ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG รู้จัก “ตัวเรือด”

10 ธันวาคม 2566 – Bed Bug แมลงดูดเลือดที่กำลังแพร่ระบาด แมลงชนิดนี้อันตรายแค่ไหน และเราควรจัดการอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย BED BUG หรือตัวเรือด คืออะไร ? คือ แมลงดูดเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กสีดำหรือสีน้ำตาล ลำตัวจะออกแบน รี มีขาแต่ไม่มีปีก มีปากที่แหลม ทั้งตัวผู้และตัวเมียดูดเลือดมนุษย์ ตัวเรือดนั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ไข่จะมีสีขาวแต่พอใกล้ฟักตัวจะเป็นสีเข้มข้น ตัวเรือดมักชอบมาอยู่บนที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม หรือรอยแตกตามผนัง ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าตัวอะไรกัดบนที่นอน ให้สันนิษฐานว่าเป็นตัวเรือดไว้ก่อน จะได้เตรียมหาวิธีกำจัดทัน สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG ป้องกันและกำจัด “ตัวเรือด”

11 ธันวาคม 2566 – ใครที่วางแผนเดินทางไปต่างประเทศ แต่ได้ยินข่าว Bed Bug แมลงดูดเลือดกำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ควรต้องเตรียมตัวอย่างไร และหากพบตัวเรือดที่บ้าน ต้องกำจัดอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำแนะนำวิธีกำจัดตัวเรือดเบื้องต้น 1. สำรวจแหล่งกบดานของตัวเรือดอยู่ตรงไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นตามโครงเตียง ที่นอน โซฟา ตามซอกหลืบของผนัง ฯลฯ ถ้าพบว่ามีมูลจุดดำเล็ก ๆ เดาไว้ก่อนว่าตรงนั้นต้องมีตัวเรือดอยู่ 2. ใช้ความร้อนกำจัดตัวเรือด การซักด้วยน้ำร้อนอุณหภูมินี้จะทำให้ตัวเรือดถูกฆ่าอย่างรวดเร็วส่วนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ต้องค้น รื้อ ออกมา และใช้สเปรย์กำจัดตัวเรือด ต้องฉีดพ่นให้โดนตัวเรือดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากใช้สเปรย์ฉีดจนทั่วแล้วหรืออาจจะทิ้งของใช้ที่มีตัวเรือด ฟูกที่นอนก็ควรเปลี่ยนใหม่ 3. การใช้สารสกัดสมุนไพร หรือน้ำมันหอมระเหยถือเป็นการไล่ตัวเรือดให้อพยพหนีไปเองได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่าตัวเรือดเป็นแมลงสายพันธุ์อึด ถึก พวกมันสามารถแอบซ่อนโดยไม่ต้องออกมากินเลือดได้นานถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามใช้น้ำดับเพลิงไหม้รถ EV จริงหรือ?

แบตเตอรี่ Lithium-Ion ในรถยนต์ EV ไม่มีโลหะลิเทียมเป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ ไฟที่เกิดจากรถยนต์ EV จึงไม่ใช่ไฟ Class D หรือไฟที่เกิดจากโลหะซึ่งห้ามใช้น้ำดับไฟ ดังนั้นเพลิงไหม้รถยนต์ EV จึงสามารถใช้น้ำดับได้

ชัวร์ก่อนแชร์: รถ EV สิ้นเปลืองมากกว่าการใช้รถน้ำมัน จริงหรือ?

ผลการเปรียบเทียบในหลายประเทศ พบว่าการใช้รถ EV ประหยัดค่าพลังงานมากกว่ารถน้ำมัน ส่วนราคาสุทธิการเป็นเจ้าของรถยนต์ EV จะถูกกว่าการเป็นเจ้าของรถน้ำมันในอนาคต

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาปลุกเซ็กซ์ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็ง จริงหรือ?

แม้การใช้ป๊อปเปอร์จะมีผลต่อภูมิคุ้มกัน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็งชนิดคาโปซิ ซาร์โคมา มาจากสภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใส่แว่นดำขับรถตอนฝนตก ช่วยให้มองเห็นได้ดีขึ้น จริงหรือ ?

7 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำทริกให้ใส่แว่นดำขับรถตอนฝนตก จะช่วยให้มองเห็นได้ชัด และขับรถได้ดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ การมองเห็นที่ชัดขึ้นไม่ได้เกิดจากการมองผ่านแว่นสีดำ แต่แว่นนั้นต้องมีคุณสมบัติลดการกระเจิงของแสง จึงทำให้มองเห็นชัดขึ้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การขับรถตากฝน แล้วใส่แว่นกันแดด ทำไมถึงมองเห็นชัดขึ้น ? เพราะแว่นนั้นต้องมีคุณสมบัติลดการกระเจิงของแสงหรือการสะท้อนของแสงจึงทำให้มองเห็นชัดขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่แว่นดำทุกอันจะมีคุณสมบัติทำให้มองเห็นภาพชัดขึ้นขณะขับรถตอนฝนตก แว่นกันแดด ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UVA และ UVB ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่ดวงตา ลดการกระเจิงของแสงที่เกิดจากการสะท้อนบนผิววัตถุที่มีความมันวาวทำให้มองภาพไม่ชัดเจน สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส 

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาต้านไวรัส AZT ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงตายมากกว่าเชื้อเอดส์ จริงหรือ?

แม้ยา AZT จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากและทำให้เกิดไวรัสดื้อยาได้ง่าย แต่ก็ช่วยให้วงการแพทย์พบว่าการรักษาผู้ป่วยเอดส์จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสหลายสูตร

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต คลิปเตือน อาหารปลอม ต้องระวัง จริงหรือ ?

6 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับคำเตือนอาหารปลอมเอาไว้มากมาย ทั้งให้ระวังสาหร่ายที่ทำมาจากถุงดำ อีกทั้งยังมีเนื้อปลอม ไข่ปลอม และข้าวสารปลอมจากพลาสติกอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : คลิปเตือน เนื้อปลาปลอม จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนให้ระวังเนื้อปลาปลอม มีวางขายตามท้องตลาดแล้ว บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “ในคลิปไม่ใช่ปลาปลอม แต่เป็นปลาแช่แข็งที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้เนื้อปลาแห้งคล้ายฟองน้ำหรือพลาสติก ปัจจัยหนึ่งเกิดจากบริเวณเนื้อปลาสัมผัสกับความเย็นมากเกินไป ทำให้ผิวปลาหยาบกระด้าง แผ่นหนังของปลาจะแข็งเพราะความเย็นจะดูดน้ำออก ทั้งนี้ ปลาแช่แข็งที่วางจำหน่ายจะแช่แข็งด้วยกรรมวิธี Quick Freezing (การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว) มีการกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ทำให้โปรตีนในเนื้อสัตว์แปรสภาพไปมากนัก บางครั้งโรงงานผลิตจะเติมสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำแข็งไม่ให้มีขนาดใหญ่มากเกินไป จึงยังคงสภาพเนื้อสัตว์ได้ดี ข้อปฏิบัติสำหรับซื้อปลามาแช่แข็ง ต้องใส่เนื้อปลาในถุงหรือภาชนะที่ถูกอากาศน้อยที่สุด, หั่นปลาชิ้นไม่ใหญ่เกินไปเพื่อให้เย็นเร็วขึ้น, ไม่ควรแช่แข็งไว้นานเกิน 2 เดือน ก่อนนำมาปรุงอาหารควรละลายน้ำแข็งทิ้งไว้ในช่องธรรมดาก่อน 1 คืน เพื่อไม่ให้เนื้อปลาเปลี่ยนสภาพมากเกินไป แต่ห้ามแช่น้ำร้อน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจสาเหตุเด็กมองไม่เห็นกะทันหัน

3 ธันวาคม 2566 ตามองไม่เห็นกระทันหันในเด็ก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และจะต้องรักษาอย่างไร ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : MILKSHAKE DUCK ? — เปรียบวัฒนธรรมหนึ่ง ทางอินเทอร์เน็ต

2 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้…เคยถูกยกเป็นคำศัพท์แห่งปี จากพจนานุกรมแมกควารี และสิ่งนี้… เป็นวลีหนึ่งที่เปรียบได้กับวัฒนธรรมทางอินเทอร์เน็ต อันเกี่ยวกับผู้มีชื่อเสียงชั่วข้ามคืน คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แผลที่กระจกตา หรือ กระจกตาติดเชื้อ

1 ธันวาคม 2566 แผลที่กระจกตา เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 48 49 50 51 52 120
...