สหรัฐเบรกวัคซีนไฟเซอร์ ยังไม่ต้องฉีดเข็ม 3

เอฟดีเอ-ซีดีซี ของสหรัฐฯ เบรกไฟเซอร์ ขอใช้วัคซีนเข็มที่ 3 ยันยังไม่ใช้ตอนนี้ พร้อมระบุว่าทางการอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยว่าวัคซีนเข็มที่ 3 มีความจำเป็นหรือไม่

ชี้ประโยชน์ของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอมีมากกว่าความเสี่ยง

องค์การอนามัยโลก กล่าววานนี้ว่า ประโยชน์ของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ มีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงที่มีระดับน้อยมากที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เนื่องจากการฉีดวัคซีนนี้จะช่วยลดการต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิต

เกาหลีใต้พบผู้ติดโควิดทำสถิติสูงสุดเป็นวันที่ 3 ติดกัน

สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือ เคดีซีเอ ของเกาหลีใต้รายงานวันนี้ว่า เกาหลีใต้พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายวันทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันแล้วที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงเป็นสถิติใหม่

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ทำให้เป็นอัลไซเมอร์และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จริงหรือ?

9 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นข้อมูลที่บิดเบือนโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าสาร mRNA ที่ฉีดบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน จะส่งผลไปยังโปรตีนในสมองได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่จากบทความของโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่อ้างว่าคนที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer / BioNTech มีความเสี่ยงที่ระบบประสาทจะถูกทำลายในอนาคต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: บทความนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Microbiology & Infectious Diseases เจ้าของบทความได้แก่ จอห์น บาร์ท คลาสเซน นักภูมิคุ้มกันวิทยาและเป็นนักเคลื่อนไหวต่อต้านการฉีดวัคซีนชาวอเมริกัน ที่อ้างว่า ส่วนประกอบในวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ก่อให้เกิดการม้วนพับโปรตีนจนมีรูปร่างผิดปกติ (Protein Misfolding) นำไปสู่การทำลายระบบประสาทในระยะยาว และสามารถพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) แนวคิดของ จอห์น […]

เวียดนามปรับเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้ประชาชน

เวียดนามเล็งเป้าหมายจะฉีดวัคซีนให้ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปให้ได้ร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ และให้ได้ร้อยละ 70 ภายในสิ้นเดือนมีนาคมปีหน้า

ไฟเซอร์เตรียมขออนุมัติฉีดเข็ม 3

สัปดาห์หน้า บริษัทไฟเซอร์ เตรียมยื่นเรื่องขออนุมัติจากทางการสหรัฐ ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสู้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้ไข้หวัดรุนแรงขึ้น จริงหรือ?

9 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นข้ออ้างที่เป็นเท็จ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ไวรัสโควิด 19 หรือวัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงขึ้น เพราะสาเหตุมาจากไวรัสคนละชนิดกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลเท็จทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงจนถึงชีวิต ซึ่งภายหลังข้อความดังกล่าวถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม ผู้โพสต์อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ไข้หวัดมีความรุนแรงยิ่งขึ้น การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนจึงเริ่มในช่วงที่ฤดูการระบาดของไข้หวัดผ่านพ้นไปแล้ว แต่เมื่อฤดูหนาวครั้งต่อไปมาถึง จะเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าโควิด 21 ซึ่งคราวนี้จะมีคนเสียชีวิตจริงๆ โดยอาการจะคล้ายกับป่วยเป็นไข้หวัด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่วัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนป่วยเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอย่างที่กล่าวอ้าง ดร.เบรนท์ สต็อกเวลล์ ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีววิทยา มหาวิทยาลัย Columbia University อธิบายว่า เป็นการกล่าวอ้างที่ไร้เหตุผลรองรับ ไวรัสโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีด Pfizer เสี่ยงติดโควิด 19 สายพันธุ์เบต้า 8 เท่า จริงหรือ?

8 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการทดลองกับผู้รับวัคซีนที่ติดเชื้อโควิด 19 อยู่แล้ว จึงไม่อาจสรุปได้ว่าวัคซีน Pfizer ทำให้ติดโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าได้มากกว่าคนทั่วไป ผู้วิจัยย้ำว่าการฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ที่ดีที่สุด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอสร้างความเข้าใจผิดต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 เผยแพร่ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer จะมีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าหรือแอฟริกาใต้ (B.1.351) มากกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนถึง 8 เท่า FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คลิปดังกล่าวอ้างงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Tel Aviv University ที่ทำการตรวจสอบประสิทธิผลในการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ของวัคซีนโควิด 19 ทีมวิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 400 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอินเดียขับไล่หมอ เพราะไม่ต้องการวัคซีน จริงหรือ?

8 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Animal Politico (เม็กซิโก)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการนำภาพเหตุชุลมุนในตลาดนัดมาเชื่อมโยงกับวัคซีนอย่างไม่ถูกต้อง ภาพดังกล่าวคือการขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาระงับการรวมตัวของคนในหมู่บ้าน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อความเท็จพร้อมคลิปวิดีโอที่ระบุว่า ชาวบ้านในอินเดียขับไล่บุคลากรทางการแพทย์พร้อมวัคซีน เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนในประเทศจำนวนมาก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบข้อมูลของ Animal Politico พบคลิปว่าคลิปดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามที่กล่าวอ้าง แต่เป็นการชุลมุนที่เกิดขึ้นในตลาดนัด และไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่อย่างใด จากรายงานข่าวของ Times Of India และทีมผู้ตรวจสอบของ India Today ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2021 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในรัฐฌารขัณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่ตำตรวจต้องเดินทางไประงับการรวมตัวของชาวบ้านจำนวน 200 คนที่มาร่วมงานตลาดนัดของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการละเมิดคำสั่งห้ามรวมตัวในที่สาธารณะท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้ชาวบ้านที่ไม่พอใจลุกฮือขึ้นขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการขว้างปาก้อนหินและทุบตีด้วยท่อนไม้ ชาวอินเดียที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 จะต้องลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขของอินเดียก่อน การบังคับให้ชาวบ้านฉีดวัคซีนด้วยการส่งทีมแพทย์ไปตามหมู่บ้านอย่างที่กล่าวอ้างจึงไม่เป็นความจริง ข้อมูลจากเว็บไซต์ Worldometers เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม […]

สธ.จัดรถตรวจเชื้อและวัคซีนโควิดดูแลผู้ประสบเหตุโรงงานระเบิด

กระทรวงสาธารณสุขจัดรถตรวจเชื้อโควิดและวัคซีนแอสตราเซเนกา หน้ากาก N95 ช่วยดูแลผู้อพยพจากเหตุโรงงานระเบิดที่จังหวัดสมุทรปราการ

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ จริงหรือ?

7 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: แม้วัคซีนโควิด 19 ในปัจจุบันจะยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ 100% แต่งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันตรงกันว่าการฉีดวัคซีนช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อได้อย่างมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการนำวิดีโอรายการโทรทัศน์ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 มาแชร์ทาง Facebook ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 จะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ (asymptomatic transmitters) เนื่องจากวัคซีนโควิด 19 ยังไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อหรือติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นผู้รับวัคซีนโควิด 19 จึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้วัคซีนโควิด 19 หลายยี่ห้อจะสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ แต่ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อแบบไม่มีอาการยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม แต่การวิจัยหลายชิ้นที่ออกมาในปี 2021 พบว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer, Moderna, และ AstraZeneca สามารถลดโอกาสการแพร่เชื้อแบบไม่มีอาการได้ วารสารการแพทย์ Nature […]

1 62 63 64 65 66 141
...