ชัวร์ก่อนแชร์: RNA ในวัคซีน mRNA เข้าสู่นิวเคลียสและจีโนมของมนุษย์ได้ จริงหรือ?

13 พฤษภาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. เป็นการบิดเบือนงานวิจัยโดยสื่อต่อต้านวัคซีน
  2. งานวิจัยไม่ได้ระบุว่ามี DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของวัคซีนเข้าไปอยู่ในนิวเคลียส
  3. เป็นการทดลองกับเซลล์เพาะเลี้ยงของผู้ป่วยมะเร็ง ผลลัพธ์จึงไม่อาจเทียบกับผู้รับวัคซีนทั่วไปได้

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดย Epoch Times เว็บไซต์ที่มีประวัตินำเสนอเนื้อหาต่อต้านวัคซีนโควิด-19 อ้างว่า พบงานวิจัยที่ยืนยันว่า RNA ในวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA สามารถแทรกซึมเข้าสู่นิวเคลียสภายในเซลล์ของผู้รับวัคซีน นอกจากนี้ RNA จากวัคซีนยังถูกสังเคราะห์ให้กลายเป็น DNA และรวมเข้ากับจีโนมของผู้รับวัคซีน เป็นประเด็นที่หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) และหน่ายงาน Fact Checker ทั่วโลกต่างปฎิเสธมานาน

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


งานวิจัยที่ Epoch Times กล่าวอ้าง เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Lund University ในประเทศสวีเดน ตีพิมพ์ทางวารสารงานวิจัย MDPI เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2022 โดย มาร์คัส อัลเดนและคณะ ได้นำวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer-BioNTech ขนาด 0.5, 1 และ 2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไปทดลองกับเซลล์เพาะเลี้ยงตับมนุษย์ที่ป่วยเป็นมะเร็ง (Huh7)

สิ่งที่ทีมวิจัยตรวจสอบคือ ปริมาณของ LINE1 (long interspersed nuclear elements 1) ซึ่งเป็นยีนที่สามารถเคลื่อนที่บนสายของจีโนม (jumping genes) และทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงการจัดลำดับจีโนมในร่างกาย โดยมนุษย์มียีน LINE1 อยู่ถึง 17%

การเปลี่ยนแปลงการจัดลำดับจีโนมโดย LINE1 เกิดขึ้นเมื่อมีการทำงานร่วมกับเอ็นไซม์ Reverse Transcriptase (RT) ซึ่งมีหน้าที่สังเคราะห์ DNA โดยใช้ RNA เป็นแม่แบบ ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Reverse Transcription

การสำรวจของทีมวิจัยพบว่า เซลล์เพาะเลี้ยงที่ทดลองกับวัคซีน mRNA มีปริมาณ LINE1 เพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบ DNA ที่เกิดจากการสังเคราะห์ RNA อีกด้วย ทีมวิจัยจึงสรุปว่า การที่วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง DNA ภายในเซลล์ Huh7 ทำให้เกิดความกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech อาจทำการเปลี่ยนแปลงจีโนมของผู้รับวัคซีน และส่งผลเสียต่อยีนของผู้รับวัคซีนในอนาคต แม้จะไม่อาจรู้ได้ว่า DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA จะเข้าไปอยู่ในจีโนมได้หรือไม่

อย่างไรก็ดี การที่ Epoch Times อ้างว่าผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า RNA จากวัคซีน mRNA เข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ได้ เป็นการบิดเบือนผลการทดลอง เพราะผลวิจัยไม่ได้พบว่า DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA สามารถเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ตามที่กล่าวอ้าง

รีส แพร์รี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิวัฒนาการไวรัส มหาวิทยาลัย University of Queensland แสดงผลการทดสอบจากงานวิจัยด้วยวิธี Immunofluorescence พบว่าปริมาณยีน LINE1 ที่เพิ่มขึ้น จะพบแต่ในส่วนไซโตพลาสซึมของเซลล์ ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่อหุ้มนิวเคลียสของเซลล์ แต่ไม่พบการมีอยู่ของ LINE1 ในนิวเคลียสของเซลล์แม้แต่น้อย

เดวิด กอร์สกี ศัลยแพทย์และนักวิจัยโรคมะเร็ง มหาวิทยาลัย Wayne State University ให้ความเห็นว่า งานวิจัยของมาร์คัส อัลเดนและคณะเป็นการวิจัยกับปรากฏการณ์จำลอง (Artificial) เนื่องจากเซลล์ที่ใช้ในการวิจัยเป็นเซลล์เพาะเลี้ยงให้ห้องปฏิบัติการ และเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งมีปริมาณของ LINE1 มากกว่าเซลล์ปกติของมนุษย์ จึงไม่อาจเปรียบเทียบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเซลล์ของมนุษย์ที่มีสุขภาพแข็งแรงได้

นอกจากนี้ปริมาณวัคซีน mRNA ของ Pfizer-BioNTech ที่ใช้ในการทดลองยังมากกว่าปริมาณที่้ฉีดให้กับคนทั่วไป โดยปริมาณสูงสุดที่ทีมวิจัยใช้คือ 2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และใช้กับเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีจำนวน 2 แสนเซลล์ ส่วนวัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer-BioNTech 1 โดส จะมีปริมาณ mRNA อยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อผู้รับวัคซีน 1 คน

งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Lund University เป็นการต่อยอดงานวิจัยของลิกัว จางและคณะจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่สร้างข้อโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว โดยเผยแพร่ทางวารสารงานวิจัย PNAS เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2021

ทีมวิจัยได้นำเซลล์ไตตัวอ่อนมนุษย์ซึ่งถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการมาเพิ่มปริมาณยีน LINE1 ก่อนจะทำให้เซลล์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลปรากฏว่า DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของไวรัส ถูกพบในจีโนมของเซลล์ และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของไวรัส จะเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื้อของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 เช่นกัน

อย่างไรก็ดี จากการทดลองซ้ำโดยนักวิทยาศาสตร์หลายสำนัก ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจีโนมตามที่ทีมวิจัยกล่าวอ้าง และสรุปว่าการวิจัยของลิกัว จางและคณะ เป็นงานวิจัยกับปรากฏการณ์จำลอง (Artificial) ไม่สามารถอ้างอิงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับวัคซีนจริงๆ โดยผู้เชี่ยวชาญที่ทำการตรวจสอบสรุปว่า โอกาสที่ DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของไวรัส จะเข้าไปอยู่ในจีโนมของผู้ติดเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้นได้ยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/study-lund-university-didnt-show-covid-19-mrna-vaccines-change-dna-epoch-times/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

งานวันเด็ก

วันเด็กทั่วไทยคึกคัก สร้างความสุขและรอยยิ้ม

ผู้ใหญ่ใจดี ทั้งภาครัฐ เอกชน หลายหน่วยงานทั่วประเทศ จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ร่วมสนุก สร้างรอยยิ้มเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568

ดับไฟป่าดงพญาเย็น

ระดมกำลังดับไฟป่า ป่าสงวนแห่งชาติ “เขาลอย” ต่อเนื่อง

กรมป่าไม้ – กรมอุทยานฯ – อบต. พญาเย็น ระดมกำลังดับไฟป่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ “เขาลอย” ต่อเนื่อง โดยปฏิบัติการทั้งทางภาคพื้นและใช้ ฮ. ทิ้งน้ำดับไฟ

นั่งเก้าอี้นายกฯ

ทำเนียบคึกคัก! “น้องพอร์ช” นั่งเก้าอี้นายกฯ คนแรก

ทำเนียบคึกคัก! วันเด็กแห่งชาติ “น้องพอร์ช” วัย 3 ขวบ มาจากเมืองกาญจน์ ตื่นเที่ยงคืน เกาะรั้วทำเนียบตี 3 นั่งเก้าอี้นายกฯ คนแรกสมใจ