ชัวร์ก่อนแชร์: แพทย์อังกฤษอ้างวัคซีนป้องกันโควิดแค่ 8 สัปดาห์ จริงหรือ?

08 กุมภาพันธ์ 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Fullfact (สหราชอาณาจักร)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. งานวิจัยพบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเดลต้าได้อย่างน้อย 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน
  2. การอุบัติของไวรัสโอไมครอนเพิ่มโอกาสติดเชื้อโควิด 19 ไม่ว่าจะเคยฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อโควิดมาก่อนก็ตาม

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง YouTube ในสหราชอาณาจักร เมื่อ ดร.สตีฟ เจมส์ แพทย์ประจำโรงพยาบาล King’s College Hospital โต้แย้งแผนบังคับให้บุคลากรทางการแพทย์ฉีดวัคซีนโควิด 19 ด้วยการด้อยค่าวัคซีนโควิด 19 ว่ามีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อแค่ 8 สัปดาห์ และภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโควิด 19 ก็มีประสิทธิผลเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนอีกด้วย

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มกราคมปี 2022 เมื่อ ซาจิด จาวิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลสังคมของสหราชอาณาจักร เดินทางไปยังโรงพยาบาล King’s College Hospital เพื่อสอบถามความเห็นบุคลากรทางการแพทย์เรื่องนโยบายให้เจ้าหน้าที่ด่านหน้าของระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทุกคน ส่งผลให้ ดร.สตีฟ เจมส์ วิสัญญีแพทย์ของ King’s College Hospital แสดงความเห็นโต้แย้งว่า ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยังมีไม่มากพอที่จะสนับสนุนประโยชน์ของการบังคับให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องฉีดวัคซีนทุกคน โดย ดร.สตีฟ เจมส์ ยอมรับตนเองไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่ต้องการฉีดวัคซีน แต่ตัวเขามีแอนติบอดีจากการติดเชื้อโควิด 19 มาก่อน ซึ่งมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อพอๆ กับวัคซีน และย้ำว่าวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเดลต้าได้แค่ 8 สัปดาห์ และยิ่งน้อยกว่าเมื่อต้องเผชิญกับไวรัสโอไมครอน

คลิปวิดีโอการโต้แย้งของ ดร.สตีฟ เจมส์ ถูกอัพโหลดทางช่อง YouTube ของสำนักข่าว Sky News และทำยอดวิวเกือบ 2.5 ล้านวิวใน 10 วัน และมีผู้แสดงความเห็นเกือบ 2 หมื่นคอมเมนต์

แม้การแสดงความเห็นของ ดร.สตีฟ เจมส์ จะทำให้เขาได้รับความนิยมจากผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนอย่างมาก แต่ข้อมูลที่นำมาโต้แย้งล้วนไม่เป็นไปตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแม้แต่ตัวเขาเองก็ออกมายอมรับผิดในภายหลัง

สำนักข่าว BBC รายงานว่า ดร.สตีฟ เจมส์ ยอมรับว่าความเห็นที่ว่าวัคซีนโควิด 19 ว่ามีประสิทธิผลป้องกันไวรัสเดลต้า แค่ 8 สัปดาห์ไม่ถูกต้อง เพราะมีการศึกษาที่พบว่าวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดลต้าได้ถึง 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน

การศึกษาพบว่า หลังผ่านไป 12 สัปดาห์ ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca แบบครบโดส มีโอกาสแพร่เชื้อโควิด 19 น้อยกว่าผู้ไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เพียงแค่ 2% ตรงข้ามกับผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer BioNTech แบบครบโดส เมื่อผ่านไปแล้ว 12 สัปดาห์ โอกาสในการแพร่เชื้อยังน้อยกว่าผู้ไม่ฉีดวัคซีนถึง 24%

เป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานแค่ไหน แต่ ดร.ปีเตอร์ อิงลิช อดีตบรรณาธิการวารสาร Vaccines in Practice ชี้แจงว่า ถึงแม้ประสิทธิผลของวัคซีนจะลดลงตามเวลา แต่การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะทำให้ร่างกายมีระดับแอนติบอดีมากกว่าการฉีดโดสที่ 2 แบบทวีคูณ และคงต้องใช้เวลานานกว่าแอนติบอดีจะกลับมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ โดย ดร.ปีเตอร์ อิงลิช ยอมรับว่า ต่อให้การฉีดวัคซีนลดโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ได้เพียงครึ่งเดียว การฉีดวัคซีนก็ยังมีความจำเป็นอย่างมาก

รายงานสรุปล่าสุดของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) ได้ตรวจสอบประสิทธิศักย์การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในสหราชอาณาจักร พบว่า หลังฉีดวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ไปแล้ว 20 สัปดาห์ ประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันไวรัสโอไมครอนจะหายไป ส่วนผู้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ของ Pfizer และ Moderna ประสิทธิผลของวัคซีนจะยังคงเหลืออยู่ประมาณ 10% หลังผ่านไปแล้ว 20 สัปดาห์

ส่วนประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะลดลงอยู่ระดับ 40% ถึง 50% หลังจากเวลาผ่านไป 10 สัปดาห์

อีกความเข้าใจผิดของ ดร.สตีฟ เจมส์ คือการอ้างว่าแอนติบอดีจากการติดเชื้อโควิด 19 มีค่าเท่ากับการฉีดวัคซีน เพราะถึงแม้จะมีแอนติบอดีจากการติดเชื้อโควิด 19 แล้ว แต่ไวรัสโอไมครอนซึ่งสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าทุกสายพันธุ์ ทำให้มีโอกาสสูงที่คนซึ่งเคยป่วยจากโควิด 19 แล้ว จะกลับมาติดเชื้ออีกครั้ง

นอกจากนี้ จุดประสงค์หลักของการฉีดวัคซีนคือการป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อ

รายงานจากมหาวิทยาลัย Imperial College London เมื่อเดือนธันวาคมปี 2021 พบว่าการติดเชื้อโควิด 19 มาก่อน ช่วยป้องกันไม่ให้บุคลาการทางการแพทย์ในสหราชอาณาจักรกลับมาติดเชื้อโควิด 19 อีกครั้งในช่วง 6 เดือนที่ 85% แต่การอุบัติของไวรัสโอไมครอน ทำให้การติดเชื้อโควิด 19 มาก่อน ช่วยป้องกันการติดเชื้อโอไมครอนในรอบ 6 เดือนได้เพียง 19% เท่านั้น

ก่อนการอุบัติของไวรัสโอไมครอน มีงานวิจัยเบื้องต้นที่ยังไม่ผ่านการพิชญพิจารณ์ (Peer Review) หรือการประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิชาการ พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน Pfizer แบบครบโดสมีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 มากกว่าคนที่เคยป่วยจากโควิด 19 แล้วไม่เคยฉีดวัคซีนถึง 6 เท่า

แต่ปัจจุบัน กลุ่มคนที่ได้รับการปกป้องจากการติดเชื้อโควิด 19 สูงสุด คือคนที่เคยติดเชื้อโควิด 19 มาแล้ว และได้รับวัคซีนโควิด 19 ในภายหลัง ซึ่งงานวิจัยพบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วไม่ฉีดวัคซีน มีโอกาสติดเชื้อซ้ำมากกว่าคนที่เคยติดเชื้อแล้วฉีดวัคซีนถึง 2 เท่า

นอกจากนี้ งานวิจัยขนาดเล็กที่เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคมปี 2021 พบว่า กลุ่มคนที่ผ่านการฉีดวัคซีนครบโดส แล้วติดเชื้อโควิด 19 จะมีระดับแอนติบอดีสูงกว่ากลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ถึง 1000% ซึ่งเรียกภูมิคุ้มกันชนิดนี้ว่า Super Immunity หรือภูมิคุ้มกันขั้นสุดยอด ซึ่งผู้วิจัยประเมินว่า อาจเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยุติลงในอนาคตอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง:

https://fullfact.org/health/sky-news-covid-sajid-javid-doctor/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย