซีนรุ่นใหม่ได้ตลอดเวลา ขณะนี้อังกฤษมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 3.8 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 109,000 คน ซึ่งทำสถิติผู้ป่วยติดเชื้อสะสมและผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก.-สำนักข่าวไทย

ออกซ์ฟอร์ดเตรียมวัคซีนเวอร์ชั่นใหม่สกัดโควิดกลายพันธุ์

ลอนดอน 21 ม.ค. – มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษเตรียมเร่งผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เวอร์ชั่นใหม่เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แพร่เชื้อเร็วที่พบในอังกฤษ แอฟริกาใต้ และบราซิล หนังสือพิมพ์เดอะเทเลกราฟของอังกฤษรายงานอ้างคำยืนยันของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและแอสตราเซนเนกา บริษัทเวชภัณฑ์ของอังกฤษกำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อปรับโครงสร้างของเทคโนโลยี และอยู่ในระหว่างการประเมินว่า พวกเขาสามารถที่จะปรับปรุงแพลตฟอร์มวัคซีนชาด็อกซ์ (ChAdOx) ได้รวดเร็วแค่ไหน โฆษกของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกำลังประเมินผลกระทบของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แพร่เชื้อเร็วที่มีต่อการฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวัง รวมถึงประเมินกระบวนการที่จำเป็นต่อการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ปรับปรุงใหม่อย่างรวดเร็ว ขณะที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษ กล่าววานนี้ว่า หน่วยงานกำกับดูแลยาของอังกฤษมีความพร้อมและสามารถอนุมัติใช้วัคซีนที่ปรับปรุงใหม่เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แพร่เชื้อเร็ว อย่างไรก็ดี ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของไฟเซอร์/ไบออนเทค มีแนวโน้มที่จะป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แพร่เชื้อเร็วที่กำลังระบาดทั่วโลกได้ ไบออนเทคยังระบุอีกด้วยว่า บริษัทเตรียมเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ระบาดในแอฟริกาใต้ที่มีข้อมูลมากขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า นอกจากนี้ แอสตราเซนเนกา โมเดอร์นา บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ และเคียวแวก บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของเยอรมนีกำลังทดสอบเช่นกันว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่แต่ละบริษัทพัฒนาขึ้นมานั้นจะสามารถป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์แพร่เชื้อเร็วได้หรือไม่.-สำนักข่าวไทย

1 2
...