ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนผิดวิธี ทำให้เกิดลิ่มเลือด-หัวใจอักเสบ จริงหรือ?

15 กุมภาพันธ์ 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้

บทสรุป:


  1. พบหนูทดลองที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข้าเส้นเลือดป่วยเป็นโรคหัวใจอักเสบ-ลิ่มเลือดอุดตัน
  2. ผู้วิจัยแนะนำให้ทดสอบการฉีดยาก่อนให้วัคซีน (Aspiration) แม้หลายประเทศไม่แนะนำวิธีนี้
  3. ไม่มีหลักฐานว่าอาการที่เกิดกับหนูทดลองจะเกิดขึ้นกับมนุษย์

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อกล่าวอ้างผ่านคลิปวิดีโอทาง Youtube ในสหรัฐอเมริกา โดยชี้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ผิดวิธี จนวัคซีนซึ่งควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อกลับเข้าไปในเส้นเลือดดำโดยไม่ตั้งใจ คือสาเหตุการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและอาการหัวใจอักเสบ

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


ข้ออ้างดังกล่าวนำมาจากผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Clinical Infectious Diseases ของมหาวิทยาลัย Oxford University โดยพบว่าหนูทดลองที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA (Pfizer และ Moderna) เข้าทางเส้นเลือดดำแทนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มีอาการป่วยเป็นโรคหัวใจอักเสบ

นอกจากนี้ งานวิจัยฉบับก่อนการตีพิมพ์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ bioRxiv โดยทีมวิจัยจากประเทศเยอรมนี พบว่าการฉีดวัคซีนชนิดอะดีโนไวรัส เวกเตอร์ (AstraZeneca และ Johnson & Johnson) เข้าทางเส้นเลือดดำแทนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการเกร็ดเลือดต่ำและลิ่มเลือดอุดตันเช่นกัน

งานวิจัยทั้งสองได้ตั้งข้อสันนิฐานว่า หากการฉีดวัคซีนผิดวิธีกระตุ้นให้เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์ ความเสี่ยงเหล่านั้นอาจลดลงได้ หากบุคลากรทางการแพทย์ทดสอบการฉีดยาก่อนให้วัคซีน (Aspiration) เพื่อให้มั่นใจว่าเข็มฉีดยาไม่สัมผัสโดนเส้นเลือดดำโดยไม่ตั้งใจ โดยก่อนฉีดวัคซีนให้คนไข้ควรดึงกระบอกลูกสูบกลับคืน เพื่อทดสอบว่าไม่มีเลือดถูกสูบกลับเข้ามายังกระบอกฉีด เพื่อยืนยันว่าปลายเข็มฉีดยาไม่สัมผัสโดนเส้นเลือดดำ

เฮเลน เพทูซิส แฮริส นักวัคซีนวิทยาและรองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย University of Auckland ประเทศนิวซีแลนด์ อธิบายว่าการทำ Aspiration เป็นวิธีการเพื่อใช้ป้องกันการฉีดวัคซีนเข้าเส้นเลือดดำโดยไม่ตั้งใจ แต่การทดสอบที่ผ่านมาแทบไม่พบว่ามีเลือดถูกสูบกลับมายังกระบอกฉีด บุคลาการทางการแพทย์จำนวนมากจึงเลิกใช้วิธีนี้ไปในที่สุด

สอดคล้องกับหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ที่ไม่แนะนำการ Aspiration ก่อนฉีดวัคซีน ส่วนองค์การอนามัยทวีปอเมริกา (PAHO) ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ไม่แนะนำให้ทำ Aspiration ระหว่างฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลต่างๆ อาทิ เพิ่มความเจ็บปวดของผู้รับวัคซีน, เป็นการสูญเสียวัคซีน รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้ฉีดวัคซีนไม่ใช่จุดที่มีหลอดเลือดใหญ่ที่ทำให้เสี่ยงต่อการฉีดเข้าเส้นเลือด

เลโอ นิโคไล นักหทัยวิทยาจากมหาวิทยาลัย Ludwig Maximilian University of Munich หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีดวัคซีนอะดีโนไวรัส เวกเตอร์เข้าเส้นเลือดดำ ยอมรับว่าผลการวิจัยซึ่งทดสอบกับหนูทดลอง ยังไม่อาจยืนยันได้ว่าอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับมนุษย์

เฮเลน เพทูซิส แฮริส ตั้งข้อสังเกตว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มผู้ชายอายุน้อย จึงยังไม่ชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนเข้าเส้นเลือดโดยไม่ตั้งใจมีผลต่ออาการข้างเคียงจากวัคซีนมากน้อยแค่ไหน

อย่างไรก็ดี ยังมีหลายประเทศรวมถึงประเทศเดนมาร์กที่แนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์ทำ Aspiration ก่อนการฉีดวัคซีนโควิด 19

เฮเลน เพทูซิส แฮริสและเลโอ นิโคไล ให้ข้อเสนอแนะว่า ในอนาคตควรมีการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างประเทศที่แนะนำให้ใช้การ Aspiration ก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 และประเทศที่ไม่ใช้วิธี Aspiration เพื่อสำรวจว่าวิธีไหนลดการเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 มากกว่ากัน เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการฉีดวัคซีนในอนาคต

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/incorrect-vaccine-administration-is-a-potential-cause-of-post-vaccine-adverse-effects-but-more-research-is-still-needed-to-confirm-or-reject-this-hypothesis/

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง