รพ.ศิริราช 15 ธ.ค.-คณบดีศิริราช จี้รัฐทบทวนเกณฑ์มาตรฐานดัชนีวัดสภาพอากาศให้เป็นมาตรฐานเดียว เพิ่มสีเตือนอันตรายจากสภาพอากาศ เป็นสีม่วง และเลือดหมู ย้ำต้องเร่งคิดหยุดเรียน เหลื่อมเวลาทำงานได้แล้ว พร้อมโควิด กับฝุ่นสัมพันธ์กันทำให้ปอดอักเสบรุนแรง
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงการรับมือฝุ่น PM 2.5 ว่า ขณะนี้ปริมาณฝุ่นอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากและมีค่าเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงสูงติดต่อกัน ทำให้ห่วงสุขภาพของประชาชน จึงเรียกร้องให้ผู้อำนาจในการตัดสินใจเร่งแก้ปัญหา ทั้งการเหลื่อมเวลาการทำงาน การเรียน รวมถึงการเวิร์คฟอร์มโฮมเพื่อแก้ปัญหามลพิษ ทั้งเป็นการช่วยไม่ให้ก่อมลพิษเพิ่ม และไม่ได้รับผลจากการมลพิษเพราะต้องออกจากบ้านไปส่งลูกหลานที่โรงเรียน ที่ทำให้เกิดสภาพการจราจรที่แออัด เพิ่มการเผาไหม้ของคาร์บอนไดออกไซด์บนท้องถนน โดยพบว่าช่วงเวลา 04.00-07.00 น. เป็นช่วงที่มีค่าฝุ่นละอองสูงมากที่สุด จึงอยากให้มีการงดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง รวมถึงกิจกรรมวิ่งที่มักจัดในช่วงนี้
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวว่า จากหลักฐานทางวิชาการเชิงระบาดวิทยามีการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของยุโรปและอเมริกา พบว่า ฝุ่น PM 2.5 นี้ มีผลสัมพันธ์ให้โควิด-19 รุนแรงขึ้น โดยว่าฝุ่นที่มีขนาดเล็กจะเข้าไปทำลาย จู่โจม ระบบทางเดินทายหาย ไม่จะเป็นปอดหรือระบบกลไกการทำงานของปอด ทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย เปรียบได้กับคนสูบบุหรี่ ที่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดถอดถอยลง ดังนั้นการป้องกันด้วยกสวมใส่หน้ากากอนามัย จึงมีความจำเป็นมากที่สุด โดยพบว่า หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แบบใช้แล้วทิ้ง สามารถป้องกันฝุ่น ได้ถึงร้อยละ 60 ส่วนหน้ากากผ้า ต้องมีการผสมกับเส้นใช้สังเคราะห์ที่มีความยืดหยุ่น และแนบกับหน้าถึงจะป้องกันได้ดีกว่า หน้ากากผ้าฝ้ายธรรมดา ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้หน้ากากแบบ N95 เพราะสวมใส่ไม่ได้ตลอด เนื่องจากอึดอัด จึงเหมาะกับบุคลากรทางการแพทย์ และคนที่ทำงานกลางแจ้งในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวว่า ในกรณีที่สถานการณ์ฝุ่นยังรุนแรง ตามอาคารควรใช้เครื่องฟอกอากาศ สำหรับบ้านเรือนประชาชนการปิดประตูหน้าต่างก็ช่วยป้องกันได้ ร้อยะล 60 แต่หากไม่มีเครื่องฟอกอากาศ การเปิดพัดลมก็ควรใส่หน้ากากอนามัยด้วย เพราะกลุ่มเสี่ยงของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากฝั่น มีทั้ง เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา และผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ ยังพบว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ ยังส่งผลให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้ เพราะฝุ่นขนาดเล็กเมื่อเข้าไปในหลอดเลิอดอาจทำให้เกิดการอุดตัน พร้อมเรียกร้องให้มีการปรับและสร้างมาตรฐานดัชนีชี้วัดสภาพอากาศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยพิจารณา ปรับลดเกณฑ์ ชี้วัดให้ต่ำลงเพราะป้องกันกลุ่มคนเปราะบาง และเพิ่มสีสัญญาณเตือนความรุนแรงของสภาพอากาศไม่จำกัดสูงสุดแค่สีแดง แต่ต้องมีเหมือนต่างประเทศ ที่มีทั้ง สีม่วง และสีเลือดหมู ย้ำคนทั่วไปต้องดูแอปลิเคชันสภาพอากาศในขณะปัจจุบันเพื่อนใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใทำกิจกรรม ส่วนภาครัฐต้องมองดัชนีชี้วัดสภาพอากาศภาพรวม 24 ชั่วโมงเพื่อใช้ตัดสินหยุดเรียนหรือหยุดทำงานที่บ้าน .-สำนักข่าวไทย