อสมท ประกาศรางวัล U ME IDEA AWARD 2020

กรุงเทพฯ 25 พ.ย. อสมท จัดโครงการ  U ME IDEA  AWARDS 2020เฟ้นหา “นวัตกรรมเพื่อสังคม”  ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสังคม พร้อมโอกาสต่อยอดเชิงธุรกิจกับ อสมท บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  ตระหนักว่า การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและสังคมโลก  จึงมุ่งส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย   อสมท จึงได้ริเริ่มโครงการ “U ME IDEA”  ซึ่งเป็นการประกวดการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมสื่อ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัล  รวมทั้งให้การสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์กับนวัตกรไทย  ในปี 2563 อสมท ได้แบ่งการส่งผลงานเข้าประกวดเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบุคคลทั่วไปและประเภทนักศึกษาโดยเปิดกว้างกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรม  ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเพื่อสังคม” โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก 11 ทีมแบ่งเป็น ประเภทบุคคลทั่วไป จำนวน 6 ทีม และประเภทนักศึกษา จำนวน 5 ทีม  เพื่อนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการตัดสินในรอบสุดท้าย   นายสิโรตม์  รัตนามหัทธนะ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด  พร้อมด้วยผู้บริหาร และคณะกรรมการ ให้เกียรติมอบรางวัล U ME IDEA  AWARDS  2020”  ให้กับผู้ชนะประเภท บุคคลทั่วไปชนะเลิศ safe trip ได้เงิน 100,000 บาท รองอันดับ 1 ทีม P4E 50,000 บาท รองอันดับ 2 ทีม I9 Me idea 30,000 บาท ประเภทนักศึกษา  ชนะเลิศ มี 2 รางวัล คือ ทีม COTA และ i-THOS ได้เงินทีมละ 50,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมผลไม้ดี 20,000 บาท-สำนักข่าวไทย.

ทวิตเตอร์เตรียมปรับปรุงระบบยืนยันตัวตน

กรุงเทพฯ25 พ.ย. ทวิตเตอร์ชวนทุกคนร่วมแสดงความเห็นเพื่อปรับปรุงมาตรฐานระบบยืนยันตัวตน  จากนโยบายที่ทวิตเตอร์ได้มีการระงับระบบการยืนยันตัวตนการเป็นบุคคลสาธารณะไว้เมื่อสามปีก่อน เนื่องจากได้รับฟีดแบ็กว่า เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าสามารถขอได้โดยไม่มีกฎเกณฑ์และสร้างความสับสนให้กับผู้คน หลังจากนั้นทวิตเตอร์ได้ลดความสำคัญของระบบนี้ เพื่อไปมุ่งมั่นตั้งใจกับการปกป้องความเป็นเอกภาพของบทสนทนาสาธารณะบนทวิตเตอร์ซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2020 นับตั้งแต่นั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครสามารถได้รับการยืนยันตัวตนได้บ้าง หรือเมื่อไหร่และทำไมผู้ใช้บัญชีนั้นถึงไม่ได้รับการยืนยันตัวตน หรือทำอย่างไรจึงจะได้รับการยืนยันตัวตน ทวิตเตอร์ทราบดีว่าการสามารถแสดงออกถึงตัวตนและรู้ว่าคุณกำลังสนทนาอยู่กับใครบนทวิตเตอร์นั้นสำคัญเพียงใดดังนั้นในวันนี้ทวิตเตอร์จึงอยากบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงแผนงาน ว่าทุกคนสามารถระบุตัวตนบนทวิตเตอร์ได้อย่างไร โดยเริ่มจากการยืนยืนตัวตนและขอให้สาธารณชนส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างนโยบายยืนยันตัวตนใหม่กลับมาให้ทวิตเตอร์ เนื่องจากการเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการบทสนทนาสาธารณะการร้องขอความเห็นจากประชาชนจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนานโยบายของเรา เพราะเราต้องการให้กฎต่างๆ นั้นมาจากเสียงสะท้อนของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ ทวิตเตอร์กำลังวางแผนที่จะกลับมาเปิดตัวการยืนยันตัวตน รวมทั้งขั้นตอนการสมัครการยืนยันตัวตนสาธารณะแบบใหม่ในช่วงต้นปี 2564 ทั้งนี้เราต้องการความช่วยเหลือจากผู้คนในการอัปเดตนโยบายการยืนยันตัวตนเสียก่อน โดยนโยบายนี้จะเป็นการวางรากฐานเพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต ด้วยการกำหนดถึงการยืนยันตัวตนว่ามีความหมายอย่างไร ใครสามารถขอเครื่องหมายเพื่อยืนยันตัวตนนี้ได้บ้าง และทำไมบัญชีผู้ใช้งานบางคนที่มีเครื่องหมายนี้อยู่แต่อาจจะถูกลบออก เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าขั้นตอนการยืนยันตัวตนนั้นมีความเท่าเทียมมากขึ้น เริ่มที่การกำหนดประเภทหลักของบัญชีผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นบุคคลมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจะได้รับการยืนยันตัวตนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายที่ได้เสนอไปแล้วนั้น “เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าบนทวิตเตอร์ช่วยให้ทุกคนทราบว่าบัญชีผู้ใช้งานนี้เป็นบุคคลสาธารณะที่เป็นของจริง ซึ่งการจะขอรับเครื่องหมายนี้ได้ บัญชีผู้ใช้งานนั้นจะต้องมีชื่อเสียงและมีการใช้งานอยู่เป็นประจำ” บัญชีผู้ใช้งาน 6 ประเภทที่ทวิตเตอร์จะเริ่มต้นระบุการยืนยันตัวตน ได้ คือ หน่วยงานรัฐบาล  บริษัท แบรนด์สินค้าต่างๆ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สำนักข่าว องค์กรหรือบุคคลในวงการบันเทิง องค์กรหรือบุคคลในวงการกีฬา  นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และบุคคลอื่นๆ ที่เป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ ทวิตเตอร์ยังได้กำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมว่าสามารถลบเครื่องหมายยืนยันจากบัญชีนั้นๆ ได้โดยอัตโนมัติ เช่น ถ้าหากบัญชีนั้นไม่ได้มีการใช้งาน หรือข้อมูลของโปรไฟล์ไม่สมบูรณ์ ตลอดจนอาจจะมีการปฏิเสธหรือลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนจากบัญชีที่ผ่านการรับรองแล้ว เนื่องจากมีการละเมิดกฎของทวิตเตอร์บ่อยครั้งเป็นต้น ทวิตเตอร์ตระหนักดีว่า ปัจจุบันมีบัญชีที่ไม่สมควรได้รับการยืนยันตัวตนอยู่เป็นจำนวนมากบนทวิตเตอร์ ดังนั้นจึงกำลังมีการเริ่มดำเนินการลบเครื่องหมายออกจากบัญชีที่ไม่ได้มีการใช้งานหรือมีโปรไฟล์ที่ให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติเพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของเราและขยายแผนการเพื่อเพิ่มเติมประเภทของบัญชีต่างๆ ให้สามารถเสร็จสิ้นในปี2564 ทวิตเตอร์ทราบดีว่าไม่สามารถแก้ปัญหาการยืนยันตัวตนได้จากนโยบายใหม่นี้ได้เพียงทางเดียว และนโยบายเบื้องต้นในการยืนยันตัวตนอาจไม่ได้ครอบคลุมถึงทุกกรณี แต่นี่คือก้าวแรกที่สำคัญในการช่วยให้เรามีมาตรฐานที่โปร่งใสและยุติธรรมมากยิ่งขึ้นในการยืนยันตัวตน เนื่องจากเรากำลังจัดลำดับความสำคัญของระบบงานนี้อยู่ โดยนโยบายในตอนนี้คือจุดเริ่มต้นที่เราตั้งใจที่จะขยายประเภทของบัญชีต่างๆ และกฏเกณฑ์สำหรับการยืนยันตัวตนบนทวิตเตอร์อย่างมีนัยสำคัญในปีต่อไป ทวิตเตอร์ได้จัดทำการสำรวจแบบย่อของร่างนโยบายการยืนยันตัวตนซึ่งมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี ภาษาอาหรับ ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาญี่ปุ่น และขณะนี้ทวิตเตอร์กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานเอกชนในแต่ละประเทศและคณะกรรมการเพื่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีการนำเสนอมุมมองต่างๆ ให้ได้มากที่สุด หากผู้ใช้งานต้องการแสดงความคิดเห็นผ่านการทวีต ทวิตเตอร์ก็พร้อมรับฟังเช่นกัน เพียงติดแฮดแท็ก #VerificationFacebook ระยะเวลาในการส่งฟีดแบ็กเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 8 ธันวามคม 2563 หลังจากนั้นทวิตเตอร์จะพิจารณาความคิดเห็นของทุกคนเกี่ยวกับนโยบายนี้และฝึกอบรมทีมงานถึงแนวทางใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะแนะนำนโยบายขั้นสุดท้ายภายในวันที่ 17 ธันวามคม 2563 ทวิตเตอร์มุ่งมั่นที่จะให้บริการการสนทนาสาธารณะด้วยการช่วยให้ผู้คน สามารถค้นหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รับฟังเสียงที่มีความสำคัญ และไว้วางใจในความถูกต้องของบัญชีผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์ ขอขอบคุณที่ทุกท่านที่สละเวลาเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงต่อไป  การแสดงออกถึงตัวตนเป็นหัวใจหลักของบทสนทนาสาธารณะ แต่ใครคือคนที่คุณกำลังพูดคุยอยู่นั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับ และสิ่งที่พวกเขากำลังพูดถึงอยู่เช่นกัน ทวิตเตอร์จึงอยากสร้างพื้นที่ให้กับทุกคนบนทวิตเตอร์ให้สามารถส่งเสียงที่แท้จริงของตัวเองด้วยการช่วยให้ทุกคนสามารถระบุตัวตนในโปรไฟล์ได้มากขึ้นเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าและการติดป้ายรับรองบัญชีเป็นสองวิธีในการช่วยให้เราสามารถจำแนกบัญชีที่เป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นของจริงบนทวิตเตอร์ได้ ในปีนี้ทวิตเตอร์ได้มีการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์แล้วเพื่อให้พวกเขาสามารถทวีตเพื่อให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ #COVID19และได้เพิ่มป้ายรับรองบัญชีเพื่อเป็นการระบุตัวตนที่เป็นตัวแทนผู้สมัคาที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าไม่ได้เป็นเพียงวิธีเดียวที่เรากำลังวางแผนเพื่อจำแนกบัญชีผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์ ทั้งนี้ทวิตเตอร์มุ่งมั่นที่จะให้ทุกคนสามารถมีวิธีอื่นๆ ในการระบุตัวตนบนหน้าโปรไฟล์ของตัวเอง อาทิ ประเภทของบัญชีผู้ใช้งานและป้ายรับรองบัญชีใหม่ ซึ่งนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของสิ่งที่เราได้วางแผนไว้ในปี 2564-สำนักข่าวไทย.

เอ็นไอเอเฟ้นหานวัตกรรมรับมือ4ปัญหาสังคม

กรุงเทพฯ 25 พ.ย. เอ็นไอเอ เปิดแนวทางเฟ้นหานวัตกรรมจากไอเดียสตาร์ทอัพต่อยอดสู่การใช้งานจริงรับมือ 4 แนวโน้มปัญหาสังคมเมืองและชุมชนปี 64  นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมเมืองและชุมชน ส่งผลให้แต่ละปีประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป NIA จึงมีการศึกษาและวิเคราะห์แนวโน้มปัญหาที่จะเกิดขึ้น พร้อมคาดการณ์อนาคต (Foresight) เพื่อวางแผนรับมือใน 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ ปัญหาจากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  เช่น ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการจ้างงาน รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาชี้ให้เห็นแล้วว่าระบบดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองกับภาวะฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที และมีความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับการรักษา และสวัสดิการทางสังคม ปัญหาสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของคนในสังคม โดยให้ความสำคัญและพยายามหาแพลตฟอร์มนวัตกรรมขึ้นมารองรับเพื่อสร้างความประนีประนอม และการสร้างพื้นที่ให้ประชาชนได้ร่วมแสดงออกความเห็นในเชิงสร้างสรรค์ ปัญหาความเท่าเทียมทางเพศ โดยมุ่งวางแผนสำหรับดึงศักยภาพของกลุ่ม LGBTQA+ ออกมาให้คนในสังคมได้รับรู้ในมิติที่หลากหลายมากกว่าเรื่องเพศ รวมถึงการหาบริการและผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของเพศที่หลากหลาย และปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มคนเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ  หรือ ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ การบริการที่ดีจากภาครัญ การเข้าสู่ระบบแรงงานที่เป็นธรรม การยอมรับจากสังคมของผู้ที่เคยก้าวพลาด นายพันธุ์อาจ กล่าวต่อว่า เพื่อรับมือสิ่งที่เกิดขึ้นเอ็นไอเอได้ทำโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน 2564 หรือCITY & COMMUNITY INNOVATION CHALLENGE 2021 จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 มีเป้าหมายในการเฟ้นหานวัตกรรมที่สามารถผลักดันไปสู่การใช้งานจริง เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาในประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและชุมชน โดยเปิดรับข้อเสนอแนวคิดการพัฒนาในหลากหลายมิติ จากนั้นจะพิจารณาคัดเลือกแนวคิดที่ดีและมีโอกาสในการขยายผลได้จริง เพื่อรับการสนับสนุนเงินทุนสำหรับไปดำเนินการจริงในพื้นที่ และเมื่อดำเนินโครงการนำร่องแล้วเสร็จ สามารถขยายผลแนวคิด เทคโนโลยี โอกาสทางสังคม และธุรกิจไปยังพื้นที่อื่นต่อไปได้ โดยที่ผ่านมาสนับสนุนไปแล้วทั้งสิ้น 36 โครงการ มูลค่าการสนับสนุน 38.92 ล้านบาท ก่อให้เกิดการลงทุนกว่า185.38 ล้านบาท สำหรับหัวข้อที่เปิดรับสมัครในปี 2564 นี้ มุ่งเน้นใน 3 เรื่อง คือ 1.การฟื้นฟูผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วยนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน การสร้างสวัสดิการสังคม การเข้าถึงบริการสาธารณะ การเงินและเสินเชื่อ และการดูแลกลุ่มผู้เปราะบาง 2.แพลตฟอร์มธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมประกอบด้วยแพลตฟอร์มด้านการศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน นวัตกรรมภาครัฐ การทำเกษตรอย่างยั่งยืน การดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และ 3.มิติปัญหาสังคมอุบัติใหม่ในเมือง ไม่ว่าจะเป็นนัวตกรรมเพื่อการสร้างสันติภาพและการแก้ปัญหาความรุนแรง การแก้ปัญหาอาชญากรรม การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศการเคลื่อนย้ายของแรงงาน และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง “ปัจจุบันมีผู้สนใจส่งแนวความคิด (Concept Idea) เพื่อขอรับการสนับสนุนจากโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ปี 2564 จำนวน 218 ไอเดีย ซึ่งหลังจากนี้ NIA จะพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำแนวคิด มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง และก่อให้เกิดประโย์ชน์ต่อสังคม ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่านวัตกรรมที่มีอยู่ขณะนี้ รวมถึงนวัตกรรมที่จะส่งเสริมต่อไปในอนาคต จะสามารถรองรับปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชน และปูทางให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรวมถึงสตาร์ทอัพที่มีความสนใจให้การทำธุรกิจเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ ยังจะเป็นตัวแปรให้เกิดผู้ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายบริบทของสังคม และทำให้ทั่วโลกได้เห็นถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะมาช่วยยกระดับความเป็นอยู่ในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายได้อย่างดีเช่นเดียวกัน” นายพันธุ์อาจ กล่าว-สำนักข่าวไทย.

จุฬาฯเปิดเว็บเรียนรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากโลกออนไลน์

กรุงเทพฯ 25 พ.ย. DIRU นิเทศ จุฬาฯ เปิดเว็บไซต์ “คิด คุย ค้น”เรียนรู้ลดความเสี่ยงออนไลน์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ หรือ DIRU ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงาน กสทช. ดำเนินโครงการวิจัยเชิงสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนและนำมาพัฒนาแพลตฟอร์มเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์สร้างเป็นเว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” สามารถเข้าถึงได้จาก www.thaidigitalcitizen.net หรือ www.คิดคุยค้น.net เปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย ทั้งวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ใช้งานได้แล้วเว็บไซต์นี้พัฒนาขึ้นจากหลักการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเพิ่มความสามารถในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยได้ประโยชน์ 3 กระบวนการ ได้แก่กระบวนการ“คิด” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง       ผ่านสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ (Online Interactive Learning Object) กระบวนการ “คุย” แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเนื้อหาที่ช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมกับการสร้างกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกผู้ใช้งาน กระบวนการ“ค้น” ซึ่งเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีสืบค้นสำหรับตรวจสอบข้อมูล ข่าว ที่สงสัยว่าถูกต้อง เป็นจริง น่าเชื่อถือหรือไม่ ช่วยฝึกทักษะความรอบรู้และรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ นายพนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เว็บไซต์ คิด คุย ค้น เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยที่ตั้งโจทย์สำคัญที่มุ่งแก้ปัญหาอันตรายจากการใช้งานและความผูกพันที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์ของคนทุกวัย จากผลการสำรวจความเสี่ยง   บนโลกออนไลน์ของประชาชน พบว่ามีโอกาสที่จะเจออันตรายได้หลายรูปแบบ คือ การถูกชักชวนให้เล่นการพนัน หวยออนไลน์ แชร์ออนไลน์ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์สินเงินทอง การหลงเชื่อเนื้อหา หรือข่าวปลอม หรือโฆษณาเกินจริง การถูกหลอกลวงจากคนแปลกหน้าถูกกลั่นแกล้งระราน ถูกโกงจากการซื้อสินค้าออนไลน์ อันตรายจากการเข้าถึงเนื้อหาเรื่องเพศและภาพลามกอนาจารความเสี่ยงอันตรายจากระบบคอมพิวเตอร์มัลแวร์ (Malware) การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว ปัญหาความเสี่ยงเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มภูมิคุ้มกันอันตรายให้ประชาชนในฐานะผู้ใช้งาน ให้รู้เท่าทันการถูกหลอก รู้วิธีลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายที่มาถึงตัว สามารถต่อต้านการถูกชักชวนไปในทางเสียหายได้ ความเข้มแข็งของประชาชนที่กล่าวมานี้ สามารถสร้างได้ด้วยการเรียนรู้ ฝึกทักษะ เพิ่มความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน ซึ่งประชาชนที่เข้าใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” ประกอบด้วยการใช้งานหลัก 3 รายการ ดังนี้ รายการใช้งานที่ 1 “คิด” ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเข้าไปเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย ช่วยเพิ่มความรู้ ฝึกทักษะและการตอบสนองอย่างปลอดภัยต่อเหตุการณ์ความเสี่ยง ประกอบด้วยสื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง 8 เรื่อง โดยเริ่มจากการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยง  ทำความเข้าใจและใช้การติดต่อสื่อสารทางสังคมให้ถูกต้องปลอดภัย ได้ประโยชน์ และการทำความเข้าใจเนื้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ ช่วยให้เกิดการรู้เท่าทัน ลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกจากเนื้อหาที่ไม่เป็นจริง ข่าวปลอม การถูกหลอกลวงเรื่องผิดกฎหมาย การถูกกลั่นแกล้งระราน การถูกชักชวนให้เล่นการพนัน จากนั้นเป็นสื่อเรียนรู้อีก 6 เรื่องที่จำลองเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง ได้แก่ การถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์ ความรุนแรงและการถูกกลั่นแกล้งระราน ข่าวปลอม ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง การถูกหลอกจากคนแปลกหน้า การถูกหลอกจากการซื้อสินค้า อันตรายจากการเข้าถึงเนื้อหาเรื่องเพศและภาพลามกอนาจาร และอันตรายจากระบบคอมพิวเตอร์ การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว เมื่อผู้ใช้งานได้เข้าเรียนจากสื่อการเรียนรู้และสามารถทำแบบทดสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อแสดงความเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถด้านความรอบรู้และรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ซึ่งสามารถพิมพ์ได้จากระบบทันที รายการใช้งานที่ 2 “คุย” เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคนได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับข่าวสารในโลกออนไลน์ มีการเตือน และช่วยกันตรวจสอบสิ่งที่ผู้ใช้งานทุกคนได้พบเจอ เป็นการสร้างชุมชนในลักษณะเครือข่ายสังคม ผ่านบทความ ข้อมูล Infographic และ VDO ที่สามารถแชร์ได้ และกระทู้ พูดคุย หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นต่าง ๆ ส่งต่อความรู้ให้กันได้ รายการใช้งานที่ 3  “ค้น” ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเนื้อหาข่าว ข้อมูลที่สงสัยว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ ได้ด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถรู้เท่าทันสื่อได้อีกช่องทางหนึ่ง โดยมีเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลที่โครงการคัดกรองแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ ช่วยในการกรองสิ่งที่เราต้องการค้นหา และผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่ตรวจสอบแล้ว ไปใช้ได้อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวัน “เราได้พัฒนาเว็บไซต์นี้มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 โดยเริ่มต้นงานวิจัยด้วยการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2562 จนได้ผลสรุปและพบความเสี่ยง 15 เรื่อง และนำมาแบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่มความเสี่ยง นำมาออกแบบเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยลดความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ โดยมีการเผยแพร่เว็บไซต์ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา และ   ตั้งเป้าว่าจะทดลองเปิดให้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 เดือนจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อสรุปลักษณะของการ   ใช้งาน ประเด็นที่ต้องพัฒนาปรับปรุงในเชิงวิชาการ และส่งมอบงานนี้ให้กับแหล่งทุน คือกองทุนวิจัยของ กสทช. หวังว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปได้ในอนาคตเว็บไซต์นี้ไม่ใช่ยาหม้อใหญ่ที่จะทำให้สังคมเปลี่ยนได้ภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่เป็นกลไกที่จะช่วยสนับสนุนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่มผู้ใช้งานให้มีความเข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกวัยเข้าร่วมใช้งานเว็บไซต์นี้กันมากๆ” นายพนม กล่าว เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” เป็นหนึ่งในกลไกที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ใช้งาน  สื่อสังคมออนไลน์ และการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความสามารถในความรอบรู้และ    รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ที่สร้างปัญหาให้แก่ประชาชนและสังคมในภาพรวมการเข้าร่วมใช้งานเว็บไซต์นี้จากผู้ใช้จำนวนมากจะเป็นข้อมูลที่ประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งการเพิ่มความสามารถเพื่อลดความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ จำเป็นต้องพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่สร้างการใช้งานใหม่ๆ ที่อาจจะเป็นความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้นอีก เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทั้งวัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ สามารถเข้าถึงได้ที่www.thaidigitalcitizen.net หรือ www.คิดคุยค้น.net โดยสมัครเข้าใช้งานในครั้งแรกและสร้างบัญชีผู้ใช้งานของตนเองเพื่อใช้งานครั้งต่อไปได้ตามที่สะดวกและต้องการใช้งาน-สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอสจับบริษัทรับช่วงงานอีคอมเมิร์ซลงทะเบียนแก้ข้อมูลลูกค้าหลุด

กรุงเทพฯ 24 พ.ย. พุทธิพงษ์ หารือผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ ย้ำให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล หลังเจอข้อมูลลูกค้ารั่วไหลครั้งใหญ่ มอบเอ็ตด้าลงทะเบียนผู้รับช่วงงานอีคอมเมิร์ซ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ (24 พ.ย. 2563) ได้มีการเรียกประชุมหารือกับผู้ให้บริการอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ๆ ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันจัดทำแนวทางดูแลข้อมูลของผู้ใช้บริการ และมาตรการในการดูแลข้อมูลผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสูงสุด ซึ่งในการประชุมวันนี้ ยังให้ผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ ชี้แจงข้อเท็จจริงของข่าวที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการรั่วไหล และมีการนำไปประกาศขายกันทางไซเบอร์ จากการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ข้อมูลผู้ใช้บริการที่รั่วไหลไปจากแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซและถูกนำไปประกาศขายผ่านทางไซเบอร์ พบว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในช่วงปี 2561 โดยประกอบด้วยข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล วันที่ทำธุรกรรม จำนวนเงิน ช่องทางการขายสำหรับขั้นต้น ดีอีเอส ได้ประสานงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง (USCERT) ในการประสานกับผู้ดูแลระบบเพื่อระงับการเผยแพร่ข้อมูล “ข้อมูลไม่ได้หลุดออกมาจากผู้ให้บริการโดยตรงข้อมูลหลุดมาจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่อย่างไรก็ดีกระทรวงฯ ได้กำชับถึงความสำคัญกับระเบียบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพราะเราเลื่อนการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปถึมิถุนายน 2564 ตรงนี้ก็ต้องมีการระมัดระวังข้อมูลไม่ให้รั่วไหลได้ ที่ประชุทให้บริษัทที่มารับงานต่อจากบริษัทผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซต้องมาลงทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์(เอ็ตด้า) เพื่อให้มีความรับผิดชอบต้อข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะมีการทำระเบียบสำหรับบริษัทที่มารีบงานต้องปฏิบัติ ซึ่งระเบียบนี้เอ็ตด้ากับผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซจะช่วยกันร่าง ส่วนบริษัทผู้ส่งของก็ต้องมีการดูแลและให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลด้วย” นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า พ.ร.ฎ กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 ซึ่งขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปอีก 1 ปี (27 พฤษภาคม 2563 – 31 พฤษภาคม 2564) แต่ยังกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงกำหนด ซึ่งถึงแม้จะยังไม่มีบทลงโทษแต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่องมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 (18 กรกฎาคม 2563 – 31 พฤษภาคม 2564) กำหนดให้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการ ในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและอุปกรณ์ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยคำนึงถึงการใช้งานและความมั่นคงปลอดภัย , การกำหนดเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล , การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งานเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้ว , การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย การล่วงรู้ หรือการลักลอบทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล การลักขโมยอุปกรณ์จัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และการจัดให้มีวิธีการเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังเกียวกับการเข้าถึง เปลี่ยนแปลง ลบ หรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคล ให้สอดคล้องเหมาะสมกับวิธีการและสื่อที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 5 และ 7 กำหนดว่าในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรู้ว่ามีการเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินคดีด้วย ส่วนที่สำคัญที่สุดเมื่อเกิดเหตุข้อมูลผู้ใช้บริการรั่วไหล ผู้ให้บริการพึงจะต้องชี้แจงประชาชนผู้ได้รับผลกระทบถึงรายละเอียดข้อมูลที่ถูกเข้าถึง และแนะนำวิธีการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนรหัสผ่าน และระมัดระวังเมื่อมีคนโทรไปเพื่อหลอกลวง นอกจากนี้ ผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ควบคมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้คู่สัญญาที่เป็นผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งที่เป็นคนกลางในการบริหารจัดการขาย (sales management platform) และผู้ให้บริการคลังสินค้าและขนส่ง นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนควรระมัดระวังในการใช้งาน Platform e-Commerce เพื่อลดผลกระทบกรณีข้อมูลรั่วไหล ได้แก่ เจ้าของข้อมูลไม่ควรหลงเชื่อโอนเงินให้กับผู้ที่ติดต่อเข้ามาทางโทรศัพท์ หรือ อีเมล์ ในทันที ควรตรวจสอบโดยการติดต่อกลับไปยังช่องทางปกติ, หากมีผู้ติดต่อมาว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานของรัฐเพื่อให้โอนเงิน ควรปฏิเสธการโอนเงิน และติดต่อกลับไปยังหน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง , หากมีการแจ้งเตือนเรื่องการเปลี่ยนรหัสผ่านทางอีเมล์ หรือ SMS ไม่ควรคลิกลิงก์ในทันที ให้ตรวจสอบกับหน่วยงานหรือผู้ให้บริการโดยตรง, แจ้งผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร เพื่อให้ทราบความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการแอบอ้างเป็นเจ้าของข้อมูล โดยควรเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน, กำหนด username password ให้แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริการ, กรณีที่เป็นการใช้งานจากแอปพลิเคชันบนมือถือ ควรมีการติดตั้งแอปพลิเคชันป้องกันมัลแวร์ โดยหากมีข้อสงสัย ต้องการแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 1212-สำนักข่าวไทย.

พีเทคเล็งตรวจสอบมาตรฐานแบตเตอรี่รถไฮบริดตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางผลิต

กรุงเทพฯ 24 พ.ย. พีเทค เพิ่มความสามารถตรวจสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ยานยนต์ไฮบริดแบบปลั๊กอิน ตั้งเป้าร่วมดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ของเอเชีย นายณรงค์  ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่าภารกิจของ สวทช. ในการพัฒนา การตรวจสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ยานยนต์ ว่าภายหลังจากที่ได้ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนการทดสอบแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้า กับบริษัท เมอร์เซเดส – เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด สวทช.ได้มอบหมายให้ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ (พีเทค) จัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ทั้งในระดับเซลล์ โมดูล และแบตเตอรี่แพ็ค และจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับแห่งอนาคตแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยขึ้น โดยเป็นทำการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศไทย เริ่มต้นจากการทดสอบแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด รวมถึงการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ประเภท BEV เพื่อรองรับการมาถึงของรถยนต์กลุ่มนี้ในอนาคต ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวอีกว่า ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกค่ายทั่วโลก กำลังแข่งขันกันพัฒนาแบตเตอรี่ยานยนต์เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในขณะเดียวกันลิเธียมซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของแบตเตอรี่เป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนง่ายและอาจเกิดการติดไฟขึ้นได้  ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิตการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ  การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง หลายประเทศได้กำหนดมาตรฐานแบตเตอรี่ชนิดนี้และบังคับใช้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ขับขี่และผู้สัญจรร่วมทางให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งหากประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำในการตรวจสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ยานยนต์ในภูมิภาคเอเชียได้ ก็จะสามารถดึงดูดให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมีความมั่นใจและเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่   ในประทศไทยมากขึ้น เพราะสามารถลดต้นทุนในการตรวจสอบมาตรฐานได้ ด้านนายไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สวทช. กล่าวว่า ความก้าวหน้าในการตรวจสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ยานยนต์ไฮบริดแบบปลั๊กอิน ว่า พีเทค ได้เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบประสิทธิภาพการชาร์จ – ดิสชาร์จ ทำให้สามารถประเมินอายุการใช้งาน รวมถึงการรับประกันแบตเตอรี่ที่ยาวนานได้ การเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่เมื่อเกิดการจมน้ำ การเพิ่มความสามารถในการทดสอบสภาวะการทำงานของแบตเตอรี่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบทันทีทันใด และการเพิ่มความสามารถการทดสอบการทำงานของแบตเตอรี่ด้วยการจำลองสภาวะสั่นสะเทือน การกระแทกเมื่อขับบนถนนขรุขระ การตกหลุมบ่อบนถนนหรือการตกไหล่ทาง เพื่อรองรับการใช้งานจริงในทุกสถานการณ์   ที่เกิดขึ้นของยานยนต์ ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถทั้งหมด นอกจากจะสร้างความมั่นใจในเทคโนโลยีการตรวจสอบมาตรฐานให้กับภาคธุรกิจผู้ผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์แล้ว ยังตอบโจทย์ในเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน-สำนักข่าวไทย.

บล.บัวหลวงเดินหน้าคลอดบริการไฮเทครับเทรนด์การลงทุนใหม่

กรุงเทพฯ 24 พ.ย. บล.บัวหลวง ตอกย้ำภาพผู้นำนวัตกรรมการเงิน ปี 63 ส่งเครื่องมือช่วยลงทุนสุดล้ำตามเป้า รับเทรนด์ลงทุนยุคใหม่ นายบรรณรงค์ พิชญากร กรรมการผู้จัดการอาวุโส กิจการค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทสำคัญ   อย่างกว้างขวางในหลากหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงอุตสาหกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ทุกคนต้องเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ หลายคนนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เห็นได้ชัดจากการที่นักลงทุนหลายรายเริ่มหันมาซื้อขายหุ้นผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น สะท้อนได้จากตัวเลขเปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ของบริษัทที่เติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 40 จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักลงทุนในช่วงที่ผ่านมา หลักทรัพย์บัวหลวงจึงมุ่งมั่นสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้มีความทันสมัยสามารถใช้งานได้ สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ การลงทุนครอบคลุมทุกมิติ เพื่อตอบทุกเป้าหมายทางการเงิน และให้นักลงทุนได้พบกับชีวิตการลงทุนที่ง่ายทุกขั้นตอน ครบวงจรด้วย Premium Investment Services ตลอดปี 63 บริษัทเดินหน้าเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อการลงทุนในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือดูหุ้นก่อนเทรด(Pre-Trade) คือ Global Signals ตัวช่วยจับจังหวะทิศทางซื้อขายหุ้นต่างประเทศอย่างมืออาชีพ ผ่านการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยกราฟ หรือ เครื่องมือ Indicators ยอดนิยมที่จะแสดงผลออกมาเข้าใจง่าย ด้วยจำนวนรูปของกระทิง (Bull Signals) และหมี (Bear Signals) Global Corporate Actions บริการแจ้งเตือนสิทธิประโยชน์หุ้นต่างประเทศ ทั้งในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง และเวียดนาม ผ่านทาง E-mail และ SMS สำหรับลูกค้า BLS Global Investing เพื่อจะได้ ไม่พลาดข่าวสารของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครอง และเว็บไซต์ DW01 รูปแบบใหม่ที่ออกแบบมาให้มีความทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนมากขึ้น ภายใต้แนวคิด “Customer-Centric” เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของ DW รวมทั้งสามารถเข้าถึงตาราง DW ได้ง่าย รวดเร็ว ครบจบในหน้าเดียว พร้อมฟีเจอร์ใหม่ ๆ  ซึ่งหลายฟังก์ชันเป็นข้อมูลที่ในอุตสาหกรรม    ไม่มี แต่สามารถดูได้จากเว็บไซต์ DW01 เท่านั้น เช่น “My DW” ฟังก์ชันจดจำรายชื่อ DW ที่นักลงทุนเคยค้นหา เสมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวในการแสดงรายชื่อ DW ตามความสนใจของแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนใช้เวลาน้อยลงในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น กรรมการผู้จัการบล.บัวหลวง กล่าวอีกว่ส นอกจากนั้นยังพัฒนาเครื่องมือที่ใช้เทรด (Trade) คือ ระบบส่งคำสั่งซื้อขายe-Block Trade ตัวช่วยลงทุน ธุรกรรม Block Trade ที่ตอบโจทย์ รวดเร็ว ไม่มีสะดุด และสามารถกำหนดจุดเข้าและออก ผ่านการตั้งคำสั่ง Conditional Order ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ระบบออมหุ้นอัตโนมัติ SAP DCA และ VA ที่เน้นการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันทุกงวด ขณะเดียวกันยังพัฒนาเครื่องมือ E-Services บริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทําธุรกรรมอย่าง E-ATS บริการโอนเงิน เพื่อทำการซื้อขายหุ้นหรืออนุพันธ์อัตโนมัติ สำหรับนักลงทุนผ่านอินเทอร์เน็ต, E-RO บริการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง พร้อมแจ้งวิธีชำระเงิน และ E-IPO ช่องทางจองซื้อหุ้นที่เสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก เพื่อเพิ่มโอกาสการกระจายหุ้นให้มีความสะดวกมากขึ้น ครอบคลุมนักลงทุนทุกระดับ  ปัจจุบันบริการฝากเงินออนไลน์,บริการจองหุ้นเพิ่มทุนออนไลน์ และบริการจองซื้อหุ้น มีการใช้งานแล้วประมาณร้อยละ 88 ,ร้อยละ72  และร้อยละ 97 ตามลำดับ อย่างไรก็ดีจากข้อมูลการจองซื้อ IPO ตัวล่าสุด บริการ E-IPO ทำให้สามารถกระจายหุ้นให้กับนักลงทุนได้เกือบ 6 พันคน บริษัทฯ ยังได้พัฒนาช่องทางการเปิดบัญชีกองทุนออนไลน์ และเปิดบัญชีหุ้นต่างประเทศออนไลน์ โดดเด่นด้วยระบบออนไลน์ที่มีความทันสมัย รวดเร็ว และปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเปิดบัญชีได้ สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร โดยมีทีมงานระดับมืออาชีพคอยดูแลผลประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุน “บริษัทเน้นนวัตกรรมการลงทุนและการให้ความรู้  ข่วงโควิด-19 ทั่วโลกมีนักลงทุนเปิดบัญชีใหม่จำนวนมาก รวมทั้งในประเทศไทย เฉพาะของบริษัทมีคนเปิดบัญชีใหม่  4-5 หมื่นราย แนวโน้มปีหน้าจะพัฒนาต่อยอดบริการที่มีอยู่ เช่นการต่อยอดระบบที่ให้บริการลงทุนกับกองทุนโดนดูว่ามีบริการใหม่ๆอะไนที่น่าทำบ้างหรือว่าลูกค้าต้องการ เอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ก็เริ่มเอามาใช้มากขึ้นรวมถึงดาต้าซึ่งจะมีบริการที่ใช้เทคมาช่วยการลงทุนมากขึ้น” นายบรรณรงค์ กล่าว-สำนักข่าวไทย.

เตือนอย่าเชื่อมิจฉาชีพหลอกใช้บัตรประชาชนซื้อมือถือ

กรุงเทพฯ 23 พ.ย. – เอไอเอสเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ อาชญากรหลอกให้ใช้บัตรประชาชนซื้อมือถือ แล้วนำไปขายต่อเสี่ยงโดนข้อหาฉ้อโกง นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า พบว่า มีทั้งกลุ่มที่โดนหลอกลวง และกลุ่มที่จงใจใช้บัตรประชาชน ซื้อเครื่องโทรศัพท์มือถือพร้อมแพ็กเกจ จากนั้นนำเครื่องโทรศัพท์ไปแยกขายต่อ โดยไม่มีการชำระค่าบริการตามเงื่อนไขในสัญญา ซึ่งบริษัทฯกังวลถึงผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นในภาพรวมและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณของประชาชนที่ถูกดำเนินคดีฉ้อโกงที่เพิ่มขึ้น รวมถึง ความเสี่ยงของผู้ที่ซื้อเครื่องต่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่อาจจะเข้าข่ายรับซื้อของโจรด้วยจึงขอแจ้งเตือนผู้ที่อาจหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของการกระทำ หรือ จงใจกระทำการดังกล่าวข้างต้นว่า การก่อเหตุในลักษณะนี้ เจ้าของบัตรประชาชนที่ทำสัญญาซื้อเครื่องโทรศัพท์พร้อมแพ็กเกจจะมีความผิด โดยมีบทลงโทษฐานฉ้อโกง มาตรา ๓๔๑ โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ รวมไปถึงการมีชื่อติด Black List ในระบบ ส่งผลให้ในอนาคตจะมีปัญหาในการทำธุรกรรมกับค่ายมือถือ ซึ่งปัจจุบันมีระบบตรวจสอบอย่างเข้มข้น อีกทั้งในส่วนของผู้ที่รับซื้อเครื่องต่อไป จะเข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร มาตรา ๓๕๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทฯจำเป็นต้องดำเนินคดีตามกฏหมายขั้นสูงสุดกับผู้กระทำผิดทุกราย โดยไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้น จึงขอเน้นย้ำไปยังทุกท่านว่า อย่าหลงเชื่อ และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไปดำเนินการอย่างไม่ถูกต้อง อีกทั้งท่านที่จะซื้อโทรศัพท์มือถือ ก็ขอให้ตรวจสอบแหล่งที่มาให้ดี เพราะอาจมีความเสี่ยงทั้งคุณภาพของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการรับประกันและผิดกฏหมายอีกด้วย” นางสายชล กล่าว-สำนักข่าวไทย.

สดร. จัดตั้งภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย

สดร. ร่วมกับ 28 หน่วยงาน ตั้งภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย ศึกษาแนวทางแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ-PM 2.5 ด้าน อว. ขอผลงานเป็นรูปธรรมเข้า ครม. ใน 3 เดือน

นักวิชาการฝากบอร์ดกสทช.ชุดใหม่เร่งทำงานขับเคลื่อนโทรคมนาคมไทยต่อ

กรุงเทพฯ 23 พ.ย. สมาคมโทรคมนาคมฯ ชี้บอร์ดกสทช.ใหม่ไม่มีเวลาฮันนีมูน ชี้ต้องเร่งเดินหน้าสร้างกฎเกณฑ์ชัดเจนเป็นธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล นายสืบศักดิ์ สืบภักดี เลขาธิการ สมาคมโทรคมนาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงการการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า กรรมการกสทช.ชุดที่อยู่ระหว่างการสรรหา หากเอาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นภารกิจหลักของรัฐบาลเป็นตัวตั้ง จำเป็นต้งอมีการใช้เทคโนโลยีมาขับเคลื่อนให้กลไกทางเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ กิจการโทรคมนาคมเป็นกิจการหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลดังนั้นกรรมการชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำงานควรต้องได้บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมีความพร้อมที่จะเข้ามาช่วงทำงานขับเคลื่อนให้ภารกิจด้านต่างๆ เดินหน้าต่อไปได้ บอร์ดกสทช.ชุดใหม่จะต้องพร้อมทำงานทันทีเมื่อได้รับเลือกเข้ามาแล้ว “การทำ 5G ไม่ได้จบแค่การประมูลครั้งที่ผ่านมายังมีคลื่นความถี่ที่ต้องเข้าสู่การจัดสรรเพื่อเอามาทำ 5G อาทิ คลื่นความถี่ย่าน 3500 เมกกะเฮิรตซ์ ที่ไม่ได้มีพูดถึงเพียงแต่รอเวลาให้สัญญาสัมทปทานที่อยู่กับผู้ประกอบกิจการดาวเทียมหมดลง ทั้งที่เป็นคลื่นความถี่ย่านที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำ 5G ถ้ามีบอร์ดกสทช.ใหม่เข้ามาก็ต้องเตรียมการทันทีก่อนที่จะหมดสัมปทานเดือนกันยายน 2564 บอร์ดชุดใหม่ต้องตัดสินใจทันทีว่าจะเอายังไงกับคลื่น 3500 เมากกะเฮิรตซ์ เรื่องคลื่น 3500 เมากกะเฮิรตซ์ อาจจะไม่ใช่เรื่องแรกที่บอร์ดต้องทำ แต่เราคงละทิ้งที่จะไม่คิดถึงไม่ได้ เพราะหลายประเทศในโลกขับเคลื่อนด้วยคลื่นความถี่นี้ ยังมีอีกหลายแง่มุมที่เราจะคิดไม่ว่าจะเป็นบรอดแบนด์ดาวเทียม ฯลฯ การรักษาสมดุลเพื่อการแข่งขันที่เหมาะสมน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดไม่ว่าจะทำกับเรื่องใดก่อนก็จะขับเคลื่อนให้เดินหน้าต่อไปได้ ” เลขาธิการสมาคมโทรคมนาคม ฯ กล่าวต่อว่า ยังมีเรื่องของเทคโนโลยีที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายอย่าง Over The Top : OTT  อุตสาหกรรม  OTTเป็นเรื่องใหญ่ที่ยังไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะดูแลอย่างไร ถ้าเราจะเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เราต้องชัดเจน […]

นายกสมาคมเอไอแนะปรับแนวคิดเรียนเทคฯเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

กรุงเทพฯ 22 พ.ย. นายกฯ สมาคม AI เสนอปรับกระบวนทัศน์การศึกษาเน้น เทคโนโลยี – ความรู้เฉพาะทาง ตอบโจทย์อนาคต นายธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย และราชบัณฑิต กล่าวว่า  การจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยในโลกยุคใหม่ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทั้งในแง่ของการเรียน เนื้อหา เพื่อให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สังคม การดำเนินธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา แวดวงการศึกษามีการพูดถึงวิกฤตการตกงานของบัณฑิตไทยที่อาจจะมีมากถึงร้อยละ 72 เพราะขาดทักษะที่เท่าทันกับยุคสมัย และเมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กระบวนการความเปลี่ยนแปลงถูกเร่งให้รวดเร็วขึ้นเห็นได้จากบริษัทขนาดใหญ่ อาทิ อูเบอร์ Airbnb ฯลฯ มีการปรับลดคนและนำกระบวนการใหม่ๆ เข้ามาใช้ในบริษัทมากขึ้นดังนั้นคนที่มีทักษะแบบเก่าอาจไม่เป็นประโยชน์กับองค์กรอีกต่อไป คำถามในเมื่อเทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ในทุกๆ ด้านแล้ว อะไรคือทักษะที่โลกอนาคตต้องการ และสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย รวมถึงนักศึกษาจะปรับตัวอย่างไร “คณิตศาสตร์ยังเป็นทักษะสำคัญที่จะเป็นพื้นฐานของอีกหลายเรื่อง ควบคู่ไปกับองค์ประกอบของการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะประยุกต์ให้เกิดเป็นไอเดียที่ผสมผสาน สอดรับกับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาป่วนในโลกของการศึกษา ทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ (Robotics) หรือวัสดุศาสตร์ (Materials Science)” นายธนารักษ์กล่าว นายธนารักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากทักษะทางด้านเทคโนโลยี สิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในยุคถัดไปยังรวมไปถึงซอฟต์สกิล(Soft Skills) เช่น การเห็นอกเห็นใจ การเข้าใจความรู้สึก การวิเคราะห์ข้อมูล การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงทักษะเรื่องคน ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทของการเรียนการสอนเหล่านี้ ครอบครัวและชุมชนก็จะมีส่วนช่วยในการส่งเสริม ขณะที่สถานศึกษาก็จะต้องมีการออกแบบห้องเรียนในยุคใหม่ ออกแบบการเรียนรู้เฉพาะบุคคลตามความต้องการและจุดแข็งของผู้เรียน โลกของการศึกษาได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกรวมกับการเรียนการสอนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI เข้ามาใช้บริหารจัดการการเรียนการสอน การนำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) Virtual Reality (VR) ระบบจำลอง (Simulation) เข้ามาประกอบสื่อการเรียน การจัดระบบห้องเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในส่วนของ SIIT หรือมธ. เองก็มีหลักสูตรอย่าง GenNext Academy หรือ TUXSA หลักสูตรออนไลน์ปริญญาโท -สำนักข่าวไทย.

1 10 11 12 13 14 51
...