ชัวร์ก่อนแชร์: อินโดนีเซียฟื้นตัวจากโควิดเพราะยา Ivermectin จริงหรือ?

15 มกราคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้

บทสรุป:


  1. งานวิจัยยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า Ivermectin มีประโยชน์ในการรักษาโควิด 19
  2. หลักฐานยืนยันว่าอินโดนีเซียควบคุมการระบาดของโควิด 19 จากการบังคับใช้มาตรการโควิด 19 และการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลกล่าวอ้างสรรพคุณยา Ivermectin เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยเว็บไซต์ Gateway Pundit อ้างว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในประเทศอินโดนีเซียลดลงอย่างมาก หลังจากรัฐบาลรับรองการใช้ยา Ivermectin เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด 19

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


ประเทศอินโดนีเซียต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมปี 2021 จนมีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 กว่า 50,000 คน ซึ่ง National Geographic วิเคราะห์ว่าปัจจัยการแพร่ระบาดมาจากสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่เชื้อได้ง่ายและอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศที่ต่ำ โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2021 พบว่ามีชาวอินโดนีเซียฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มแรกเพียง 11% และมีแค่ 5% ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

แต่ในอีก 2 เดือนต่อมา อัตราการติดเชื้อโควิด 19 ในอินโดนีเซียลดลงอย่างมาก นำไปสู่การกล่าวอ้างว่าการใช้ยา Ivermectin ช่วยให้การติดเชื้อโควิด 19 ในอินโดนีเซียลดลง

จากการตรวจสอบของ Science Feedback พบว่าในช่วงที่อินโดนีเซียเผชิญการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 นักการเมืองในรัฐบาลอินโดนีเซียหลายคนประกาศสนับสนุนให้ใช้ยา Ivermectin รักษาผู้ป่วยโควิด 19

อย่างไรก็ดี การรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ด้วยยา Ivermectin ไม่ทำให้สถานการณ์แพร่ระบาดในอินโดนีเซียดีขึ้นตามที่กล่าวอ้าง เพราะในเดือนถัดมา อัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลยังเพิ่มขึ้น นำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนออกซิเจนรักษาคนไข้

การอ้างว่าโควิด 19 ในอินโดนีเซียลดลงเพราะรัฐบาลสนับการยา Ivermectin ไม่มีหลักฐานยืนยัน เพราะไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าชาวอินโดนีเซียใช้ยา Ivermectin มากกว่าประเทศอื่นๆ และไม่มีข้อมูลว่ายา Ivermectin ทำให้การติดเชื้อโควิด 19 ในอินโดนีเซียลดลงหรือไม่

ข้อมูลด้านการระบาดวิทยาในประเทศที่เคยสนับสนุนการใช้ยา Ivermectin รักษาผู้ป่วยโควิด 19 อย่างอินเดียและเปรู ไม่พบว่าการใช้ยา Ivermectin ช่วยลดการแพร่เชื้อและลดยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 โดยอินเดียและเปรูต่างเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด 9 ทั้งในช่วงปี 2020 และ 2021 ก่อนที่ทั้งสองประเทศจะยกเลิกใช้ยา Ivermectin กับผู้ป่วยโควิด 19 ในปี 2021

ในขณะเดียวกัน การศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้อินโดนีเซียลดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาจากมาตรการโควิด 19 ที่ประกาศใช้โดยรัฐบาลอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ทั้งการจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการในห้างสรรพสินค้า, ร้านอาหารและเครื่องดื่ม จำกัดการเดินทางและระงับกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนกันยายน

อีกปัจจัยคืออัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2021 พบว่ามีชาวอินโดนีเซียเข้ารับวัคซีนโควิด 19 เข็มแรกเพิ่มขึ้นเป็น 40% และมีผู้รับวัคซีนครบโดสแล้ว 22%

นอกจากนี้ยังพบว่าก่อนการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ชาวอินโดนีเซียในกรุงจาการ์ต้ามีแอนติบอดี้ต่อไวรัส SARS-CoV-2 จากการเคยติดเชื้อโควิด 19 ถึง 44.5% ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมาก

Ivermectin มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าพยาธิ แต่ถูกใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยโควิด 19 ในหลายประเทศ ซึ่งการวิจัยในปัจจุบันยังไม่อาจสรุปได้ว่า Ivermectin มีประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 หรือไม่ หน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก รวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่แนะนำให้ใช้ Ivermectin ในการป้องกันหรือรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ยกเว้นการใช้เพื่อการทดลองทางคลินิก

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/no-evidence-that-the-fall-in-covid-19-cases-in-indonesia-is-linked-to-the-use-of-ivermectin/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

สีสันคริสต์มาสอีฟ ย่านราชประสงค์

บรรยากาศเทศกาลคริสต์มาสอีฟ ย่านราชประสงค์ ท่ามกลางอากาศสบายๆ ยามเย็น อบอวลด้วยรอยยิ้มและความสุข ททท. มั่นใจตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 จะมีนักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย มากกว่า 1.5 ล้านคน สร้างเม็ดเงินกว่า 62,000 ล้านบาท

นายกฯ​ ขอบคุณสื่อร่วมทำงาน บอกเป็นคนตรงๆ ไม่ค่อยคิดร้าย

นายกฯ​ ขอบคุณสื่อร่วมทำงาน บอกอายุน้อยที่สุดต้องสร้างความสดใสทุกวงการ​ ขอให้เข้าใจคาแรคเตอร์ส่วนตัวเป็นคนตรง-โผงผาง​ ไม่ค่อยคิดร้ายกับใคร

เลขาฯ กฤษฎีกา ยันยังไม่มีข้อสรุปปม “กิตติรัตน์”

“เลขาฯ กฤษฎีกา” ยันยังไม่ปัดตก “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติพรุ่งนี้

“กิตติรัตน์” เคารพการพิจารณา หลังไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ

“กิตติรัตน์” โพสต์ข้อความ หลังไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ลั่นไม่มีอะไรค้างคาใจ-ไม่เคยขลาดกลัวหนีหายเอาตัวรอด ระบุได้อาสาทำงานให้ประเทศแล้ว ยันเคารพการพิจารณา