พุทธิพงษ์ เชิญแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ ถกแนวทางรักษาความปลอดภัยข้อมูลลูกค้า
รมว.ดีอีเอส เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ร่วมหารือ ลาซาด้า ช็อปปี้ บริษัทอีคอมเมิร์ซ ต้นสัปดาห์หน้า หาแนวทางป้องกันข้อมูลลูกค้าถูกแฮก
รมว.ดีอีเอส เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ร่วมหารือ ลาซาด้า ช็อปปี้ บริษัทอีคอมเมิร์ซ ต้นสัปดาห์หน้า หาแนวทางป้องกันข้อมูลลูกค้าถูกแฮก
สดช.เผยคลาวด์ภาครัฐ แจงยอดภาครัฐขอใช้ GDCC พุ่งทะลุเป้าถึงปี 2565
กรุงเทพฯ 19 พ.ย. ทวิตเตอร์ เปิดตัว “Fleets” ฟีเจอร์ใหม่สร้างสีสันให้กับบทสนทนา เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่สนทนาสาธารณะให้ผู้ใช้งานทั่วโลกได้เห็นและพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันผู้ใช้งานบางกลุ่มให้ความเห็นว่าการทวีตข้อความทำให้พวกเขารู้สึกไม่ค่อยสบายใจเท่าไรนักเพราะข้อความถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะมากเกินไป อีกทั้งเมื่อทวีตไปแล้วข้อความดังกล่าวจะอยู่ตลอดไป สร้างความรู้สึกกดดันกับการต้องได้รีทวีตและยอดไลค์เยอะๆ เลยเป็นที่น่าเสียดายว่าหลายทวีตที่น่าสนใจถูกทิ้งไว้ให้เป็นแค่ข้อความร่าง ดังนั้นเพื่อช่วยให้การทวีตข้อความกลายมาเป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น ทวิตเตอร์จึงเปิดตัว “Fleets” ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด ที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถแบ่งปันความคิดเห็นที่แล่นแว้บเข้ามาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและสร้างสีสันในการสนทนารูปแบบใหม่ได้อย่างง่าย ฟีเจอร์ Fleets เป็นการแบ่งปันความคิดเห็นร่วมกันแบบชั่วคราว อีกทั้งช่วยให้มีการเริ่มต้นบทสนทนา โดยข้อความเหล่านั้นจะมีระยะเวลาปรากฏ 24 ชั่วโมง จากการทดสอบฟีเจอร์นี้ในหลายประเทศ อาทิ บราซิล อิตาลี อินเดีย และเกาหลีใต้ พบว่าฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายใจมากขึ้นและยังเข้าร่วมการสนทนาบนทวิตเตอร์ด้วยฟีเจอร์ Fleets มากขึ้นอีกด้วย สำหรับผู้เริ่มใช้งาน ทวิตเตอร์ต่างรู้สึกว่าฟีเจอร์นี้ทำให้พวกเขากล้าแสดงความคิดเห็นได้ง่ายขึ้น เนื่องจากข้อความเหล่านั้นจะหายไปหลังจากทวีตไปแล้วหนึ่งวัน การใช้งาน Fleets ช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ความรู้สึก หรือมุมมองต่างๆ ทั้งนี้ ทวิตเตอร์อยากเรียนรู้ให้มากขึ้นว่าผู้ใช้งานมีการใช้ฟีเจอร์ Fleets อย่างไรกันบ้าง ผู้ใช้งานสามารถใช้ฟีเจอร์ Fleets ในการทวีตข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ โดยกดปุ่ม “แชร์” ที่มุมด้านล่างขวามือของทวีต แล้วเลือก “แชร์ใน Fleet” จากนั้นจะสามารถแสดงความคิดเห็นด้วยการพิมพ์ข้อความหรืออีโมจิได้ทันที ทวิตเตอร์จะมีการเพิ่มการใช้งานสติกเกอร์และสามารถไลฟ์สดผ่านฟีเจอร์ Fleets เร็วๆนี้ ผู้ที่กำลังติดตามจะสามารถเห็น Fleets ที่ด้านบนสุดของหน้าไทม์ไลน์ และใครก็ตามที่สามารถมองเห็นโปรไฟล์ได้จะสามารถเห็น Fleets ได้เช่นกัน และหากเปิดใช้งาน Direct Message เป็นสาธารณะเอาไว้ ผู้ใช้งานรายอื่นจะสามารถเข้ามาตอบ Fleets ได้ หรือหากต้องการตอบกลับ Fleets ให้กดเลือกการส่ง Direct Message หรือส่งอีโมจิให้กับเจ้าของ Fleets และสามารถสนทนากันได้อย่างต่อเนื่องใน Direct Message สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมอื่น เกี่ยวกับการใช้งาน Fleets -สำนักข่าวไทย.
แคลิฟอร์เนีย 19 พ.ย. แอปเปิลทำโครงการสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดยช่วยลดค่าคอมมิชชั่นร้อยละ 15 นายทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอปเปิล ประกาศเปิดตัวโครงการนักพัฒนาใหม่ชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันนวัตกรรม และช่วยธุรกิจขนาดเล็กและนักพัฒนาอิสระในการขับเคลื่อนธุรกิจของตนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยแอพในเจเนอเรชั่นถัดไปในแอพสโตร์ โครงการสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในแอพสโตร์ใหม่ จะเป็นประโยชน์ยิ่งกับนักพัฒนาส่วนใหญ่ที่จำหน่ายสินค้าและบริการในรูปแบบดิจิทัลบนร้านค้าของเรา โดยช่วยลดค่าคอมมิชชั่นจากแอพที่มีการซื้อและการซื้อภายในแอพ นักพัฒนาสามารถเข้าร่วมโครงการและลดค่าคอมมิชชั่นเหลือเพียงร้อยละ 15ได้ หากว่ามีรายได้ไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระหว่างปีปฏิทินก่อนหน้า โครงการสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในแอพสโตร์จะเปิดตัวในวันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงเวลาอันสำคัญที่เหล่านักพัฒนารายย่อยเดินหน้าทุ่มเทอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในช่วงเวลาที่ระบบเศรษฐกิจของโลกกำลังเผชิญกับความยากลำบากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แอพต่าง ๆ ได้ก้าวขึ้นมามีส่วนสำคัญยิ่งขึ้นเมื่อธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกเสมือนจริงในระหว่างสถานการณ์โรคระบาด และธุรกิจขนาดเล็กมากมายได้เปิดตัวหรือสร้างชื่อของตนในโลกดิจิทัลอย่างรวดเร็วเพื่อการเข้าถึงลูกค้าและชุมชนของตนอย่างไม่หยุดยั้ง ค่าคอมมิชชั่นที่ลดลงของโครงการ ช่วยให้นักพัฒนารายย่อยและผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นมีทรัพยากรมากยิ่งขึ้นสำหรับการลงทุนและขยายธุรกิจของตนในระบบนิเวศของแอพสโตร์ “ธุรกิจขนาดเล็กถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก และตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมและโอกาสในชุมชนต่างๆ ทั่วโลก เราเปิดตัวโครงการนี้เพื่อช่วยเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และความสำเร็จครั้งใหม่ใน App Store พร้อมกับพัฒนาแอพชั้นยอดที่ลูกค้าของเราชื่นชอบ” -สำนักข่าวไทย.
สวทช. เตรียมจัดงาน THAILAND TECH SHOW 2020 โชว์ผลงานวิจัยผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยเป็นปีแรกที่จัดแสดงผ่านระบบออนไลน์และเว็บแอปพลิเคชั่น
กรุงเทพฯ 17 พ.ย. ดีแทคเปิด ดีแทครีวอร์ด คอยน์สะสมเหรียญให้แลกของรางวัลได้ง่ายแลกใช้ก็คุ้มเมื่อทำธุรกรรมผ่านดีแทคแอป นายฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคกล่าวว่า ในปีนี้ดีแทครีวอร์ดได้ปรับสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าและพันธมิตรร้านค้าสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงโควิด -19 และวิถี นิวนอมอบ โดยได้สำรวจความต้องการและความพึงพอใจให้ตรงใจและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่สามการใช้งานดีแทคแอปเติบโตขึ้นร้อยละ 30 จากปีก่อนดีแทคได้ยกระดับให้สิทธิประโยชน์จากดีแทครีวอร์ดที่เน้นมอบความคุณค่าให้ลูกค้าจากการใช้บริการในระบบของดีแทคด้วยโปรแกรมดีแทครีวอร์ดคอยน์ ที่มาในรูปแบบการสะสมเหรียญคอยน์เพื่อร่วมสนุกจากกิจกรรมและแคมเปญต่างๆในดีแทคแอปพลิเคชันอีกมากมายพร้อมเปิดโอกาสให้ลูกค้าที่ใช้ระบบเติมเงินเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ได้มากขึ้นจากการมอบสิทธิพิเศษการใช้บริการใจดีที่ช่วยเหลือผู้ใช้บริการดีแทคในด้านอื่นด้วยโดยมี คอยน์ที่เตรียมมอบให้ลูกค้ากว่าล้านคอยน์ทุกเดือนมูลค่ากว่า 25 ล้านบาทต่อเดือนปัจจุบันมีลูกค้าดีแทครายเดือนดาวน์โหลดดีแทคแอปแล้วกว่าร้อยละ 55 โดยมีผู้ใช้บริการรับสิทธิพิเศษดีแทครีวอร์ดในดีแทคแอปร้อยละ 80 ของจำนวนการกดรับสิทธิพิเศษทั้งหมด “รีวอดคอยน์ คือ ระบบสะสมแต้มที่มาในรูปแบบเหรียญบนแอป ความแตกต่างจากรีวอดเดิม คือการได้รับสิทธิพิเศษโดยไม่ต้องรอสเตัส ผู้ใช้บริการดีแทคจะได้อะไรเพิ่มจากดีแทครีวอร์ด คอยน์ สำหรับผู้ใช้บริการดีแทคทั้งเติมเงินและรายเดือนที่ใช้จ่ายผ่านดีแทคแอปสามารถสะสมเหรียญได้เลยไม่ต้องรอสถานะสมาชิกจากดีแทครีวอร์ตที่แบ่งเป็นกลุ่มตามอายุและแพ็กเกจการใช้งานสามารถร่วมกิจกรรมที่มีในตีแทคแอปได้หลากหลายทำให้สะสม คอยน์ได้ง่ายสามารถเอาคอยน์แลกใช้สิทธิ” -สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 17 พ.ย.สวทช. ผนึก 40 พันธมิตร จัดงาน “THAILAND TECH SHOW 2020” ออนไลน์เต็มรูปแบบ นำเสนอวิถีชีวิตใหม่ นวัตกรรม เพื่อการลงทุน พลาดไม่ได้ 2– 4 ธันวาคม นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า THAILAND TECH SHOW จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 นำเสนอในรูปแบบตลาดเทคโนโลยีที่นักวิจัยผู้คิดค้นนวัตกรรมจะได้มานำเสนอผลงานต่อนักลงทุน นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ Startup ที่กำลังมองหานวัตกรรมและพร้อมลงทุน ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมงาน เพื่อโอกาสพบกับนักวิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและโจทย์ความต้องการที่เหมาะสมกับธุรกิจ พร้อมอัพเดทความรู้และเทรนด์เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง เป็นข้อมูลสำหรับทิศทางในการดำเนินงานธุรกิจเทคโนโลยี ในปีนี้ สวทช. จึงได้กำหนดจัดงาน THAILAND TECH SHOW 2020 ขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 4 ธันวาคม 2563 ภายใต้แนวคิด “วิถีชีวิตใหม่นวัตกรรม เพื่อการลงทุน (Technologies and Innovations for Investment in The New Normal)” เพื่อเป็นโอกาสทางธุรกิจในยุค นิวนอร์มอลให้กับผู้ประกอบการ/นักลงทุนที่สนใจนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งของธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า Bio-Circular-Green Economic Model (BCG Model) ที่จะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผ่านการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน พลังงานสะอาดและการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างความมั่นใจในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สวทช. จึงได้ปรับรูปแบบการจัดงานให้เหมาะสมในรูปแบบนิวนอร์มอลที่ผู้เข้าร่วมงานไม่ต้องเดินทาง แต่สามารถเข้าร่วมงานออนไลน์เต็มรูปแบบและเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน การเปิดเทรนด์ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง (10 Technologies to Watch) โดย ผู้อำนวยการ สวทช. และกิจกรรม NSTDA Investors’ Day ในรูปแบบ Investment Pitching 11 ผลงานเด่นจากนักวิจัยของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร รวมถึงการเสวนาและบรรยายพิเศษที่เกี่ยวกับเทรนด์ในการทำธุรกิจแนวใหม่และการปรับตัวธุรกิจให้อยู่รอดได้อย่างไรในยุคนิวนอร์มอล ตลอด 3 วันของการจัดงานจะได้สัมผัสกับผลงานและนวัตกรรมผ่านนิทรรศการออนไลน์ในโซนต่างๆ รวมกว่า 290 ผลงานจาก 40 พันธมิตร ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม เกษตรและประมง เภสัชภัณฑ์และเครื่องสำอางเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น แบ่งเป็นโซนเทคโนโลยีแนะนำ (ราคาเดียว) และเทคโนโลยีไฮไลท์ (เจรจาเงื่อนไข) Tech Start Up การเจรจาธุรกิจแบบ One-on-One Matching และขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและจำหน่าย รวมถึงบูธให้คำแนะนำและบริการแบบครบวงจรจาก สวทช. ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการ การจำหน่ายสินค้านวัตกรรมของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตหรือให้บริการ โดยตลอดการเข้าชมงานแบบออนไลน์จะมีช่องทางการพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างใกล้ชิด สำหรับผลงานวิจัยเด่นของ สวทช. และพันธมิตร 11 ผลงาน ประกอบด้วย ไฮบริดชัวร์ การตรวจความบริสุทธิ์เมล็ดพันธุ์อย่างแม่นยำและรวดเร็ว (HybridSure), เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับการแพทย์ฉุกเฉิน (PETE เปลปกป้อง), เครื่องบำบัดและฆ่าเชื้อในอากาศภายในอาคาร (Innovative Air Cleaner), ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว (COXY-AMP), โมเดลการผลิตสารทางชีวภาพเป้าหมาย (Smart-BIOact), มหัศจรรย์สีสันยางพารา (The Amazing Rubber Paint), หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบแหล่งกำเนิดรังสีเคลื่อนที่ (AGV-Cobot UVC), ชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 (PSU COVID-19), นวัตกรรมการคงสภาพสมุนไพรสด โดยใช้ RF Dry Blanching ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ คงสภาพสีและกลิ่นรสของสมุนไพรในฟิล์มบริโภคได้พร้อมปรุง (RF Dry Blanching), แผ่นฟิล์มถนอมอาหารและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ (Activ-Pack-19) และออฟติบอท สวทช. ขอเชิญชวนนักลงทุน นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ Startup ผู้ที่มองหานวัตกรรมและพร้อมลงทุน และผู้สนใจเข้าร่วมงาน THAILAND […]
กรุงเทพฯ 17 พ.ย. เคแบงก์ จับมือ ลู อินเตอร์เนชันแนล และ โรโบเวลธ์ ผนึกพลังพัฒนาแพลตฟอร์ม ‘FinVest’แอปฯ ตอบโจทย์นักลงทุนทุกคน ซื้อขายกองทุนได้ทั้งในไทยและทั่วโลก ตั้งเป้ามูลค่าลงทุนรวมกว่า 14,000 ล้านบาท นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปี 2563 ตลาดการเงินในประเทศไทยมีมูลค่า 44 ล้านล้านบาท มีการลงทุนในกองทุนรวมอยู่ 4.8 ล้านล้านบาท หรือราวร้อยละ 10เราพบว่าผู้ลงทุนในกองทุนรวมมีอายุน้อยลง และชอบทำรายการลงทุนบนช่องทางดิจิทัล มีความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้นนอกจากนี้เรายังพบว่าการลงทุนในรูปแบบ Open Architecture มีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี การพัฒนาแพลตฟอร์ม FinVest ในรูปแบบดิจิทัล เป็นการเสริมศักยภาพการลงทุนให้กับนักลงทุนรายย่อยในประเทศไทย สามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ทั่วโลกผ่าน FinVest ได้โดยตรง โดยเป็นการพัฒนาดิจิทัลเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างธนาคารที่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลแบงกิ้ง ร่วมกับลู อินเตอร์เนชันแนล (Lu International) ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัท ลูแฟ๊กซ์ โฮลดิ้ง (Lufax Holding) ในเครือผิงอันกรุ๊ป (Ping An Group) บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศจีน ซึ่งมีทีมงานพัฒนาด้านเทคโนโลยีการลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญระดับโลก โดยมี บลน. โรโบเวลธ์ จำกัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Wealth Tech เป็นผู้ดูแลการให้บริการแพลตฟอร์ม FinVest เพื่อให้เข้ากับตลาดทุนไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ความร่วมมือดังกล่าวยังตอกย้ำบทบาทการเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน (Banking Service) เต็มรูปแบบ โดยนำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลแบงกิ้งของธนาคารฯ ผสานกับความเชี่ยวชาญของพันธมิตรระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทค เพื่อทำให้บริการของธนาคารเข้าไปอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าใช้ชีวิตอยู่ นายคิท วอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลู อินเตอร์เนชั่นแนล (สิงคโปร์) กล่าวว่า ลู อินเตอร์เนชันแนล บริษัทในเครือผิงอันกรุ๊ปซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีจุดแข็งในการบริหารจัดการด้านการลงทุน และมีทีมงานพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญระดับโลก เล็งเห็นว่าประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญที่มีความก้าวหน้าด้านการสร้างการเติบโตในการลงทุน และเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย และโรโบเวลธ์ ในการพัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มการลงทุน ‘FinVest’ จะช่วยตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการลงทุนด้วยตัวเอง ลู อินเตอร์เนชันแนล เชื่อมั่นว่าการนำเสนอแพลตฟอร์ม ‘FinVest’ สู่ตลาดไทยจะช่วยยกระดับการลงทุนในรูปแบบดิจิทัลของไทยไปสู่แถวหน้าของภูมิภาค นายชลเดช เขมะรัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.) โรโบเวลธ์ จํากัด กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยสมบูรณ์ แต่ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนการลงทุนเพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อชีวิตหลังเกษียณ จากประชากร 70 ล้านคนในประเทศไทย มีน้อยกว่า 5% ที่เป็นผู้ลงทุนโดยตรงในตลาดหลักทรัพย์หรือลงทุนผ่านกองทุนรวม เนื่องจากคนทั่วไปมักกังวลเรื่องความเสี่ยง คิดว่าการลงทุนเป็นเรื่องยาก ทำให้ต้องใช้เวลามาก และมีความเข้าใจผิดว่าการลงทุนเป็นเรื่องของคนรวยเท่านั้น การให้บริการบนแพลตฟอร์ม ‘FinVest’ จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้นักลงทุนเข้าถึงช่องทางลงทุนที่มีประสิทธิภาพได้ โดยการได้รับข้อมูลวิเคราะห์การลงทุนในรูปแบบที่กระชับและเข้าใจง่าย นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ที่ได้ผ่านการคัดเลือกโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญร่วมกับผู้บริหารใน Product Screening Committee โดยโรโบเวลธ์จะให้บริการการเปิดบัญชี ซื้อขายหน่วยลงทุน ตลอดจนศูนย์บริการลูกค้า ผ่านแพลตฟอร์ม ‘FinVest’ ซึ่งเชื่อมต่อกับ Robowealth Open API ควบคู่ไปกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ของบริษัท ‘FinVest’ คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการลงทุน ภายใต้แนวคิด ‘ติดปีกการลงทุนให้คุณ’ ทำให้นักลงทุนไทยเข้าถึงการลงทุนได้ “ง่าย” เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน FinVest จะได้รับข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย คมชัด และ “ชี้เป้า” การลงทุนอย่างเป็นกลาง และสามารถเปิดบัญชีได้ผ่านสมาร์ทโฟน โดยลูกค้าเลือกผูกบัญชีกับธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย หรือธนาคารไทยพาณิชย์ได้ เน้นความ “หลากหลาย” สามารถลงทุนในกองทุนรวมต่าง ๆ ของบลจ.ชั้นนำในประเทศไทย 15 บลจ. ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% ของอุตสาหกรรม และบลจ.ชั้นนำจากทั่วโลกผ่านแอปฯ FinVest ได้โดยตรง กระบวนการทำงานทุกขั้นตอนมีความ “น่าเชื่อถือ” ที่ได้มาตรฐานฟินเทคระดับโลก-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 17 พ.ย. เฟสบุ๊กจับมือพันธมิตร เพิ่มพูนความรู้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ฝ่าวิกฤติโควิด-19 นางสาวเบธ แอน ลิม ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายโครงการเพื่อชุมชน ประจำ เฟสบุ๊ก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ในขณะที่ธุรกิจในประเทศไทยกำลังปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสภาวะนิวนอร์มอล เรายังคงมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือธุรกิจเหล่านั้นในการฟื้นตัว และต้องทำให้แน่ใจว่าความพยายามของเราจะเข้าถึงคนทุกกลุ่มโดยไม่มีข้อแม้ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความสามารถเพศวิถี และภูมิหลังด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร จากการดำเนินโครงการนี้ เราคาดหวังที่จะเป็นเหมือนสะพานเชื่อมเพื่อช่วยลดปัญหาช่องว่างทางทักษะ ด้วยการให้ความรู้ เสริมสร้างทักษะ และสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และชุมชนที่มีความหลากหลาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างศักยภาพการฟื้นตัวของกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เราทุกคนกำลังก้าวผ่านผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ระดับโลกความคืบหน้าของโครงการ Boost with Facebook เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนจากทุกภาคส่วน ในช่วงใกล้สิ้นปีภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ล่าสุดของโครงการฝึกอบรม Boost with Facebook ที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือยังรวมถึงการประกาศเปิดตัวคู่มือพลิกสถานการณ์เสริมสร้างศักยภาพการฟื้นตัวของธุรกิจขนาดย่อมที่ถูกจัดทำขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเฟสบุ๊กประเทศไทย ในการสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โครงการ Boost with Facebook ได้เสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่จำเป็นให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงผู้ประกอบการชาวไทย เพื่อช่วยผลักดันการเติบโตของธุรกิจของพวกเขา โดยช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ การจัดฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ภายใต้โครงการของเฟสบุ๊กซึ่งเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเข้าถึงคนไทยกว่า 2.3 ล้านคน นอกจากกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยและบุคคลทั่วไปแล้ว เฟสบุ๊กยังได้ดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียและพันธมิตรชุมชนต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดฝึกอบรมของโครงการสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการที่มาจากชุมชนชายขอบที่มีความสำคัญ เพื่อมอบโอกาสในการสนับสนุนการเติบโตเชิงเศรษฐกิจแก่ชุมชนที่มีความหลากหลาย ด้านนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียได้ร่วมมือกับเฟสบุ๊กเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมและผู้ประกอบการชาวไทย ด้วยทักษะและความเข้าใจที่มีต่อความรู้ด้านดิจิทัลที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ ประชาสังคม และภาคเอกชน เราได้มองเห็นถึงการเติบโตของผู้ที่เข้าร่วมโครงการจากคะแนนหลังการฝึกอบรมของพวกเขา และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้งานจริง เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของเราว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทยจำนวนมาก โดยการจัดฝึกอบรมให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากกลุ่มชุมชนชายขอบในประเทศไทย 2,183 ราย ผ่านการจัดฝึกอบรมในรูปแบบออฟไลน์ 19 ครั้งและออนไลน์ 27 ครั้ง โดยร้อยละ 60 ของผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้ประกอบการหญิง และร้อยละ 38 มาจากชุมชนชายขอบที่มีความสำคัญ เช่น กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQI) กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี และชนกลุ่มน้อย นายมานพ เอี่ยมสะอาด รองประธานบริหาร บริษัทเรย์วิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด องค์กรเพื่อช่วยเหลือผู้พิการให้มีทางเลือกที่เปิดกว้างพร้อมด้วยศักยภาพในการดำเนินชีวิตอย่างที่ต้องการได้มากขึ้น กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนทั่วไปได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างมากขึ้น อย่างบริษัทต่างๆ ที่เคยมีการจ้างงานผู้พิการตามอัตราโควต้า 1:100 พอบริษัทต้องปลดพนักงานทั่วไปออกเป็นหมื่นๆ คน โอกาสของการจ้างงานคนพิการก็ยิ่งน้อยลงอีก ปัญหาสำคัญที่เรามองเห็นคือความท้าทายสำหรับชุมชนผู้พิการที่จะผันตัวเองไปประกอบอาชีพอื่นๆ เมื่อเทียบกับคนทั่วไป การที่ได้มาร่วมอบรมในโครงการBoost with Facebook ทำให้เขามีโอกาส เรียนรู้เทคนิคการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น เราเห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เช่นภายในกลุ่มของเรา มีสมาชิกที่เริ่มมีอาชีพส่วนตัว หันมาขายของออนไลน์มากขึ้น หรืออย่างน้อยพวกเขาเริ่มเรียนรู้การใช้งาน เครื่องมือของเฟสบุ๊กและเป็นการเปิดช่องทางให้เขามีพื้นที่ได้แสดงออกหรือสื่อสารประสบการณ์ ของพวกเขา ทำให้รู้สึกมีคุณค่า หรือมีอิสระในการหาโอกาสใหม่ให้กับตัวเองมากขึ้น-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 17 พ.ย. ดีอีเอส โต้ข้ออ้างไทยคมเลี่ยงความรับผิดชอบ กรณีดาวเทียมชำรุดก่อนครบสัญญา น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กรณีดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งประสบปัญหาขัดข้องจนต้องปลดระวางก่อนวันครบกำหนดสัญญาสัมปทาน ที่ผ่านมากระทรวงฯ ในฐานะคู่สัญญากับ บมจ. ไทยคม ซึ่งเป็นเอกชนผู้รับสัมปทาน ได้เจรจาให้ บริษัทแสดงความรับผิดชอบเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งกับลูกค้าผู้ใช้บริการ และกับรัฐในฐานะผู้ให้สัมปทาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อยุติร่วมกัน และล่าสุดผู้บริหาร บมจ.ไทยคม ออกมากล่าวอ้างให้ข้อมูลเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน ดังนั้น กระทรวงฯ จำเป็นต้องออกมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อตอบโต้ข้อกล่าวอ้างของเอกชนในประเด็นหลักๆ ดังนี้ การที่ผู้บริหารของไทยคม ระบุว่าได้ดำเนินการตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานครบถ้วนมาตลอดนั้น สัญญาสัมปทานนี้ทำขึ้นเมื่อปี 2534 มีข้อกำหนดชัดเจนให้บริษัทฯ มีหน้าที่จัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยมีดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองซึ่งจัดส่งขึ้นสู่วงโคจรให้ทันใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องกับการสิ้นอายุของดาวเทียมดวงก่อน อีกทั้ง เมื่อถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน บริษัทฯ ต้องส่งมอบทรัพย์สินภายใต้สัญญาฯ คืนให้กระทรวงฯ โดยดาวเทียมต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ ณ ตำแหน่งวงโคจร รวมทั้งสถานีควบคุมดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ทั้งนี้ จากข้อสัญญาข้างต้น ชัดเจนว่าเงื่อนไขสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่จำนวนดาวเทียมที่บริษัทฯ มีการจัดสร้างเพื่อให้บริการ และในวันสิ้นสุดอายุสัญญา ทรัพย์สินในโครงการทั้งหมดที่ต้องส่งมอบให้กับกระทรวงฯ ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานดาวเทียมไทยคมต้องยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของอายุดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งขึ้นสู่วงโคจรเพื่อให้บริการในปี 2549 นั้น กระทรวงฯ เคยได้รับแจ้งจากบริษัทฯ เมื่อปลายปี 2560 ว่า ดาวเทียมดวงนี้จะหมดอายุทางวิศวกรรมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 เนื่องจากเชื้อเพลิงในระบบขับเคลื่อนจะหมด พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยื่นข้อเสนอขอเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนเพิ่มเติมให้กับดาวเทียมไทยคม 5 และขอแก้อายุสัญญาสัมปทาน “สำหรับข้อเสนอครั้งนั้น กระทรวงฯ เห็นชอบหลักการให้บริษัทฯ เฉพาะในเรื่องคำขอเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนเพิ่มเติมให้กับดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งบริษัทก็ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม 2562” น.ส.อัจฉรินทร์กล่าว อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม 2562 บริษัทฯ ได้แจ้งว่าเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคของระบบแจ้งสถานะของดาวเทียมไทยคม5 และพยายามทำการแก้ไขแต่ไม่สำเร็จ และได้แจ้งว่าจะต้องปลดระวางดาวเทียมออกจากวงโคจร ซึ่งกระทรวงฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบทางเทคนิค และพบว่าไทยคม 5 เกิดการขัดข้องจริง โดยเกิดจากระบบแจ้งเตือนสถานะบนดาวเทียม (Telemetry) ไม่ส่งสัญญาณลงมา โดยเป็นการเสียแบบเฉียบพลัน ประกอบกับเมื่อปี 2561 บริษัทฯ พบปัญหาอุปกรณ์ Telemetry ตัวที่ 1 ใช้งานไม่ได้ และตัดสินใจใช้งานตัวสำรองแทน ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยไม่เคยแจ้งให้กระทรวงฯ รับทราบ “จากข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่สอดคล้องกับข้ออ้างของ บมจ.ไทยคม ที่ให้ข้อมูลกับสื่อว่า ดาวเทียมไทยคม 5 ชำรุด เพราะหมดอายุวิศวกรรมและใช้งานเกินกว่าอายุที่กำหนด” ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว นอกจากนี้ การที่บริษัทปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นหน้าที่ของบริษัทฯ ที่จะดำเนินการตามข้อปฏิบัติสากล กระทรวงฯ รับทราบว่าต้องดำเนินการแต่ไม่ได้อนุมัติหรือเห็นชอบ และกระทรวงฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการตามข้อกำหนดของสัญญาฯ หลังการปลดระวางด้วย เช่นเดียวกับการปลดระวางดาวเทียมดวงก่อนๆหน้านี้ อีกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานไทยคม ก็คือ ข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีการจัดทำร่วมกันตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทฯ ต้องชำระให้กับกระทรวงฯเป็นร้อยละของรายรับรวมทั้งสิ้นในแต่ละปีก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ โดยเอาจำนวนผลประโยชน์ที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ ดังนั้นข้อมูลที่เอกชนกล่าวอ้าง ถึงตัวเลขที่มีการชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ของดาวเทียมจนถึงปัจจุบัน ว่า เป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงถือเป็นข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อสาธารณชน ที่ไม่ทราบถึงรายละเอียดของสัญญาในประเด็นนี้-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 16 พ.ย. เอกชนพร้อมให้บริการระบบติดตามนักท่องเที่ยวใน State Quarentine วอนรัฐให้ความชัดเจนมาตรการสร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยว นายฉัตรชัย ตั้งจิตตรง กรรมการผู้จัดการ บริษัททีเอ็มเอส โฮลดิ้ง กล่าวว่า บริษัทฯ มีประสบการณ์ในการทำระบบติดตามและดูแลผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราที่มลรัฐฟอริด้า สหรัฐอเมริกา ก่อนจะเป็นผู้ให้บริการระบบติดตามสุขภาพนักท่องเที่ยวให้กับโรงแรมของหมู่เกาะเคแมน 6 แห่ง ภายใต้ชื่อโครงการ Hotel Bubble โดยบริษัทฯให้บริการอุปกรณ์ติดตามตัวด้วยสายรัดข้อมือ พร้อมระบบจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าพักในโรงแรมซึ่งเป็นการดำเนินมาตรการ State Quarentine เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 “เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)จะเข้าพักในโรแรมทร่เป็น State Quarentine เป็นเวลา 14 วัน นักท่องเที่ยวจะได้รับสายรัดข้อมือที่มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลทางสุขภาพของนักท่องเที่ยว อุปกรณ์จะส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที้ dashboard (ระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล) เพื่อแสดงผลการติดตามสุขภาพของนักท่องเที่ยว ตัวรีสแบนด์ จะเก็บข้อมูลพื้นฐานทางสุขภาพ การเดิน การนอน และข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิของนักท่องเที่ยวซึ่งสำคัญมากกับการเฝ้าระวังโควิด-19 หากเกิดความผิดปกติระบบจะแจ้งเตือนนักท่องเที่ยว เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาดูและ รวมถึงหากเกิดเหตุผิดปกตินักท่องเที่ยวสามารถกดปุ่มแจ้งเตือนได้ด้วยตัวเอง” นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า การให้บริการที่หมู่เกาะเคแมนถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีโดยยังให้บริการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในฐานะบริษัทของคนไทยจึงอยากน้ระบบนี้มาให้บริการในประเทศไทยที่มีมูลค่าของการท่องเที่ยวมากมหาศาล โดยระบบและอุปกรณ์ที่จะเอามาให้บริการเป็นระบบเดียวกักับที่ให้บริการที่หมู่เกาะเคแมน โดยบริษัทฯได้ทำโครงการนำร่องที่ท่าเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ตไปแล้ว “ทีเอ็มเอสพร้อมให้บริการในพื้นที่ที่กำหนดเป็น State […]
สวทช. ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ราชพฤกษ์ จำนวน 370 เมล็ด ขึ้นสู่อวกาศในภารกิจ SpaceX Crew-1 ต่อยอดสู่การวิจัยการปลูกบนดาวเคราะห์ดวงอื่นในอนาคต