อนุกรรมาธิการก่อนรับหลักการแก้รธน.ยังเสียงแตก

รัฐสภา 9 ต.ค. -อนุ กมธ.ก่อนรับหลักการแก้ รธน. ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน 2 เรื่อง เสียงส่วนน้อย ระบุ กระบวนการมาตรา 256 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญ และต้องทำประชามติก่อนตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่เสียงส่วนใหญ่มองไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และให้ทำประชามติครั้งเดียวก่อนที่นายกฯ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ


นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะโฆษกอนุกรรมาธิการพิจารณาเสนอความเห็นในประเด็นข้อกฎหมาย ในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลักการ รัฐสภา เปิดเผยข้อสรุปของอนุกรรมาธิการต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า อนุกรรมาธิการเสียงข้างมาก ที่เป็น ส.ส.และนักวิชาการ ได้ข้อสรุปแล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นไปตามกระบวนการมาตรา 256 แต่มีเสียงส่วนน้อยที่เป็น ส.ว.เห็นว่า ยังขัดรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ

นายนิกร กล่าวว่า ข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดออกเสียงประชามติว่า กรรมาธิการเสียงข้างมาก เห็นว่า การทำประชามติ ให้ทำหลังผ่านการแก้ไขในวาระที่ 3 ก่อนที่นายกรัฐมนตรี นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ตามกระบวนการในมาตรา 256 วรรค 8 แต่เสียงส่วนน้อยที่เป็น ส.ว. เห็นว่า ควรทำประชามติ 2 ครั้ง คือ ก่อนรับหลักการ และก่อนที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งนายนิกร ยังเห็นแย้งกับความเห็นของวุฒิสภา เพราะหากจะดำเนินการจัดการออกเสียงประชามติ ก่อนรับหลักการ กระบวนการยังอยู่ในชั้นนิติบัญญัติ ที่ไม่มีอำนาจจัดการออกเสียงประชามติ และขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายการออกเสียงประชามติด้วย รวมถึงกระบวนการจัดการออกเสียงประชามติ ต้องใช้เวลาถึง 3 เดือน ซึ่งกรรมาธิการพิจารณาก่อนรับหลักการ มีเวลาพิจารณาเพียง 30 วันเท่านั้น ซึ่งกรรมาธิการ ก็จะนำข้อสรุปความเห็นทั้งหมดเสนอต่อกรรมาธิการชุดใหญ่ในวันที่ 14 ตุลาคมนี้


นายนิกร ยังกล่าวถึงข้อกังวลที่ห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวด 1 และหมวด 2 เกี่ยวข้องกับรูปแบบรัฐ และพระมหากษัตริย์ว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจมีกรณีที่ไปกระทบต่อพระราชอำนาจ ซึ่งกรรมาธิการ จะหารือกันอีกครั้งว่าหากเกิดกรณีดังกล่าว จะดำเนินการอย่างไรต่อไป

นายนิกร ยังชี้แจงถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยในปี 2556 ที่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับเก่า จะต้องจัดทำประชามติเพื่อขอความเห็นประชาชน ในการยกเลิกรัฐธรรมนูญว่า เป็นคนละประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เพราะกรณีดังกล่าว เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งไม่ได้กำหนดให้ทำประชามติ แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดให้ทำประชามติก่อน ซึ่งนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน เห็นว่า สามารถทำได้ เพราะในรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ทำประชามติไว้อยู่แล้ว พร้อมชี้แจงการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ว่า จะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ซึ่งเป็นฉบับที่ 20 ของประเทศ ไม่ได้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือเป็นฉบับที่ 21 แต่อย่างใด

ส่วนข้อสรุปที่ ส.ว. ยังเห็นต่างจาก ส.ส. และนักวิชาการในกรรมาธิการจำเป็นจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดหรือไม่นั้น นายนิกร เห็นว่า จะต้องรอกรรมาธิการชุดใหญ่สรุปจากข้อสรุปที่อนุกรรมาธิการ เตรียมเสนอในวันที่ 14 ตุลาคมนี้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร