
อังกฤษ-ญี่ปุ่นเตรียมแผนการประชุมสุดยอดกลางเดือน ก.พ.
อังกฤษและญี่ปุ่นกำลังเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษกับนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นที่กรุงโตเกียวในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์
อังกฤษและญี่ปุ่นกำลังเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษกับนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นที่กรุงโตเกียวในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์
พนมเปญ 25 ม.ค.- นายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาเผยว่า ได้เชิญพลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมประชุมสุดยอดสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน หากเมียนมามีความคืบหน้าเรื่องการปฏิบัติตามแผนสันติภาพที่ตกลงกันไว้เมื่อปีก่อน นายกรัฐมนตรีฮุน เซนในฐานะประธานอาเซียนวาระปัจจุบันเผยว่า จะคุยผ่านระบบวิดีโอทางไกลกับผู้นำเมียนมาในวันพุธ เฟซบุ๊กของนายกรัฐมนตรีฮุน เซนได้ลงแถลงการณ์สรุปการสนทนาระหว่างเขากับนายกรัฐมนตรีอิสมาอิล ยาคอบของมาเลเซียว่า นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าได้เชิญพลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่ายมาร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน หากมีความคืบหน้าเรื่องการปฏิบัติตามแผนฉันทามติ 5 ข้อที่เมียนมาตกลงกับอาเซียนเมื่อเดือนเมษายนปีก่อนเรื่องยุติความเป็นปรปักษ์และเปิดทางให้มีการเจรจา แต่หากไม่มีความคืบหน้า ผู้นำเมียนมาต้องส่งผู้แทนที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองมาร่วมประชุมอาเซียนแทน ผู้นำกัมพูชาไปเยือนเมียนมาเมื่อวันที่ 7 มกราคม ถือเป็นผู้นำต่างชาติคนแรกนับตั้งแต่กองทัพเมียนมารัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีก่อน ทำให้บางประเทศกังวลว่าอาจถูกตีความว่าอาเซียนให้การรับรองผู้นำทหารเมียนมา กัมพูชาแสดงออกว่าไม่ต้องการโดดเดี่ยวเมียนมา แต่ผู้นำสมาชิกอาเซียนอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์กดดัน ไม่ให้ยอมอ่อนข้อให้แก่เมียนมา.-สำนักข่าวไทย
โซล 3 ม.ค.- ประธานาธิบดีมุน แจอินของเกาหลีใต้รับปากจะใช้หลายเดือนที่เหลืออยู่ของการบริหารประเทศผลักดันให้เกิดความสำเร็จทางการทูตกับเกาหลีเหนือ ประธานาธิบดีมุนกล่าวสุนทรพจน์ในวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปีในเดือนพฤษภาคมว่า รัฐบาลของเขาจะเดินหน้าหาทางสถาปนาความสัมพันธ์ระดับปกติระหว่างสองเกาหลี และเดินหน้าเส้นทางการมุ่งไปสู่สันติภาพที่ไม่มีวันย้อนกลับ หวังว่าความพยายามให้เกิดการเจรจานี้จะได้รับการสานต่อจากรัฐบาลชุดใหม่ด้วย เขายอมรับว่า เรื่องนี้ต้องใช้เวลาอีกนาน แต่หากความสัมพันธ์สองเกาหลีเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ประชาคมโลกก็จะเจริญรอยตาม และว่าการที่เขาสามารถเอื้อมมือไปถึงเกาหลีเหนือได้ เป็นผลจากการสั่งสมศักยภาพกองทัพขนานใหญ่ เพราะสันติภาพจะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีความมั่นคงที่แข็งแกร่ง ผู้นำเกาหลีใต้วัย 68 ปี ประชุมสุดยอดกับคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือวัย 37 ปี ในปี 2561 ถึง 3 ครั้ง แต่การเจรจาหยุดชะงักไป เพราะประชาคมโลกต้องการให้เกาหลีเหนือยุติโครงการอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่เกาหลีเหนือต้องการให้สหรัฐและเกาหลีใต้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรและยุตินโยบายเป็นปรปักษ์ และในการกล่าวสุนทรพจน์วันส่งท้ายปีเก่าที่ผ่านมา ผู้นำเกาหลีเหนือไม่ได้กล่าวถึงข้อเรียกร้องของผู้นำเกาหลีใต้เรื่องประกาศยุติสงครามเกาหลีอย่างเป็นทางการ หรือเรื่องการเจรจานิวเคลียร์กับสหรัฐที่ชะงักงัน.-สำนักข่าวไทย
ริยาด 14 ธ.ค.- ผู้นำชาติสมาชิกกลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับหรือจีซีซี (GCC) จะประชุมสุดยอดประจำปีในวันนี้ เพื่อแสดงถึงความกลมเกลียว หลังจากเกิดรอยร้าวลึกภายในกลุ่ม ขณะที่ภูมิภาคนี้มีความกังวลเรื่องอิหร่านและเกิดการแข่งขันกันเองระหว่างสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบียตระเวนเสด็จเยือนชาติสมาชิกจีซีซีก่อนการประชุมสุดยอด ซึ่งจัดขึ้นเกือบหนึ่งปี หลังจากซาอุดีอาระเบียและประเทศนอกจีซีซีอย่างอียิปต์ยุติการคว่ำบาตรกาตาร์นาน 3 ปี 6 เดือน แต่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีและบาห์เรนยังไม่ฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ ซึ่งอยู่ในจีซีซีด้วยกัน สื่อซาอุดีอาระเบียรายงานว่า มกุฎราชกุมารทรงมีพระประสงค์จะตอกย้ำเรื่องความสามัคคีของจีซีซี ในช่วงที่ชาติมหาอำนาจหาทางฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน ทำให้จีซีซีไม่แน่ใจในบทบาทของสหรัฐที่มีต่อภูมิภาคนี้ รอยเตอร์ตั้งข้อสังเกตว่า ซาอุดีอาระเบียและยูเออีพยายามข้องเกี่ยวกับอิหร่านเพื่อจำกัดความตึงเครียด เพราะกังวลเรื่องโครงการนิวเคลียร์ ขีปนาวุธ และการทำสงครามตัวแทนของอิหร่าน ขณะเดียวกันยังได้ปรับเปลี่ยนนโยบายจากที่เคยแข็งกร้าว ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามเยเมนและเป็นแกนนำคว่ำบาตรกาตาร์ มาเป็นนโยบายประนีประนอมมากขึ้น หวังดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และเอาใจรัฐบาลโจ ไบเดนของสหรัฐ นอกจากนี้ยูเออียังได้เดินหน้าปรับปรุงความสัมพันธ์กับอิหร่านและตุรกี และกลับไปข้องเกี่ยวกับซีเรียอีกครั้ง อีกทั้งยังเป็นชาติแรกในจีซีซีที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลเมื่อปี 2563.-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 29 พ.ย.- แหล่งข่าวในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเผยว่า สหรัฐกำลังเตรียมการเรื่องเชิญผู้นำชาติสมาชิกอาเซียนไปประชุมสุดยอดที่กรุงวอชิงตันในเดือนมกราคมปีหน้า เว็บไซต์สำนักข่าวเกียวโดรายงานอ้างแหล่งข่าวในอาเซียนว่า การประชุมสุดยอดดังกล่าวจะเป็นการพบหน้ากันโดยตรงครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐและผู้นำสมาชิกอาเซียน หลังจากที่เพิ่งประชุมสุดยอดแบบออนไลน์กันเมื่อปลายเดือนตุลาคม ครั้งนั้นไบเดนรับปากจัดสรรความช่วยเหลืออาเซียนมูลค่า 102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,441 ล้านบาท) แหล่งข่าวเผยว่า สหรัฐเสนอจัดการประชุมในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคมปีหน้า และกำลังประสานเรื่องวันที่กับอาเซียน แต่คงจะไม่เชิญ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำเมียนมา และก่อนหน้านั้นนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐจะเยือนอาเซียนบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ไทย ในเดือนธันวาคม เกียวโดตั้งข้อสังเกตว่า สหรัฐเตรียมการประชุมสุดยอดดังกล่าว ในช่วงที่จีนกำลังกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนอาเซียนและจีนตกลงยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน” (comprehensive strategic partnership) ระหว่างการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษแบบออนไลน์ ฉลองครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์อาเซียนและจีน ซึ่งมีประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเข้าร่วมการประชุม ทั้งที่ปกติแล้วจะเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง.-สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 24 พ.ย.- ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐเชิญไต้หวันเข้าร่วมการประชุมสุดยอดประชาธิปไตยร่วมกับประเทศต่าง ๆ มากกว่า 100 ประเทศ โดยไม่มีจีนร่วมด้วย การประชุมสุดยอดประชาธิปไตยครั้งแรกจะจัดขึ้นแบบออนไลน์ในวันที่ 9-10 ธันวาคม ก่อนที่จะมีการประชุมแบบพบหน้าในปีหน้า ประธานาธิบดีไบเดนรับปากจะจัดการประชุมนี้เพราะถือว่า การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลประชาธิปไตยกับรัฐบาลเผด็จการคือหัวใจสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเขา สหรัฐประชาสัมพันธ์เรื่องการประชุมมานานแล้ว แต่เว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศเพิ่งเปิดเผยรายชื่อประเทศที่จะเชิญเข้าร่วม ไม่มีชื่อจีนและรัสเซีย แต่มีชื่อไต้หวัน ที่สหรัฐไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นประเทศอิสระ แต่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง จูเลียน คู อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮอฟสตราในสหรัฐตั้งข้อสังเกตผ่านทวิตเตอร์ว่า เห็นด้วยว่าไต้หวันมีความเหมาะสม แต่ดูเหมือนจะเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยรัฐบาลเดียวที่สหรัฐเชิญร่วมประชุมทั้งที่ไม่ได้ให้การรับรองอย่างเป็นทางการ การเชิญไต้หวันครั้งนี้จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีสำรวจรายชื่อประเทศที่ได้รับเชิญ ทั้งที่ถูกวิจารณ์หรือมีปัญหาเรื่องประชาธิปไตย เช่น อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล อิรัก บราซิล โปแลนด์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย ไนเจอร์.-สำนักข่าวไทย
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐและประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนปิดฉากการประชุมสุดยอดแบบออนไลน์ครั้งแรกแล้ว ประเด็นหารือหลักเป็นเรื่องไต้หวัน ซินเจียงและฮ่องกง
วอชิงตัน/ปักกิ่ง 16 พ.ย. – ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ได้เริ่มการประชุมสุดยอดแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ที่มุ่งเป้าแก้ไขความตึงเครียดเรื่องไต้หวันและประเด็นขัดแย้งอื่น ๆ โดยที่ผู้นำสหรัฐระบุว่า ทั้งสองฝ่ายควรพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การประชุมสุดยอดแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ของประธานาธิบดีไบเดนและประธานาธิบดีสีเปิดฉากขึ้นในวันนี้เมื่อเวลา 07.45 น. ตามเวลาในไทย หรือตรงกับเวลา 19.45 น. ของวันจันทร์ตามเวลาตะวันออกของสหรัฐ โดยที่ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวกับประธานาธิบดีสีว่า ทั้งสองประเทศต้องการ “ราวกั้น” เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความขัดแย้ง และหวังว่าการประชุมในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีไบเดนให้คำมั่นว่าจะจัดการเกี่ยวกับประเด็นที่สหรัฐวิตกกังวล เช่น ปัญหาสิทธิมนุษยชนและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีสีได้กล่าวกับประธานาธิบดีไบเดนว่า จีนกับสหรัฐต้องปรับปรุงการสื่อสารและเผชิญกับความท้าทายร่วมกัน ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นเรื่องไต้หวันและประเด็นความขัดแย้งอื่น ๆ ทั้งยังระบุว่า เขารู้สึกยินดีที่ได้พบกับ “มิตรเก่า” อย่างประธานาธิบดีไบเดนอีกครั้ง และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้นำสหรัฐเช่นกัน การประชุมสุดยอดในครั้งนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐเข้าร่วมหลายคน เช่น นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ นายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และนายเคิร์ต แคมป์เบลล์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายทวีปเอเชียของประธานาธิบดีไบเดน ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เช่น นายหลิว เหอ […]
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า การตัดสินใจของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนที่จะไม่เขิญผู้นำรัฐบาลทหารของเมียนมาเข้าร่วมประชุมสุดยอดถือว่ามีนัยสำคัญมากแต่อาเซียนจำเป็นต้องดำเนินการมากกว่านี้เพื่อแก้ปัญหาที่เมียนมาต้องเผชิญหลังจากรัฐประหารเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
เมียนมาแสดงความผิดหวังที่สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ตัดสินใจโดยไม่ได้รับฉันทามติ เรื่องเชิญตัวแทนเมียนมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดปลายเดือนนี้ และรู้มาว่าเป็นเพราะถูกกดดันจากสหรัฐและยุโรป
บรูไน กล่าววันนี้ว่า ผู้แทนจากเมียนมา จะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำชาติสมาชิกประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนที่จะมีขึ้นในเดือนนี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการกันมิให้ผู้นำรัฐบาลทหารที่ก่อรัฐประหารในเมียนมาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
รัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกประชาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนจะหารือกันในวันศุกร์เกี่ยวกับแนวทางที่จะไม่เชิญพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารของเมียนมาเข้ารวมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน