สำนักข่าวไทย 14 ส.ค.- หลายคนคงวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและมีคำถามมากมายว่า เศรษฐกิจไทยหลังช่วงโควิด-19จะเป็นอย่างไรจะดำเนินไปในทิศทางไหน แล้วที่ บอกว่า “เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19 จะฟื้นตัวแบบเครื่องหมายถูกหางยาว” หมายถึงอะไร และบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกัน
รูปแบบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆ มี 5 แบบ หลัก ๆ ด้วยกัน คือ
1.V-Shape ลงเร็ว ฟื้นเร็ว เศรษฐกิจได้รับผลกระทบรุนแรงแต่จะฟื้นตัวเร็ว ซึ่งเป็นไปได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลก
2.U-Shape หดตัวนาน ฟื้นตัวช้า ใช้เวลาฟื้นตัวนานเพราะการค้าระหว่าประเทศและการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคยังไม่กลับมาโดยง่าย
3.W-Shape ฟื้นเร็ว ดิ่งลงรอบสอง ตัวแปรสำคัญที่ทำให้เห็นการฟื้นตัวรูปแบบนี้คือการผ่อนคลายมาตรการที่เร็วเกินไป และอาจมีความเสี่ยงชองการระบาดระลอดสองหรือสาม ทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง
4.L-Shape หดตัวยาวนาน ไร้สัญญาณการฟื้นตัว เป็นกรณีเลวร้ายที่สุด ซึ่งจะเกิดในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ โครงสร้างเศรษฐกิจโลกเสียหายรุนแรง
5.Swoosh หรือ เครื่องหมายถูกหางยาว ไถลลงเร็ว ค่อย ๆ ฟื้นตัว คล้ายกับรูปแบบ V-Shape แต่ทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆตามการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่จะใช้เวลานานแค่ไหนในการฟื้นตัว ขึ้นกับความสามารถในการจัดการกับโรคระบาดและความสำเร็จในการผลิตวัคซีน
สำหรับประเทศไทย เราอาจประเมินได้ว่าจะฟื้นตัวแบบ “เครื่องหมายถูกหางยาว” คือเศรษฐกิจไถลลงเร็ว แล้วค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัว ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาด การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การปรับตัวของประชาชน ธุรกิจ และภาครัฐ ให้เข้ากับฐานวิถีชีวิตใหม่และโครงสร้างเศรษฐกิจโลกด้วย
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3gmAAIq
ข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย