ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนแล้วติดโควิด จะมีเชื้อมากกว่าคนไม่ฉีด 251 เท่า จริงหรือ?

20 ตุลาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. การวิจัยมีปัญหาเพราะเทียบปริมาณไวรัสจากคนฉีดวัคซีนที่ติดเชื้อเดลต้ากับคนไม่ฉีดวัคซีนที่ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดิม
  2. การติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนเกิดได้ยากและปริมาณเชื้อจะลดลงอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่โดยกลุ่มผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างผลวิจัยที่พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วติดเชื้อ จะมีปริมาณไวรัสในโพรงจมูกสูงกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนถึง 251 เท่า

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


ผู้เผยแพร่งานวิจัยดังกล่าวได้แก่ ปีเตอร์ แม็คคัลลาห์ แพทย์โรคหัวใจผู้มีประวัติเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควดิ 19 บ่อยครั้ง โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของ Children’s Health Defense องค์กรในสหรัฐฯ ที่ถูกจับตาเรื่องการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งองค์กรนี้ก่อตั้งและบริหารงานโดย โรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี้ จูเนียร์ นักกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน

งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford University โดยเผยแพร่ครั้งแรกผ่านทางเว็บไซต์ Preprints with The Lancet ของวารสารการแพทย์ The Lancet เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2021 ซึ่งเป็นผลงานก่อนการตีพิมพ์ (Preprint) ซึ่งยังไม่ผ่านการพิชญพิจารณ์ (Peer Review ) หรือการประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิชาการ

ทีมวิจัยได้ตรวจสอบปริมาณไวรัสโควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในนครโฮจิมินห์จำนวน 69 คนในช่วงเดือนมิถุนายน 2021 โดยทุกคนผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ Oxford-AstraZeneca ครบ 2 โดสแล้ว แต่กลับติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า

การตรวจสอบด้วยวิธี PCR พบว่า ปริมาณไวรัสสูงสุดที่พบในกลุ่มตัวอย่าง สูงกว่าที่พบในกลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่ติดเชื้อระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนเมื่อปี 2020 ถึง 251 เท่า

แต่ปัญหาของงานวิจัยชิ้นนี้ คือการเปรียบเทียบไวรัสโควิด 19 คนละสายพันธุ์ เนื่องจากผู้ป่วยโควิด 19 ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนปี 2020 ป่วยด้วยเชื้อโควิด 19 พันธุ์ดั้งเดิม ขณะที่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 69 คนเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสเดลต้า

ไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้าตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2020 และกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดไปทั่วโลกในเดือนกรกฎาคม 2021 ข้อมูลพบว่าไวรัสเดลต้าทำให้ผู้ติดเชื้อมีปริมาณไวรัสในร่างกายสูงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือสายพันธุ์อื่นๆ

งานวิจัยก่อนการตีพิมพ์ (Preprint) จากทีมนักวิจัยชาวจีนพบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดลต้าจะมีปริมาณไวรัสในร่างกายมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1,000 เท่า

งานวิจัยก่อนการตีพิมพ์ (Preprint) จากทีมนักวิจัยชาวอเมริกันก็พบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดลต้าจะมีปริมาณไวรัสในร่างกายสูงกว่าผู้ติดเชื้อไวรัสอัลฟ่าเช่นกัน

หากจะเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน (Breakthrough Case) ผู้วิจัยต้องเปรียบเทียบโดยให้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวกัน

แม้ผลวิจัยของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) จะพบว่า ปริมาณไวรัสที่พบในผู้ติดเชื้อเดลต้าที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว แทบไม่แตกต่างจากผู้ติดเชื้อเดลต้าที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่การติดเชื้อโควิดหลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดสก็ยังเกิดขึ้นได้ยาก และยังมีงานวิจัยที่พบว่าปริมาณไวรัสในร่างกายของคนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว จะลดลงเร็วกว่าผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อโควิดหลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว จะมีช่วงเวลาในการแพร่เชื้อที่สั้นกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/study-in-vietnam-showed-that-delta-infection-results-in-a-higher-viral-load-compared-to-earlier-strains-not-that-vaccinated-people-are-more-infectious-than-unvaccinated-people/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 20 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ฝุ่น กทม.

คนกรุงจมฝุ่นต่อเนื่อง เช้านี้อยู่ระดับสีแดง 21 พื้นที่

กทม. อ่วมหนัก ฝุ่น PM 2.5 พุ่งต่อเนื่อง อยู่ระดับสีแดง ผลกระทบต่อสุขภาพ 21 พื้นที่ ย้ำสวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่นอกอาคาร และงดกิจกรรมกลางแจ้ง