พัฒนามะม่วงพรีเมียม เพิ่มโอกาสส่งออกสู่เงินล้าน
โปรแกรม ITAP สวทช. ส่งเสริมระบบการบ่มมะม่วงด้วยแก๊สเอทิลีน ช่วยให้มะม่วงสุกอย่างทั่วถึง และลดการสูญเสียน้ำของผลไม้ ทำให้เกษตรกรสามารถส่งขายตลาดผลไม้เกรดพรีเมียมได้มากขึ้น
โปรแกรม ITAP สวทช. ส่งเสริมระบบการบ่มมะม่วงด้วยแก๊สเอทิลีน ช่วยให้มะม่วงสุกอย่างทั่วถึง และลดการสูญเสียน้ำของผลไม้ ทำให้เกษตรกรสามารถส่งขายตลาดผลไม้เกรดพรีเมียมได้มากขึ้น
กรุงเทพฯ 28 พ.ย.รัฐเปิดคลาวด์กลางเชื่อมข้อมูลและ 5G ไว้แล้วก่อนเริ่มใช้จริงปีหน้า พร้อมหนุนหลักสูตร Digital CEO ต่อยอดภาคธุรกิจดิจิทัลไทย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในโอกาสเป็นประธานงานนำเสนอผลงานผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 3 และมอบสัมฤทธิบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กำชับให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาการใช้เทคโนโลยีให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา เราเปิดกว้างให้คนหันมาใช้ดิจิทัล ในการทำงาน การประชุมผ่านระบบออนไลน์ ใช้ในการสั่งซื้อของและเรื่องต่าง ๆ ก้าวแรกที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัลได้นั้น จะต้องมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเองและล่าสุดเราได้มีคลาวด์กลางของภาครัฐ หรือ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) แล้ว เพื่อรวบรวมข้อมูลของทุกกระทรวงหน่วยงานของภาครัฐมาไว้ที่เดียวกัน เพื่อสอดรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ช่วยลดขั้นตอน ลดการใช้เอกสารจำนวนมาก ๆ ในการติดต่อราชการของทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งในอนาคตอันใกล้ทุกระบบของหน่วยงานราชการจะต้องเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด และรัฐต้องมีข้อมูลของประชาชนไว้เพื่อออกนโยบายมมาดูแลคนได้อย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน ซึ่งการมีคลาวด์กลางของภาครัฐนั้นเป็นเรื่องที่ดีมากในการลดการใช้งบประมาณของแต่ละกระทรวงในการเช่าพื้นที่คลาวด์เก็บข้อมูลซึ่งราคาการเช่ากับบริษัทภายนอกนั้นมีราคาสูงมาก ส่วนการพัฒนา 5G ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆในภูมิภาคอาเซียน ที่ได้ให้หน่วยงานของภาครัฐเข้าประมูลคลื่น 5G เพื่อนำมาบริหารการใช้งานในภาคส่วนต่างๆ แทนที่จะไปเช่าเอกชน ซึ่งภายในไม่เกิน 2เดือนนี้ ทุกคนจะได้ใช้5G ที่ไม่ใช่แค่ผ่านมือถือเท่านั้น แต่ภาคธุรกิจจะถือว่ามีประโยชน์มาก ทั้งเพื่อการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความรวดเร็ว อีกทั้ง ปัจจุบันแรงงานไทยเหลือน้อยมาก จะรอใช้แต่แรงงานต่างชาติไม่ได้แล้ว ซึ่ง 5G จะเข้ามาแทนที่ทำโรงงานที่ใช้ดิจิทัลเท่านั้น แต่จะช่วยลดต้นทุน และได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น 5G จะรองรับภาคประชาชน ภาคการลงทุน และทุกภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย นายพุทธิพงษ์ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลต้องแข่งกับต่างประเทศโดยใช้ดิจิทัลมาช่วย เพราะโลกเปลี่ยนไปเร็วมาก การแข่งขันจะแข่งกันวันต่อวัน ซึ่งวางแผนเป็นปีจะไม่ทันแน่นอน ดังนั้น รัฐบาลได้วางโครงสร้างพื้นฐานและลงทุนไปเยอะแล้ว จึงอยากให้ภาคเอกชนได้ใช้ทรัพยากรที่ภาครัฐลงทุนไปให้คุ้มกับภาษีที่ภาคเอกชนได้เสียไปให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อประเทศของเรา นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า แนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ที่สะท้อนว่าประเทศไทยมีการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และกำลังก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง และปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ คือ การพัฒนากำลังคนและบุคลากรดิจิทัล ซึ่งจะเป็นกลไกหลักในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำองค์กรในยุคดิจิทัล ทั้งภาครัฐภาคเอกชน จะต้องเท่าทันและพร้อมรับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการประยุกต์ใช้ การบริการจัดการองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ สำหรับหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นรุ่นที่ 3 มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้นำองค์กรในทุกมิติ เน้นต่อยอดองค์ความรู้การบริการจัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการบริหารจัดการองค์กร รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจสังคมยุคใหม่ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารภาครัฐและเอกชนที่เป็นเครือข่ายอันเข้มแข็งในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ซึ่งในหลักสูตร มีผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมอบรมจำนวน 83 ท่าน ได้ร่วมกันเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านการบรรยาย กรณีศึกษา ตลอดจนการศึกษาดูงานเพื่อถอดบทเรียนจากองค์กรชั้นนำ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ กว่า 100 ท่าน มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าอบรมด้วย เพื่อต่อยอดเป็นโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาสังคมในลำดับต่อไป-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 27 พ.ย. รัฐมนตรีดีอีเอส หารือตำรวจย้ำให้เร่งอบรมด้านเทคนิคแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เดินหน้าแก้ปัญหาคดีฉ้อโกงออนไลน์ และคดีด้านเทคโนโลยีทั้งหมดให้ประชาชนทั่วประเทศ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ.(เอ็ตด้า ) ประชุมน่วมกับ พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) (กองบัญชาการตำรวจไซเบอร์) นำระดับผู้บังคับการแต่ละภาค โดยนายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ก่อนการจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจไซเบอร์นั้นสืบเนื่องจากพบปัญหาทางคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีมีจำนวนมาก และเมื่อประชาชนไปแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) จำนวนเจ้าหน้าที่ มีไม่เพียงพอต่อการเร่งดำเนินการและเกิดความไม่คล่องตัว บางกรณีไม่มีเจ้าทุกข์แต่เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายปัญหาจึงไม่ถูกแก้ไข ตนจึงหารือกับพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่าจำเป็นจะต้องมีกองบัญชาการตำรวจไซเบอร์เพื่อเข้ามาช่วยประชาชนที่มีความเดือดร้อนในคดีทางเทคโนโลยี ที่นับวันยิ่งมีจำนวนมากขึ้นหลายเท่าตัว และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี จนสุดท้ายสามารถจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) เรียกง่าย ๆ ว่ากองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ขึ้นในที่สุด กองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ จะต้องเร่งคัดเลือกบรรจุบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งจัดอบรมให้ความรู้ใน 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ระดับผู้เชี่ยวชาญ และระดับปฏิบัติการ เพื่อสามารถทำงานให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับวางแนวทางขั้นตอนการทำงานของตำรวจไซเบอร์ที่ประจำแต่ละพื้นที่ให้ปฏิบัติงาน เช่น วิธีการรับแจ้งความทางออนไลน์ การเก็บพยานหลักฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ สอท.ต้องประสานการทำงานกับตำรวจปอท. ศูนย์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) และกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ปท.)กระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นเอกภาพ เช่น การลงพื้นที่จับกุมเว็บพนันออนไลน์จำเป็นต้องเชื่อมโยงการทำงาน เบื้องต้น กองบัญชาการฯ ต้องให้ความสำคัญและเร่งทำคือ เรื่องการโพสต์ข้อความไม่เหมาะสม ,การจัดการด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ จากตัวอย่างที่เกิดกับโรงพยาบาลสระบุรี และการประกาศแฮกเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ,การติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิดที่ประชาชนผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ แจ้งความเข้ามา รวมถึงการขอออกหมายศาล หมายค้น หมายจับต่าง ๆ ซึ่งกองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ ต้องเน้นการบริการรับแจ้งความช่วยเหลือความเดือดร้อนให้ประชาชนเป็นหลัก นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรี ได้ฝากให้กองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ทั่วประเทศ ช่วยกันแก้ปัญหาภัยด้านเทคโนโลยี เช่น การฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนในการซื้อของออนไลน์ รวมถึงการจัดให้มีเครื่องสแกนกล่องพัสดุที่ถูกส่ง ทั้งในและจากต่างประเทศเพื่อป้องกันการส่งของที่ผิดกฎหมายเช่น อาวุธเถื่อน ยาเสพติด เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด และการเก็บภาษีแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศเพื่อนำภาษีมาพัฒนาประเทศในอนาคตซึ่งต้องหารือร่วมกับกรมสรรพากร ในลำดับต่อไป ด้านผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทุกนาย พร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งในช่วงก.พ.-เม.ย.2564 จะมีการแต่งตั้งและโอนย้ายมาช่วยราชการได้ เบื้องต้น กว่า 1,000 นายและเร่งดำเนินการอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีให้เกิดความชำนาญ โดยทาง ผบ.ตร. ก็ได้มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดูและประชาชนเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องการรับแจ้งเหตุ แจ้งความผ่าน application บนมือถือด้วยวิธี Video Call ได้ แจ้งรายชื่อ ร้อยเวรได้ เพื่อลดปัญหาเรื่องไม่เข้าใจในการเก็บข้อมูล ซึ่งเรื่องใดที่เกี่ยวกับไซเบอร์ ทาง สอท. ดำเนินการเอง ส่วนเรื่องทั่วไป (มโนสาเร่) ให้ท้องที่ดำเนินการ โดยให้สอท. ช่วยเหลือ เป็นการทำงานควบคู่กันไป-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 27 พ.ย. โคเวย์เชื่อนวัตกรรมอากาศ – น้ำ รองรับเทรนด์ดูแลสุขภาพ นายปาร์ค ชุน ยง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิดความต้องการอุปกรณ์ดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจด้านสุขภาพและสุขอนามัยจึงเป็นโอกาสของนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ คาดว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านน้ำและอากาศ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะมีความต้องการสูง เทคโนโลยีเรือธงของโคเวย์ ในส่วนของเครื่องฟอกอากาศ มีเทคโนโลยี Coway Hepa Filter ที่มีประสิทธิภาพการฟอกอากาศขจัดอนุภาคฝุ่นเล็กสุดขนาด 0.1 ไมครอนได้ร้อยละ 98.339 อนุภาคฝุ่นขนาด 0.2 ไมครอนได้ร้อยละ 99.304 อนุภาคฝุ่น 0.3 ไมครอน ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดร้อยละ 99.578 ทำให้การกรองฝุ่น PM 2.5 ด้วยสมรรถนะฟิวเตอร์กรองอากาศทั้ง 4 ชั้นจึงสามารถป้องกันเชื้อหวัด กลิ่นบุหรี่ ฝุ่นขนาดเล็ก แบคทีเรีย เชื้อรา ขนสัตว์ กลิ่นไม่พึงประสงค์ทุกชนิด และเชื้อโรค การพัฒนาเรื่องน้ำประเทศไทยในแผนที่น้ำโคเวย์ คุณภาพน้ำประปาอยู่ในระดับดี (สีน้ำเงิน) จึงได้ส่งระบบ Reverse Osmosis หรือ RO การพัฒนาระบบ RO ด้วยเทคโนโลยี Nano Membrane นวัตกรรมที่องค์การนาซ่าใช้ในการกรองน้ำดื่มในยานอวกาศ สามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนอินทรีย์ และกรองอนุภาคที่มีขนาดเล็กได้ถึง 0.0001 ไมครอน จึงกำจัดโลหะหนัก สารพิษและสารกัมมันตรังสี แปลว่า ด้วยเครื่องกรองน้ำโคเวย์ จะทำให้คุณผลิตน้ำดื่มสะอาดบริสุทธิ์ถึงร้อยละ99.99 ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ตลาดในไทย นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา โคเวย์เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 38 ด้วยจุดแข็งทางเทคโนโลยีทั้งหมดคาดว่าจะตอบสนองความสนใจรักสุขภาพของคนไทยได้-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 27 พ.ย. รัฐเปิดศูนย์เอไอภาครัฐเล็งใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบและบริการให้ ช่วยขับเคลื่อนบริการประชาชน นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เปิด ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ ภาครัฐ โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน)หรือDGA โดยนายอนุชากล่าวปาฐกถาถึงความสำคัญในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐว่า ประเทศใดที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความสามารถการผลิตและยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถประยุกต์ใช้ในบริบทที่หลากหลาย ประเทศนั้นย่อมสร้างความได้เปรียบในหลากหลายมิติ เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการทำงานของรัฐ เพื่ออำนวยความสะดวก ประชาชน ประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มศักยภาพด้านผลผลิต (productivity) ให้กับประชาชนตลอดจนยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ผลคือ Government Artificial Intelligence Readiness Index 2019 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 56 จาก 196 ประเทศโดย เทียบจากดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การกำกับดูแล, โครงสร้างพื้นฐานและข้อมูล, ทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ และการศึกษา รวมถึงการประเมินในส่วนของรัฐบาล และการบริการสาธารณะต่ำกว่า แม้ว่าในปี 2020 ประเทศไทยจะ อยู่ในอันดับที่ 60 เนื่องจากประเทศต่างๆเริ่มตื่นตัวในการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น ในส่วนของภาครัฐไทยเองยังจำเป็นต้องมีการวางยุทธศาสตร์ชาติด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นรูปธรรม การจัดตั้งหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อผลักดันและประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล “เอไอเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่มุ่งเน้ความโปร่งใส มีบริการรวดเร็วตอบสนองบริการทุกภาคส่วนประชาชนเข้าถึงภาครัฐและมีส่วนร่วม สามารถรองรับเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ” นายอนุชากล่าว ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเข้ามารองรับความต้องการทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา เนื่องจากการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานี้จะใช้เวลานาน ส่งผลให้ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องลงทุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในมูลค่าที่สูง จึงเกิดแนวความคิดที่จะรวบรวมผลงานปัญญาประดิษฐ์พร้อมใช้ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ มีความตั้งใจพัฒนาเพื่อประเทศไทย มาพบปะหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ร่วมกัน รวมถึงการสร้าง ชุมชนปัญญาประดิษฐ์ (AI Community) ผ่านศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือ จากทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการศึกษา เพื่อให้ AI สร้างผลงานและแจ้งเกิดอย่างเป็นรูปธรรม-สำนักข่าวไทย.
กทม. 27 พ.ย. 63 – กสว. เห็นชอบหลักการ TBIR เสริมศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กสว. เห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนทุนสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการของภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดใหญ่ (Thailand Business Innovation Research: TBIR / Thailand Technology Transfer Research: TTTR) ที่จะเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ครั้งที่ 11/2563 ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาและให้ความเห็นการดำเนินการขับเคลื่อนกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม โดยมีการพิจารณา เรื่องการขออนุมัติหลักการมาตรการสนับสนุนทุนสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการของภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่ตลาดขนาดใหญ่ ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธาน กสว. กล่าวว่า กสว. เห็นชอบในหลักการมาตรการ TBIR ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่เข้าไปหนุนเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีใช้ในหลายประเทศที่เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการนำมาปรับใช้ในบริบทของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยนั้น กสว. มีข้อสังเกตถึงหลักการระบบ รวมถึงแนวทางการจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้คณะทำงานศึกษาต่อถึงแนวทางการวางกรอบการทำงาน การสร้างกลไกต่าง ๆ การทำงานในเชิงนโยบายและประสานระบบต่างๆ เข้าด้วยกันให้สามารถดำเนินงานได้ โดยเน้นย้ำว่า บทบาทของ กสว. และ สกสว. เป็นผู้ช่วยผลักดันให้เกิดขึ้น ส่วนการให้ทุนสนับสนุนประเด็นนี้ยังคงเป็นบทบาทของหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ที่รับผิดชอบงานด้านนวัตกรรม ซึ่งรายละเอียดการดำเนินงานนั้นยังเป็นประเด็นที่จะต้องศึกษากันต่อไป ด้าน รศ.ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนาระบบและเครือข่าย ววน. สกสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมา สกสว. ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ยกร่างมาตรการสนับสนุนทุนสำหรับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการของภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดใหญ่ (TBIR / TTTR) ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรม มีแนวคิดว่าวิสาหกิจ SMEs คือหนึ่งในผู้สร้างนวัตกรรม จึงส่งเสริมให้ทำโครงการวิจัยที่ตรงกับความต้องการของภาครัฐและสังคม จากนั้นจึงพัฒนาแนวคิดนี้ให้สอดคล้องตามบริบทของประเทศไทย ทำให้เกิดมาตรการTBIR/TTTR ที่เป็นกลไกการให้ทุนสนับสนุนโดยอาศัยหลักการของการแข่งขัน เพื่อให้ได้ข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและมีศักยภาพสูง ภายใต้โจทย์ความต้องการจากภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดขนาดใหญ่ โดยเป็นการสนับสนุนทุนให้แก่ผู้ประกอบการทั้งวิสาหกิจขนาดใหญ่ระดับต้น ขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ที่อยู่ในช่วงที่มีศักยภาพหรือกำลังพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยและพัฒนาด้าน ววน. เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมีแผนการขับเคลื่อนมาตรการ TBIR นำร่องในปีงบประมาณ 2564 โดยคาดหวังว่าในปีงบประมาณ 2565 จะสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มรูปแบบ .-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 27 พ.ย. – คอม7 เผยยอดจองไอโฟน 12 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ คาดจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยและ 5G กระตุ้นความต้องการผู้บริโภคหนุนทิศทางธุรกิจปลายปีเติบโตขึ้น นายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 กล่าวว่า ภาพรวมยอดจองไอโฟน12 ออนไลน์อยู่ในระดับที่น่าพอใจ จากการเปิดจองออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย.ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีมากที่สุดเท่าที่เคยเปิดจองไอโฟนมา ยอดจองที่สูงขึ้นน่าจะมาจากมุมมองของผู้บริโภคสินค้าเทคโนโลยียังมีโอกาสเติบโตประกอบกับกระแส 5G กระตุ้นผู้บริโภคเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ “ภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนทั้งปีในปีนี้น่าจะเติบโตเท่ากับปี 2562 คือประมาณร้อยละ 10 หรือมียอดขายรวมประมาณ15 ล้านเครื่อง ขณะที่คอม7 มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ร้อยละ 10 โดยมีรายได้ 3.3 หมื่นล้านบาทตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนปี2564 น่าจะมีอัตราการเติบโตเท่าๆกัน จากความมั่นใจในมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความชัดเจนมากขึ้น คอม7 ตั้งเป้าเติบโตในปี 2564 ที่ร้อยละ10 จากการพัฒนาช่องทางออนไลน์ โดยจะเปิดตัวเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ในไตรมาสแรกของปีหน้า “ การลงทุนในปี 2564 จะเน้นไปที่การลงทุนพัฒนาเว็บไซต์และซอฟแวร์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์รือเอไอมาใช้ โดยลงทุนในส่วนนี้ 40 ล้านบาท งบลงทุนภาพรวม 400 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงการขยายสาขาภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัท โดย ณ สิ้นไตรมาส 3/2563 คอม7 มีสาขารวมทั้งหมด 811 สาขาแบ่งเป็น BaNANA 257 สาขา Studio7 102 สาขา KingKong Phone 96 สาขา True Shop by Com7 121 สาขาแฟรนไชส์ 97 สาขา BKK 54 สาขา iCare 27 สาขาและพื้นที่อื่น 57 สาขา ปี 2564 จะเปิดสาขาในต่างจังหวัดอีกร้อยละ 70-80 หรือมากกว่า 100 สาขา -สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 26 พ.ย. ดีเอชแอล ยอดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ช่วงปลายปีจะสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ยอดส่งสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 นายเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลคนอยู่ที่บ้านและทำให้ยอดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เรากำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเทศกาลปลายปีซึ่งจะมีความต้องการใช้บริการขนส่งสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคต้องการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลมากขึ้นหลังจากที่ต้องเก็บตัวอยู่บ้านมานานในช่วงแพร่ระบาด ประสบการณ์การช้อปปิ้งของผู้บริโภคในปีนี้จึงเปลี่ยนไปจากเดิม ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ระหว่างประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยร้อยละ 85 ของผู้คนทั่วโลกใช้เวลาช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 45 ของคนรุ่นมิลเลนเนียล (Millennial) ยังคงช้อปออนไลน์อย่างต่อเนื่องถึงแม้จะเป็นช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นไปอย่างราบรื่น ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสได้เสริมความแข็งแกร่งในการให้บริการ โดยเพิ่มจำนวนเครื่องบิน เส้นทางบิน การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงโซลูชั่นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบทั้งธุรกิจค้าปลีก B2C และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ B2B ที่ต้องปรับตัวสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มตัว ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ยังคงลงทุนและเสริมความแข็งแกร่งด้านการบริหารจัดการการขนส่งในทุกขั้นตอนการทำงานอย่างต่อเนื่องให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้วัตถุประสงค์ของบริษัทฯ เพื่อเชื่อมต่อผู้คนทั่วโลกและยกระดับคุณภาพชีวิต ‘Connecting people, improving lives’ บริษัทฯ เตรียมการเป็นอย่างดีเพื่อรับมือกับความต้องการของลูกค้า และมั่นใจว่าการจัดส่งสินค้าจะถึงมือผู้รับภายในเวลาที่รวดเร็วที่สุด รวมถึงของขวัญช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่จะต้องถูกนำส่งไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลกให้ทันตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ผู้ค้าออนไลน์จะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซทั่วโลก และสามารถใช้ชิปปิ้งแพลตฟอร์ม iExpressByDHL เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 26 พ.ย. นายกฯ ย้ำระบบ Gov Cloud เป็นฐานข้อมูลของประเทศ ลดความซ้ำซ้อน หวังภายในปี 66 จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงาน“Gov Cloud 2020” The Future of Digital Government โดนกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “Gov Cloud : Digital Foundation for Government Transformation” ว่า ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมไปสู่ประเทศดิจิทัล และใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ในการแก้ปัญหาต่างๆเช่น สถานการณ์โควิด-19 ในขณะนี้ และจะนำไปแก้ปัญหาอื่นๆได้ในอนาคต ยืนยันรัฐบาลจะเดินหน้ายุค smart government ทำให้ภาครัฐมีบทบาทสำคัญและพัฒนาไปสู่ยุค 4.0 และยุคนิวนอร์มอล เป็นการตอบสนองและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ภาคธุรกิจ รวมถึงการบริหารประเทศ เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะระบบราชการที่ต้องมีคลังข้อมูลและใช้ข้อมูลเดียวกัน ซึ่งในปี 65-66 หวังว่าฐานข้อมูล Gov Cloud จะเป็นแพลตฟอร์ม ที่ช่วยเรื่องของการบริหารจัดการ ทั้งการเป็นฐานข้อมูลให้ทางราชการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชน นำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงรองรับการใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ และแพลตฟอร์มนี้จะเป็นข้อมูลที่ดี ต่อยอดการบริการภาครัฐ และที่สำคัญคือต้องพัฒนาคนควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำให้คณะรัฐมนตรีไปหาแนวทาง การแก้ปัญหาความยากจนให้กับประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย พร้อมย้ำว่าการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวใจสำคัญคือประชาชนต้องเข้าถึง และได้ประโยชน์สูงสุด-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 26 พ.ย. ดีอีเอส ชู Gov Cloud 2020 แสดงศักยภาพคลาวด์กลางภาครัฐ ขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลยกระดับการให้บริการประชาชน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในโอกาสที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงาน“Gov Cloud 2020” The Future of Digital Government ว่า ความสำเร็จเบื้องต้นของการพัฒนาบริการคลาวด์ภาครัฐเป็นที่น่าพอใจ โดยจำนวนหน่วยงานที่ใช้งาน Gov Cloud เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ระบบของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งได้เริ่มมีการใช้งานจริงในการแก้ไขปัญหาและให้บริการต่างๆ โดยหน่วยงานที่ใช้ระบบคลาวด์ GDCC ในการพัฒนาระบบงานและเพิ่มประสิทธิภาพบริการประชาชนได้เข้ารับมอบโล่เกียรติคุณจากนายกรัฐมนตรีในงาน Gov Cloud 2020 ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พัฒนาระบบ EEC-OSS โดยเป็นช่องทางคัดกรองและอำนวยความสะดวกให้นักลงทุน สามารถเข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำด้วยบริการแบบ One-Stop Service กรมการขนส่งทางบก ผลงาน ‘Smart Bus Terminal’ ระบบติดตามรถโดยสารประจำทาง แสดงตารางการเดินรถแบบเรียลไทม์ของสถานีขนส่ง 81 แห่งทั่วประเทศ ผ่าน GPS Tracking ที่ติดตั้งบนรถโดยสารประจำทางทุกคันสามารถตรวจสอบข้อมูลการเดินทางได้ตลอดเวลา ตำรวจภูธรภาค 8 พัฒนาระบบโครงการภาค 8 “4.0” ในแอปพลิเคชัน POLICE 4 ด้วย 4 ฟังก์ชั่นที่โดดเด่น คือCrime Mapping แผนที่อาชญากรรมหลายมิติ, CCTV Mapping แผนที่กล้องวงจรปิดทุกตัว, Red Box QR Code ใช้แทนสมุดตรวจแบบเดิม และ Stop Walk Talk and Report ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่แบบเรียลไทม์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พัฒนาระบบ Digital Healthcare Platform เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลสาธารณสุขซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกระบบที่เกี่ยวกับผู้ป่วยโควิด-19 มาไว้ส่วนกลาง ทำให้สามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน จัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ หรือ NEIC (National Energy Information Center) ซึ่งเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง บูรณาการและเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานให้กับทุกภาคส่วน เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ คาดการณ์ด้านพลังงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า ระบบคลาวด์กลางหรือ Gov Cloud จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านไอทีให้กับรัฐบาลเพื่อก้าวสู่การทำงานแบบรัฐบาลดิจิทัลตามแผน โดยปี 2563 ได้เน้นบริหารจัดการ Cloud Infrastructure เพื่อให้บริการทรัพยากรระบบคลาวด์แก่หน่วยงานรัฐซึ่งล้วนมีความตื่นตัวกับเทคโนโลยีและให้ความสนใจอย่างมากในการนำระบบงานมาใช้บนคลาวด์กลาง ภายในปี 2564 มุ่งสู่การสร้างบริการระดับแพลตฟอร์มที่ทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมต่อกันได้ จากนั้นปี 2565 โฟกัสการขยายผลการใช้ AI ในด้านเกษตรกรรม และด้านอื่น ๆ รวมทั้งการนำร่องระบบ Data Sharing มีการแบ่งปันข้อมูลข้ามหน่วยงานผ่านแพลตฟอร์มกลางเพื่อขยายผลนำไปสู่การใช้ AI และ IoT ในวงกว้าง และภายในปี 2566 มุ่งสู่การขับเคลื่อนนโยบายการให้บริการข้อมูลภาครัฐแบบเปิดในรูปแบบGovernment as a Platform ที่มีการบูรณาการข้อมูลร่วมกันด้วยแพลตฟอร์ม มุ่งไปสู่การให้บริการภาครัฐแบบเปิดอย่างแท้จริง ทิศทางการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ในระยะต่อไป ใน ปี 2564 มุ่งสู่การเป็น Platform ที่ทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยจะมีการขยายการใช้งานในหน่วยงานภาครัฐ และมีการขยายผลการใช้ AI ในด้านเกษตรกรรมและด้านอื่น ปี 2565 มุ่งสู่การนำร่องระบบ Data Sharing มีการแบ่งปันข้อมูลข้ามหน่วยงาน ด้วยการสร้าง Platform เชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้ง ขยายผลนำไปสู่การใช้ AI และ IoT ในวงกว้าง และภายในปี 2566 มุ่งสู่การขับเคลื่อนนโยบายการให้บริการข้อมูลภาครัฐแบบเปิดในรูปแบบ Government as a […]
กรุงเทพฯ 25 พ.ย. ดีอีเอส ผลักดันหลักสูตรผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรองรับการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัล นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กล่าวภายหลังมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหลักสูตรการออกแบบเครื่องมือดิจิทัล (Digital Solution)ว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ต่างขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ในส่วนของภาครัฐก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของรัฐ (Government Service and Operating Model) ให้มีความทันสมัยรวดเร็ว มีประสิทธิผลและปลอดภัย สอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของประชาชน ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต้องการให้รัฐตอบสนองการให้บริการประชาชนที่หลากหลายช่องทาง ดังนั้น การจัดทำหลักสูตรอบรมครั้งนี้ จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างเสริมสมรรถนะดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ การปรับเปลี่ยนกระบวนงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการออกแบบเชื่อมโยงงานบริการดิจิทัลภาครัฐ (Digital Service Solution) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์) มุ่งหวังให้ประชาชนได้รับประสบการณ์ที่ดี มีมาตรฐานและประสิทธิภาพจากการบริการภาครัฐต่าง ๆ ซึ่งการฝึกอบรม “หลักสูตรผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” และ “หลักสูตรการออกแบบเครื่องมือดิจิทัล (Digital Solution)” ภายใต้โครงการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) ประจำปี 2563 ผู้เข้าอบรมทุกท่านคงจะได้รับสาระความรู้ด้านวิชาการในการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) เทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ แนวคิดในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและการให้บริการประชาชนเพื่อประโยชน์ ในการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล “การฝึกอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าอบรมทุกท่านจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและพัฒนาการบริการของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะผู้จัด วิทยากร และผู้มีส่วนร่วม ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการจัดฝึกอบรม ครั้งนี้ได้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่ายและพัฒนาทีมบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) ต่อไป”นางวรรณพร กล่าว -สำนักข่าวไทย.
สกสว. 25 พ.ย.63 – สกสว. และภาคีวิจัย หารือจัดลำดับความสำคัญงานวิจัยไทยแก้โควิด -19 ปีงบประมาณ 2564 เฟ้นหาโจทย์จำเป็นเน้นแก้ปัญหาเชิงการแพทย์ เศรษฐกิจ และสังคม ศ.นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดการประชุมการจัดสรรงบประมาณพร้อมรับมือโควิด -19 ที่ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ โดย รศ.ดร ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า เพื่อระดมสมอง แนวทางการจัดลำดับการจัดสรรงบวิจัยรับมือโควิด -19 ที่มีการวางกรอบงบประมาณวิจัยไว้ 1,200 ล้านบาท เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณไปแล้วจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ภายใต้การดูแลของ สกสว. ในช่วงปี 2563 อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ของการออกแบบการทำงานร่วมกันสำหรับงบประมาณวิจัยปี 2564-2565 ศ.นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ กล่าวว่า มีความจำเป็นที่ประเทศต้องมีนโยบายการลงทุน ววน. ด้านการแพทย์ ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์โควิด -19 […]