![](https://tna.mcot.net/wp-content/uploads/2024/03/09/1332126/1709926151_677917-tnamcot-685x360.jpg)
ชัวร์ก่อนแชร์: ลิ่มเลือดจากวัคซีนโควิด-19 ต่างจากลิ่มเลือดคนทั่วไป จริงหรือ?
ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในร่างกายแต่ละส่วนมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน จึงบอกไม่ได้ว่าความแตกต่างนี้เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนหรือไม่
ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในร่างกายแต่ละส่วนมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน จึงบอกไม่ได้ว่าความแตกต่างนี้เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนหรือไม่
7 มีนาคม 2567 บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ สัญญาณของโรคพาร์กินสัน มีอาการอะไรบ้าง และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัญญาณเตือนโรคพาร์กินสัน อาการสั่น ส่วนมากเป็นสั่นข้างเดียว ควบคุมตนเองไม่ได้ หากอายุน้อยมักมีอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ก้าวสั้นแต่ก้าวถี่ เขียนหนังสือตัวเล็กลง การรักษาโรคพาร์กินสัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยรักษาบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลง โดยที่โรคพาร์กินสันจะมีความก้าวหน้าของโรคไปเรื่อย ๆ การรักษาสามารถรักษาด้วยยา และการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อลดอาการสั่น แต่การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดซึ่งอาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกราย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
คนแต่งศพ (Embalmer) ไม่สามารถวิเคราะห์ลิ่มเลือดจากศพได้ เนื่องจากไม่รู้ประวัติสุขภาพหรือประวัติการฉีดวัคซีนของผู้เสียชีวิต
6 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับข้อห้ามการใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งห้ามดูในที่มืดเพราะเสี่ยงตาบอด และห้ามใช้ไฟฉายมือถือส่องตู้ไฟฟ้าบ้าน อันตรายถึงชีวิต ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดูมือถือในที่มืดทำให้ตาบอด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า ถ้าเปิดดูจอมือถือในที่มืดจะทำให้ตาบอดได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายแพทย์ นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน และ นายแพทย์ สมเกียรติ อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย “การเล่นมือถือในที่มืดไม่ได้ทำให้ตาบอด แต่จะทำให้เกิดความไม่สบายตามากกว่าการเล่นมือถือขณะเปิดไฟ เพราะจะต้องเพ่งมากกว่าปกติ และมีแสงสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความไม่สบายตา ทำให้ตาล้ามากขึ้น อาการจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อพักและหยุดใช้งานไป ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม” อันดับที่ 2 : ชาร์จมือถือไป เล่นไป อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า แชร์เตือนว่า การชาร์จโทรศัพท์มือถือไปด้วย เล่นไปด้วย เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะที่ชาร์จจะร้อนจนฉนวนภายในหลอมละลาย และไฟฟ้า 310 โวลต์ จะวิ่งเข้ามาช็อตทันที บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ […]
Global Vaccine Data Network หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยวัคซีน เผยแพร่การสำรวจอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มตัวอย่างจำนวนกว่า 99 ล้านรายใน 8 ประเทศ
5 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์สัญญาณที่เตือนว่า ผ้าเบรกของรถยนต์ใกล้หมดแล้ว เช่น เบรกแล้วมีเสียงดัง และ น้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรกลดลงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัญญาณบอกอาการผ้าเบรกหมด มีดังนี้ 1. แป้นเบรกลึกขึ้น ระยะของผ้าเบรกอยู่ห่างจากจานเบรกมากขึ้น จึงทำให้ต้องเหยียบเบรกลึกขึ้น กรณีหากมีการตรวจเช็กแล้วว่าไม่มีรอยรั่ว ก็อาจจะทำให้ระดับของน้ำมันเบรกหายไปด้วย แต่อาการเหยียบแป้นเบรกลึกขึ้น อาจจะไม่ใช่อาการผ้าเบรกหมดซะทีเดียว อาจจะบอกถึงความเสื่อมสภาพของซีลยางของตัวชุดปั๊มเบรก หรือซีลยางในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน 2. เบรกแล้วมีเสียงดัง ส่วนมากเกิดมาจากผ้าเบรกและจานเบรก หากผ้าเบรกหมดจะทำให้เหล็กผ้าเบรกและจานเบรกที่เป็นเหล็กทั้งคู่เสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง หากผ้าเบรกบางลงจำเป็นที่จะต้องถอดออกมาเปลี่ยนใหม่ เพราะถือว่าเป็นความเสื่อมสภาพของตัวผ้าเบรกจนทำให้เหยียบเบรกแล้วมีเสียงดังเกิดขึ้น 3. น้ำมันเบรกในกระปุกลดลง หากน้ำมันเบรกลดต่ำกว่าปกติ แต่ตรวจเช็กแล้วไม่พบรอยรั่วใด ๆ อาจเป็นไปได้ว่าความหนาของผ้าเบรกลดลง จนทำให้น้ำมันเบรกเข้าไปอยู่ตามสายเบรกและลูกสูบเบรก เพราะลูกสูบที่อยู่ในคาลิปเปอร์เบรก จะเลื่อนตัวออกมามาก เพื่อดันให้ผ้าเบรกจับกับจานเบรกน้ำมันเบรกในกระปุกจึงลดลง สัมภาษณ์เมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]
ผู้ต้องหาเหตุกราดยิงเป็นเยาวชนและไม่ใช่การก่อการร้าย มีการนำชื่อ ชาฮิล โอมาร์ ไปเชื่อมโยงกับอุบัติภัยในสหรัฐอเมริกาบ่อยครั้ง โดยบุคคลดังกล่าวไม่มีตัวตน
2 มีนาคม 2567 สิ่งนี้… เป็นการประณาม และตัดสินบุคคลอื่น ที่สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย และสิ่งนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SLOT SHAMING การประณามหยามเหยียดผู้หญิงที่มีพฤติกรรมทางเพศ หรือจัดการกับร่างกายตนเองต่างจากที่สังคมส่วนใหญ่คาดหวัง ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการประณาม และตัดสินบุคคลอื่น โดยบางครั้งบุคคลที่ประณามก็เป็นผู้หญิงด้วยกันเอง เช่น กรณีการมองผู้หญิงที่แสดงออกถึงอารมณ์ทางเพศว่าเป็นบุคคลที่ไม่ดี ทั้งที่จริงแล้วเรื่องทางเพศก็ถือเป็นเรื่องปกติ หรือกรณีมองว่าหญิงที่แต่งกายไม่มิดชิด ไม่เรียบร้อย เป็นบุคคลที่ไม่ดี ถึงแม้การประณามอาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ หรือความไม่รู้มาก่อน อย่างไรก็ตามการประณามให้ผู้อื่นละอายใจก็เป็นปัญหาที่สังคมควรตระหนักและให้ความสำคัญเพราะผลกระทบของมันสามารถกัดกินความรู้สึกของคนที่โดนไปด้วย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 มกราคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
4 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำสูตรสมุนไพรปรับสมดุล แก้ปัญหา หูตึงตอนแก่ หายเป็นปลิดทิ้ง โดยใช้ น้ำผึ้ง กระชาย มะนาว เกลือ น้ำมาปั่นดื่ม หูตึงจะกลับมาดีเหมือนเดิมนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สะอาดทินกร สูตรน้ำสมุนไพรปั่นตามที่แชร์มา แพทย์แผนไทยกล่าวว่า อาจมีการอ้างอิงสรรพคุณของกระชาย ส่วนน้ำผึ้ง มะนาว เกลือ นั้นใช้ปรุงแต่งกลิ่นรส แต่สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ได้ช่วยเรื่องหูตึงแต่อย่างใด ผู้สูงอายุมักมีปัญหาการได้ยิน เนื่องจากมีภาวะเสื่อมตามวัยของระบบประสาทหู ในกรณีที่อาการหูตึงในผู้สูงวัยมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์แผนไทยแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ […]
หากประดับอยู่บนเสาธงคนละต้น ธงประจำรัฐของทุกรัฐสามารถประดับได้สูงเทียบเท่าธงชาติสหรัฐฯ
3 มีนาคม 2567 – โรคพาร์กินสันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด เกิดได้ในคนกลุ่มไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรคพาร์กินสัน คืออะไร ? โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมองทำให้การผลิตสารโดพามีนในร่างกายลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลัก คือ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เกร็ง และเดินลำบาก สาเหตุของโรคพาร์กินสัน เนื่องจากโรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่มารวมกันและเหมาะเจาะในคน ๆ หนึ่ง เช่น ผู้ป่วยบางรายที่อาจจะมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นพาร์กินสัน อายุที่เพิ่มมากขึ้นความเสี่ยงพาร์กินสันก็เพิ่มมากขึ้น อาการของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสัน แม้ว่าจะเป็นโรคที่แสดงออกเกี่ยวกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหว แต่ก็มีอาการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวเกิดร่วมในผู้ป่วยได้ อาการของโรคพาร์กินสัน คือ อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวช้าลง ร่วมกับ อาการสั่น เป็นต้น อาการที่ควรสังเกต ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ การเคลื่อนไหวช้า อาการสั่นของส่วนต่าง ๆ […]
เป็นข้อความบิดเบือนโดยแหล่งข่าวที่มีประวัติเผยแพร่ข่าวปลอม