fbpx

ก.เกษตรฯ เดินหน้านโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล

กทม. 5 พ.ย.-โฆษกรัฐบาล เผย ก.เกษตรฯ เดินหน้านโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล ดันเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรเป็น 3 เท่าใน 4 ปี ด้วยกลยุทธ์ตลาดนำ-นวัตกรรมเสริม-เพิ่มรายได้ ส่งเสริมผลิตถั่วเหลืองทดแทนการนำเข้าปีละ 3 ล้านตัน ปั้นโมเดลต้นแบบเพิ่มผลผลิตที่ จ.เชียงใหม่ เตรียมขยายผลโครงการไปพื้นที่อื่น

นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้เดินหน้านโยบายแก้ไขปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่ผิดกฎหมาย ด้วยการขับเคลื่อนนโยบาย 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ปั้นโมเดลต้นแบบ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ สู่เมืองหลวงถั่วเหลืองของไทย โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่มอบนโยบายและพบปะเกษตรกร พร้อมลงแปลงสาธิตการปลูกถั่วเหลืองด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและเกษตรกรได้มีความรู้ความเข้าใจถึงศักยภาพของถั่วเหลืองไทยและต่อยอดร่วมกัน รวมทั้งร้อยเอก ธรรมนัส ได้เป็นประธานเปิดงาน “นวัตกรรมเสริมแกร่งถั่วเหลืองไทย เพิ่มรายได้เกษตรกร” ซึ่งมีการออกบูธนิทรรศการ การเสวนา และการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมมอบปัจจัยการผลิต โดยนำร่องพื้นที่ อ.แม่แตง เป็นโมเดลต้นแบบ ยกระดับพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองไทย ผลักดันสู่ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ตามนโยบายของ กษ. สอดคล้องนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ของรัฐบาล ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบโล่รางวัลนักปลูกถั่วเหลืองมือทองประจำปี 2566 จำนวน 5 รางวัล ให้แก่เกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตสูงเป็นปีแรก ณ นิคมสหกรณ์แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยเกษตรกรที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 คือนายสุทิน แสงมณี เกษตรกรจากหมู่บ้านสันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 492 กก./ไร่


โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กษ. ได้ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ผลิตอาหารจากถั่วเหลืองไทย และสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ดำเนินการโครงการนำร่องโมเดลเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการปลูกถั่วเหลืองเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ จ.เชียงใหม่ โดยเน้นส่งเสริมถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผู้ประกอบการนิยมใช้ โดยผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ในพื้นที่ อ.แม่ริม และ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนำร่องดังกล่าวจำนวน 26 ราย พบว่า สามารถส่งเสริมเกษตรกรปลูกถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตต่อไร่เกิน 400 กก. จำนวน 12 ราย และได้ผลผลิตต่อไร่เกิน 300 กก. จำนวน 12 ราย ซึ่งมากกว่าผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 267 กก. ต่อไร่ และถ้าผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 300 – 400 กก. เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิ หรือกำไร ประมาณไร่ละ 3,500 – 4,700 บาท ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนสุทธิของข้าวเหนียว

“การดำเนินงานดังกล่าวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกษตรกรสนใจและหันมาปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่สูง เกษตรกรมีรายได้ดี มีความกินดีอยู่ดี ตรงกับนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลที่ว่า เพิ่มรายได้ภาคการเกษตรเป็น 3 เท่าใน 4 ปี ด้วยกลยุทธ์ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โดยส่งเสริมการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว แต่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงกว่า หนึ่งในนั้นคือการผลิตถั่วเหลืองทดแทนการนำเข้าถั่วเหลืองได้ปีละ 3 ล้านตัน ทั้งนี้ การส่งเสริมโมเดลการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ในการปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ตนเอง และเพื่อเพิ่มวัตถุดิบป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม ปูทางลดการนำเข้า และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ อ.แม่แตง และ อ.แม่ริม เป็นพื้นที่นำร่องและเป็นโมเดลต้นแบบในการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่ง สศก.จะร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลโครงการไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในระยะต่อไป” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว


ทั้งนี้ ถั่วเหลืองนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่สามารถผลิตหรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นใช้สกัดน้ำมัน แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตอาหารสัตว์ จึงทำให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ อีกทั้งถั่วเหลืองเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำเพื่อการเกษตรไม่มาก หรือนอกเขตชลประทาน ที่สำคัญถั่วเหลืองยังช่วยบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารในดิน ลดการใช้ปุ๋ยในการปลูกพืชฤดูถัดไป แต่ปัจจุบันประเทศไทยกลับสามารถผลิตถั่วเหลืองได้เพียง 2 – 3 หมื่นตันต่อปี และยังได้ผลผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทั้งที่มีความต้องการใช้ถั่วเหลืองมากถึง 3.2 ล้านตันต่อปี จึงทำให้ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้ามากถึง 99% กษ. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานในสังกัด กษ. ได้ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ผลิตอาหารจากถั่วเหลืองไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง ร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาส่งเสริมผลผลิตถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น จนสามารถเพิ่มผลผลิตจาก 267 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มเป็น 300 – 400 กิโลกรัม/ไร่ เป็นผลสำเร็จ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน