ปลัด มท. ย้ำผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ทำตามข้อกำหนด ศบค.

กระทรวงมหาดไทย 1 ก.พ.- ปลัดมหาดไทย สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ปฏิบัติมาตรการตามข้อกำหนดฯ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง อย่างเคร่งครัด พร้อมสร้างการรับรู้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ


นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามประกาศใช้ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 29 ม.ค.64 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ลงวันที่ 29 ม.ค.64 มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ได้แก่ 1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง 2) การใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษา 3) มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่จำเป็นสำหรับพื้นที่ 4) การเข้มงวดกับสถานที่หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อน 5) มาตรการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว 6) มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ 7) การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ โดยกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ “พื้นที่ควบคุม” 20 จังหวัด “พื้นที่เฝ้าระวังสูง” 17 จังหวัด และ “พื้นที่เฝ้าระวัง” 35 จังหวัด


เพื่อให้เกิดการดำเนินงานเฝ้าระวังและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไปตามข้อกำหนดฯ และคำสั่งฯ จึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดถือปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ และคำสั่งฯ โดยเคร่งครัด และสร้างการรับรู้มาตรการต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยในกรณีที่จังหวัดจะมีการปรับระดับของแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเสนอต่อศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ตรวจสอบ กลั่นกรอง เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในระดับเขตอำเภอที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบได้ และกรณีที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาจากข้อเท็จจริงและสถานการณ์ในพื้นที่แล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะกำหนดข้อห้าม เงื่อนไข และมาตรการที่เข้มข้นกว่าข้อกำหนดฯ ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และเมื่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดได้มีมติให้ออกประกาศ คำสั่งแล้ว ให้ส่งประกาศหรือคำสั่งให้ ศบค.มท. เพื่อแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบโดยทั่วกัน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง