fbpx

ข้อมูลเท็จ “น้ำปั่นใบไม้สด-ผักสดไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็ง”

กรมการแพทย์ 13 ส.ค.-สถาบันมะเร็งฯ แจงข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับประเด็น “น้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็ง” ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรณีมีคำแนะนำว่าวิธีรักษามะเร็งด้วยการดื่มน้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ได้แก่ ใบบัวบก ใบตำลึง ใบมะยม ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบชะมวง ใบมันปู ใบโหระพา ใบกระเจี๊ยบแดง ใบเม่า ใบเตย ใบข่า ผลมะระขี้นก และมะเขือเทศราชินี ที่ไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็งนั้น จากการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่าพืชผักดังกล่าวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง แต่ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันผลการรักษามะเร็งด้วยการดื่มน้ำปั่นใบไม้สดและผักสด นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า อาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพร อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และอาจมีส่วนในการป้องกันมะเร็งได้ เช่น สารเบต้าแคโรทีน สารไลโคปีน สารฟลาโวนอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบการป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งนั้น ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งยังไม่มีรายงานผลทางคลินิกเกี่ยวกับปริมาณรับประทานที่สามารถป้องกันมะเร็งได้ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณา หรือตรวจสอบอาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ง่าย จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวและขอความร่วมมือไม่ส่ง […]

“โครงการราชทัณฑ์ปันสุข” รักษาผู้ต้องขังแล้ว 16 ราย

กรมการแพทย์ 7 ส.ค.-กรมการแพทย์ ร่วมกรมราชทัณฑ์ เดินหน้าโครงการราชทัณฑ์ปันสุข เผยตั้งแต่เดือน มี.ค.ถึงปัจจุบัน รักษาผู้ต้องขังเจ็บป่วยโรคทางระบบประสาทไปแล้ว 16 ราย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ซึ่งเป็นหนึ่งความร่วมมือระหว่างกรมราชทัณฑ์และกรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เพื่อให้ผู้ต้องขังที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคทางระบบประสาทได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานและทันท่วงที โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงปัจจุบัน มีผู้ต้องขังได้รับบริการด้านโรคระบบประสาทไปแล้วทั้งสิ้น 16 ราย จากผู้ต้องขังที่รับบริการจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในสังกัดกรมการแพทย์ 125 ราย นพ.ธานินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา ยกตัวอย่างผู้ต้องขัง 2 รายที่ได้รับการรักษาที่สถาบันประสาทวิทยาและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังได้รับการรักษา ผู้ป่วยรายแรกเป็นผู้ต้องขังหญิงอายุ 41 ปี มีอาการปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง หมดสติ ตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง และมีภาวะสมองบวมจากการกดเบียดของตัวเนื้องอก ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาและผ่าตัดที่สถาบันประสาทวิทยา จนสามารถกลับไปเดินได้ใกล้เคียงกับปกติ และประสานส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยการฉายแสงต่อไป ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นผู้ต้องขังชายอายุ 55 ปี มีอาการอ่อนแรงแขนขาข้างขวา และไม่พูด ตรวจพบว่ามีอาการเส้นเลือดสมองอุดตันทำให้เกิดเนื้อสมองขาดเลือดและมีอาการบวมของสมองด้านซ้าย และกดเบียดเนื้อสมองด้านขวา ผู้ป่วยได้รับการประสานส่งต่อเพื่อตรวจรักษาที่สถาบันประสาทวิทยาได้รับการรักษาด้วย การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เพื่อลดอาการบวมและภายหลังได้ให้ยาต้านเกล็ดเลือดทำกายภาพบำบัดจนสามารถถอดท่อ […]

“มะเร็งไทรอยด์” ตรวจพบเร็ว โอกาสหายสูง

กรมการแพทย์ 4ส.ค.-แพทย์เผยมะเร็งไทรอยด์ พบในเพศหญิงมากกว่าชาย จัดอยู่ในอันดับ 7 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในเพศหญิง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด หลายปัจจัยเสี่ยง เช่น ได้รับรังสีบริเวณลำคอ-ต่อมไทรอยด์-ขาดธาตุอาหารไอโอดีน และมีประวัติคนในครอบครัวเป็น นพ.สมศักดิ์ อรรมศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์รายใหม่ประมาณ 2,800 ราย ส่วนใหญ่จะพบมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จัดอยู่ในอันดับ 7 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในเพศหญิง ส่วนในเพศชายแม้จะพบน้อยกว่าแต่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคเช่นกัน เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ และพัฒนาเป็นก้อนมะเร็งขึ้น และอาจจะขยายโตขึ้นเรื่อยๆ สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่ามะเร็งไทรอยด์เกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยง เช่น การได้รับรังสีบริเวณลำคอหรือบริเวณต่อมไทรอยด์ เคยเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ขาดธาตุอาหารไอโอดีน หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น มะเร็งไทรอยด์ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อเซลล์มะเร็งเจริญ เติบโตขึ้น ผู้ป่วยอาจคลำพบก้อนนูนใต้ผิวหนังบริเวณกึ่งกลางลำคอ ซึ่งอาจพบเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และอาจพบอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เสียงแหบ หายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงหวีด กลืนลำบากหรือรู้สึกเจ็บขณะกลืน เจ็บบริเวณลำคอ ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอบวม ด้าน นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า […]

กรมการแพทย์จัดประชุมใหญ่ ร่วม “ระยองคลีน ระยองเคลียร์”

กรมการแพทย์ 31 ก.ค.- กรมการแพทย์ นำคณะผู้บริหารประชุมใหญ่ที่ จ.ระยอง สร้างความมั่นใจ พร้อมชวนชาวไทยส่งใจให้ชาวระยอง “ระยองคลีน ระยองเคลียร์” นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจพร้อมเชิญชวนชาวไทยส่งใจให้ชาวระยอง โดยมีจัดการประชุมใหญ่ที่มีผู้บริหารกรมการแพทย์ จำนวนประมาณ 200 คน เข้าร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 2 – 4 สิงหาคม 2563 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนที่จะเดินทางมาจังหวัดระยอง ได้แก่ จัดการประชุมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กร เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการกรมการแพทย์ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับการแพทย์วิถีใหม่ การเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ นโยบายสำคัญและประเด็นเร่งรัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน และจัดการประชุมผู้บริหารกรมการแพทย์ ครั้งที่ 8/2563 เพื่อติดตามการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงาน ในสังกัดกรมการแพทย์ รวมทั้งตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี เพื่อติดตามความก้าวหน้า New Normal ของหน่วยงานกรมการแพทย์ นับว่าเป็นกิจกรรมที่ส่วนราชการมีส่วนช่วยในการสร้างความมั่นใจตอกย้ำว่า “ระยองคลีน ระยองเคลียร์” .-สำนักข่าวไทย

“มะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคม่า” พบบ่อยเด็ก-วัยรุ่น

แพทย์ชี้โรคมะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคม่า พบบ่อย ในเด็ก วัยรุ่น -ผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 30 ปี แต่มีความชุกที่สุดในผู้ป่วยช่วงอายุ 10-20 ปี

แพทย์ห่วงโรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก แนะผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน

แพทย์ห่วงโรคทางเดินหายใจในเด็กแพร่ระบาดง่ายช่วงฤดูฝน ทั้งไข้หวัดใหญ่-ไข้ไวรัส RSV-ปอดบวม-มือเท้าปาก แนะผู้ปกครองดูแลให้สวมหน้ากากอนามัย-ล้างมือบ่อยๆ-ออกกำลังกาย

แพทย์เตือนระวัง “แมงมุมพิษ” 5 ชนิด

แพทย์เตือนประชาชนระวัง 5 แมงมุมพิษ “แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล-แมงมุมแม่ม่ายหลังแดง-แมงมุมมีพิษสีน้ำตาล-แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน-แมงมุมแม่ม่ายดำ”

“ภูมิแพ้ผิวหนัง” ยังไม่มีวิธีรักษาหายขาด ดูแลถูกวิธีช่วยลดรุนแรง

แพทย์ผิวหนังชี้โรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคเรื้อรัง ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยมักมีประวัติภายในครอบครัวเป็นภูมิแพ้แบบต่างๆ

แพทย์เตือนติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงชีวิต

กรมการแพทย์ เตือนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง นำไปสู่ภาวะอวัยวะล้มเหลวและอาจทำให้เสียชีวิตได้

“ภาวะหัวใจล้มเหลว” เกิดขึ้นได้แม้ร่างกายแข็งแรง

แพทย์เผยภาวะหัวใจล้มเหลว คนอายุน้อยร่างกายแข็งแรง ก็เกิดได้ แนะหากมีอาการ หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย มีอาการบวมตามอวัยวะ อย่าละเลย ควรรีบพบแพทย์

“มะเร็งโคนลิ้น” ในไทยพบน้อย แต่มีแนวโน้มมากขึ้น

กรมการแพทย์ 12 มิ.ย.-แพทย์เผยมะเร็งโคนลิ้น เป็นส่วนหนึ่งของมะเร็งคอหอยส่วนปาก มีแนวโน้มที่พบมากขึ้นในคนไทย ผู้ป่วยส่วนมากที่เป็นโรคนี้มักจะได้รับการวินิจฉัยในระยะลุกลามแล้ว แนะนำพบแพทย์หากมีอาการกลืนลำบาก กลืนเจ็บ เลือดออกทางช่องปาก ปวดหู พูดเสียงเปลี่ยน มีก้อนที่คอ เน้นให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค  นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กล่าวว่า ทางการแพทย์ถือว่ามะเร็งโคนลิ้นเป็นส่วนหนึ่งของมะเร็งคอหอยส่วนปากหรือ ที่เรียกว่ามะเร็งคอหอยหลังช่องปาก แม้ขณะนี้จะพบมะเร็งดังกล่าวได้น้อยในคนไทย  โดยในปี 2558 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งคอหอยส่วนปากรายใหม่ 674 ราย ซึ่งถือว่าน้อยถ้าเทียบกับจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั้งหมด ซึ่งมีปีละ 122,757 ราย แต่ก็พบว่ามีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยชนิดของมะเร็งคอหอยส่วนปากที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งชนิด Squamous cell carcinoma ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับมะเร็งศีรษะและลำคอที่พบมากที่สุด  ส่วนสาเหตุของการเกิดมะเร็งคอหอยส่วนปากนั้น เกิดจากการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น การมีคู่นอนหลายคนและการมีเพศสัมพันธ์ทางปากจึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคนี้ด้วย นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเกี่ยว กับอาการของมะเร็งคอหอยส่วนปากว่า […]

1 12 13 14 15 16 25
...