กรมการแพทย์แจงข่าวปลอมแนวทางการรักษาคนไข้โควิด-19

อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงข่าวปลอมอ้างแนวทางการรักษาคนไข้โควิด-19 ของกรมการแพทย์ ไม่มีการปั๊มหัวใจใดๆ ไม่มีการสอบถามญาติถึงความต้องการในการช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ข้อความต่อ ระบุแนวทางการรักษาที่เชื่อถือได้ สามารถดูได้จากเว็บไซต์กรมการแพทย์

กรมการแพทย์ ห่วงสถานการณ์เตียงโรคโควิด ในเขต กทม.

กรมการแพทย์ ชี้แจงสถานการณ์เตียงโรคโควิด-19 ในเขต กทม.น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโควิดสีเหลืองและสีแดง

รับผู้สูงวัย- 7 กลุ่มโรคในระบบหมอพร้อม กทม.ฉีดวัคซีนศูนย์บางซื่อ

สธ.แจงรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคในระบบ “หมอพร้อม” กทม.มาฉีดที่สถานีกลางบางซื่อ เป็นแผนสำรองและมีจำนวนน้อย ย้ำต้องติดต่อ รพ.ที่นัดหมายก่อนว่าถูกเลื่อนจริง

แพทย์เผยแม่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถให้นมบุตรได้

กรมการแพทย์ เผยแม่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ เพราะเชื้อโควิด-19 ไม่ติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ แต่จะต้องป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด

สธ.ห่วงผู้ป่วยเพิ่มสูง บริหารเตียงยาก

อธิบดีกรมการแพทย์ ห่วงจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นสูงบริหารเตียงยาก ประสาน รร.แพทย์ รพ.สังกัด กทม. ขยายเตียงไอซียูเพิ่มอีก1เท่า รองรับผู้ป่วยเพิ่มแบบนี้ได้ 20 วัน วอนทุกคนช่วยอยู่บ้านลดการติดเชื้อ แจงปัญหารอเตียงส่วนใหญ่เพราะตรวจแล็บติดเชื้อไม่แจ้งผ่านระบบ ทำให้คนป่วยรู้ตัว แต่ รพ.ไม่รู้เรื่อง

กรมการแพทย์ แจงการทำงานสายด่วน1668

สธ.22เม.ย.-อธิบดีกรมการแพทย์ วอนเข้าใจโทรไม่รับ 1668 เพราะต้องใช้แพทย์พยาบาลเจียดเวลามาตรวจสอบซักอาการ 1คน ใช้เวลา 20-30 นาที สามารถเคลียร์คนตกค้างในระบบได้รับเตียงแล้ว1,300เตียงเหลือ 400 คน ยังไม่ได้ ส่วนใหญ่เพราะไปตรวจที่แล็บคลินิกเอกชนที่ยังไม่ได้จับคู่สถานพยาบาลและยังพบปัญหาแล็บไร้มาตรฐาน ตรวจผลบวกลวงนับ 10 คน ทำให้ต้องไปรวมกับคนป่วยใน รพ.สนาม ส่วนคนชอบดราม่า หากป่วยส่งให้ รพ.สนามกลาโหมดูแล นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงชี้แจงกรณีปัญหาสายด่วน 1668 บริหารจัดการเตียง ว่า การดำเนินของสายด่วน 1668 เริ่มดำเนินการมา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 เมษายน โดยมีทั้งหมด 20 คู่สาย เพื่อให้บริการจัดหาเตียงกับผู้ป่วยที่จัดไม่สามารถเข้าระบบ เนื่องจากมีการตรวจหาเชื้อโควิด ในแล็บคลินิกเอกชนและยังไม่มีการประสานหาเตียงให้ผู้ป่วย ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถจัดหาเตียงให้ผู้ป่วยได้แล้ว 1,300เตียง เหลือตกค้าง 400 คน อยู่ระหว่างรอเตียง จากผู้โทรศัพท์เข้ามาปรึกษาของเตียง 3,000 สาย โดยผู้ที่โทรมา มีทั้งที่เป็นผู้ป่วยและญาติ ที่ร้อนใจ […]

กรมการแพทย์ยังไม่ใช้โมเดลรักษาผู้ป่วยโควิดที่บ้าน

กรมการแพทย์ยืนยันยังไม่ใช้โมเดลรักษาผู้ป่วยโควิดที่บ้าน เป็นการเตรียมการไว้กรณีฉุกเฉิน เกินขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ขณะนี้มีเตียงสำรองรองรับผู้ป่วยเหลือ 3,023 เตียง

กรมการแพทย์-สปสช.ไม่ทอดทิ้งผู้ติดเชื้อโควิด-19 รอจัดหาเตียงให้

กรมการแพทย์ จับมือ สปสช. ให้สายด่วน 1668 และ 1330 โทรติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ที่อยู่ระหว่างรอการประสานจัดหาเตียงทุกวัน จนกว่าจะหาเตียงให้ได้ เริ่มตั้งแต่ 17 เม.ย. ย้ำผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ต้องกังวล ไม่ถูกทอดทิ้งแน่นอน

สธ.ยันเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด กทม.-ปริมณฑล เพียงพอ

สธ.ยืนยันเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีเพียงพอ วอนอย่าเพิ่งเรียกร้องห้องพิเศษ ขอให้นำตัวเข้ามารักษาในระบบก่อนจะดีที่สุด

แผน รพ.สังกัดกรมการแพทย์ดูแลช่วงโควิด

สำนักข่าวไทย 9 เม.ย.-อธิบดีกรมการแพทย์ เผยใช้แผนคงกิจการ บริการจัดการดูแลผู้ป่วย หลัง รพ.ราชวิถีมีบุคลากรติดเชื้อโควิด 10 คนและที่ผ่านมาใช้ระบบสุ่มตรวจโควิดในแพทย์พยาบาลที่สมัครใจ ที่ผ่านมาไม่คนติดเชื้อ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณีการพบบุคลากรทางการแพทย์ ที่ รพ.ราชวิถีติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 10 คน ว่า การพบผู้ติดเชื้อที่ รพ.ราชวิถี ไม่ใช่แพทย์ทั้งหมด มีแพทย์ประมาณ 3-4 คน ที่เหลือเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากการใช้ชีวิตส่วนตัว ทั้งนี้ กรมการแพทย์ ได้มีการนำเรื่องแผนคงกิจการ ช่วงโควิดมาใช้ โดยแบ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ออกเป็น 2 ผลัด เป็นกลุ่มเอและบี หมุ่นเวียนสลับ กันทำงาน เพื่อให้งานด้านการดูแลผู้ป่วยสามารถขับเคลื่อนไปได้ พร้อมแบ่งบุคลากรที่ติดเชื้อออกเป็น สัมผัสเสี่ยง สูง เสี่ยงปานกลางและเสี่ยงต่ำ คนที่ที่เสี่ยงเสี่ยงสูงให้กักตัวดูอาการ และแยกเช็คประวัติว่ามีการสัมผัสกับคนไข้หรือไม่ และให้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 31 แห่ง ใช้มาตรการนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 พร้อมกันนี้ยังเพิ่มการสุ่มตรวจหาโควิด ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสมัครใจอีกด้วยเพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่พบบุคลากรติดเชื้อ.-สำนักข่าวไทย

เตือน “สมุนไพรขันทองพยาบาท ใช้รักษามะเร็ง”

สถาบันมะเร็งฯ 23 มี.ค.-ตามที่มีกระแสข่าวทางสื่อออนไลน์ โดยระบุว่า “ขันทองพยาบาทรักษาโรคมะเร็งได้หายขาด” สถาบันมะเร็งฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขันทองพยาบาท เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น จากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า การรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ .-สำนักข่าวไทย

1 11 12 13 14 15 25
...