จุฬาฯ พร้อมระดมทุกฝ่าย คลี่ปมความเห็นต่าง

กรุงเทพฯ 28 ส.ค.-จุฬาฯ พร้อมคลี่ปมความเห็นต่าง ระดมวิชาการและข้อเท็จจริง พร้อมรับฟังความเห็นที่หลากหลาย เปิดพื้นที่เสรีภาพ มุ่งหน้าส่งเสริมการสร้างปัญญาสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม


เพจเฟซบุ๊ก Chulalongkorn University โพสต์เรื่องจุฬาฯ พร้อมคลี่ปมความเห็นต่าง พร้อมแชร์ข่าวจาก CHULA.AC.TH โดยมีรายละเอียดว่า
จากปัญหาข้อขัดแย้งในด้านความเห็นทางการเมืองที่เกิดขึ้น ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นความสำคัญของการคลี่คลายปมเงื่อนของความแตกต่างขัดแย้งด้วยหลักความบริสุทธิ์ใจ และใช้ข้อมูลความรู้ในการแก้ปัญหาโดยอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม โดยตระหนักว่าปัจจุบันสังคมไทยเผชิญกับสิ่งท้าทายรอบด้าน ดังนั้นจึงต้องการให้การทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยในการตอบโจทย์ของสังคมและสาธารณะโดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม ทั้งนี้จากการประชุมเพื่อหาแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมการแสดงออกและการใช้สิทธิเสรีภาพของชาวจุฬาฯ ได้ข้อสรุปเชิงหลักการว่า

1.การยอมรับความหลากหลายทางความคิดและการสร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อกันเป็นเงื่อนไขสำคัญของการย่างก้าวสู่อนาคตของการอยู่ร่วมกัน


2.ความขัดแย้งไม่ใช่ปัญหาแต่ประเด็นปัญหาคือ การทำให้ความแตกต่างขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรง ดังนั้นการแก้ไขจึงไม่ควรอาศัยแต่เครื่องมืออำนาจและระเบียบบังคับแต่อย่างเดียว หากต้องใช้เครื่องมือที่สามารถเพิ่มพูนสมรรถภาพในการแก้ปัญหาร่วมกัน

3.การตัดสินกันด้วยความชอบ-ไม่ชอบ เพราะคิดเห็นต่างกันและการสร้างความเกลียดชังต่อกัน สามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดความรุนแรงและนำสังคมไปสู่ทางตันได้ ดังนั้น ต้องคลี่คลายปมความเห็นต่างด้วยการขยายความรู้ความเข้าใจร่วมกัน การพิจารณาประเด็น เช่น ช่องว่างระหว่างรุ่นอายุและความแตกต่างในการให้คุณค่านั้นจำต้องใช้วิชาการรวมถึงสหวิชาการจึงจะสามารถคลี่คลายปมปัญหาได้

ในส่วนของแนวทางการดำเนินการอาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้


ระยะสั้น การสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจในการแลกเปลี่ยนเพื่ออนาคตด้วยบรรยากาศเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นและหารือกันเกี่ยวกับกติกาและเสรีภาพในการแสดงออกในมหาวิทยาลัยจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งคณาจารย์ นิสิตและนิสิตเก่าในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เวทีเสวนา การระดมความคิด ฯลฯ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนพื้นที่และดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังสนับสนุนให้มีรายวิชาศึกษาทั่วไปใหม่ๆ เช่นวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบในโลกยุคดิจิทัลด้วย

ระยะกลาง สนับสนุนโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกำหนดควบคุมดูแลกันเองและส่งเสริมการศึกษาวิจัยแบบสหสาขาวิชาหัวเรื่องใหม่ๆ เช่นเสรีภาพและความรับผิดชอบในโลกแห่งความเสี่ยง พลังหนุ่มสาว(youthquake)เพื่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต ช่องว่างระหว่างรุ่นอายุ(generation gaps)กับพลังสังคมยุคดิจิทัลแล้วนำผลจากการวิจัยมาบูรณาการในการเรียนการสอนและกิจกรรมไปด้วย

สำหรับในระยะยาว อนาคตประเทศชาติย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ทางสังคมในท่ามกลางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยไม่ใช้ความรุนแรง จุฬาฯ จึงเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนหาทางออกสังคมโดยร่วมสร้างความรู้ที่เหมาะสมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและเพิ่มสรรถนะในการทำความเข้าใจความคิดที่หลากหลาย

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์(กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว เคยทำหน้าที่ในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติเพื่อแก้ปัญหาเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญประเด็นด้านสังคม เช่น การพัฒนาคนชายขอบและโลกาภิวัตน์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนดังปรากฏในกรณีโรคระบาดโควิด-19 นี้ จุฬาฯ จะเร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การสร้างพื้นที่ในการร่วมสร้างความรู้และ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ทางสังคม เพื่อการตอบโจทย์ร่วมกัน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์

เร่งล่าฆาตกรโหดตัดนิ้วชิงทรัพย์หญิงวัย 67 ทิ้งศพกลางสวนปาล์ม

ตำรวจเร่งล่าฆาตกรโหดฆ่าตัดนิ้วหญิงวัย 67 ปี ชิงทรัพย์ ก่อนทิ้งศพกลางสวนปาล์ม อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ชาวบ้านเผยพบรถเก๋งต้องสงสัยสีขาววิ่งเข้าไปในจุดพบศพ

จับนายก อบต.นาบัว

คอมมานโดบุกจับนายก อบต.นาบัว-พวก รวม 16 คน

คอมมานโดกองปราบฯ บุกจับฟ้าผ่า! นายก อบต.นาบัว อ.นครไทย ประธาน “ธนาคารหมู่บ้าน” พร้อมพวก รวม 16 คน ฐานร่วมกันฉ้อโกงและร่วมกันกู้ยืมเงิน มูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

มนุษย์ ภัยคุกคามพะยูน ?

ช่วงนี้พบพะยูนในทะเลฝั่งอันดามันตายเพิ่มขึ้นแบบถี่ยิบ จนน่าเป็นห่วงว่าพะยูนอาจสูญพันธุ์ไปในอนาคต โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อมีการพบพะยูนตายในทะเลภูเก็ต อยู่ในสภาพถูกตัดหัว คาดนักล่าหวังเอาเขี้ยว

typhoon Man-Yi barrels through the Philippines

ซูเปอร์ไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” เข้าฟิลิปปินส์

มะนิลา 17 พ.ย.- ซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ พัดเข้าเกาะลูซอนที่เป็นเกาะหลักและมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุดของฟิลิปปินส์แล้วในวันนี้ เสี่ยงทำให้เกิดฝนตกหนักในกรุงมะนิลาที่เป็นเมืองหลวง หม่านหยี่ เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นชื่อของอ่างเก็บน้ำในฮ่องกง นับเป็นพายุลูกที่ 6 ที่พัดเข้าฟิลิปปินส์ในรอบ 1 เดือน มีความเร็วลม 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อ่อนกำลังลงเล็กน้อยหลังจากขึ้นฝั่งเมืองปางานีบัน จังหวัดคาตันดัวเนส ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เมื่อคืนวันเสาร์ ข้ามมาจนถึงจังหวัดคามารีเนส นอร์เต บนเกาะลูซอน ในเช้าวันนี้ ไต้ฝุ่นลูกนี้มีแนวโน้มจะทำให้เกิดฝนตกหนักทั่วเขตมหานครมะนิลา ซึ่งมีการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้ว่ากระแสลมแรงได้สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดคาตันดัวเนสก็ตาม.-820(814).-สำนักข่าวไทย

ดอยอินทนนท์คึกคักรับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้า

นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์รับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้าวันหยุด หลายคนบอกไม่ผิดหวัง เพราะพระอาทิตย์สาดแสงเป็นประกายประทับใจ