ชัวร์​ก่อนแชร์ : อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เสี่ยงดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เพราะอาจโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น บทสรุป : ต้องตระหนักและระวัง แต่ไม่ได้รุนแรงฉับพลันตามที่แชร์กัน ทั้งนี้ โดยทั่วไปเพียงแค่รับสายโทรศัพท์ ไม่สามารถทำให้เงินหายออกจากบัญชีได้ แต่หากรับสายแล้วหลงกลคำพูดของมิจฉาชีพ แล้วยอมทำตาม เช่น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมหรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะโดนโจรกรรมทั้งเงินและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับเบอร์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า มีรายงานข่าวเตือนว่าเป็นเบอร์โทรที่คนร้ายใช้โทรศัพท์ไปหาคนจำนวนมาก ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และเบอร์เดิมกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2566 ข่าวระบุว่า เบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะโทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หลอกลวงให้ผู้เสียหายกดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขตไปแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลัง ยืนยัน ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนเพื่อยกเลิกสิทธิ์หรือมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้แก่บุคคลใดทั้งสิ้น แต่หากผู้เสียหายหลงเชื่อและสอบถามขั้นตอน มิจฉาชีพจะทำทีให้ความช่วยเหลือ โดยให้แอดไลน์เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตัวปลอม และจะส่งลิงก์ให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าเงินหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและล็อกอินเข้าสู่ระบบ รวมถึงหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน และนำรหัสผ่านดังกล่าวไปใช้โจรกรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพสามารถเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปได้เรื่อย ๆ และไม่จำเป็นที่ว่าผู้ใช้งานเบอร์นี้ในอนาคตจะต้องเป็นมิจฉาชีพเสมอไป เนื่องจากเบอร์อาจถูกปิดและนำกลับมาจัดสรรใหม่ คำแนะนำจาก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จะเห็นได้ว่า การรับสายโทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นเลขหมายใด ๆ เพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจึงไม่สามารถทำให้เงินหายหมดบัญชีได้ รวมทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PRETEXTING ? — ภัยคุกคามยุคใหม่ในการล้วงข้อมูล

16 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้… คือภัยคุกคามยุคใหม่ทางวิศวกรรมสังคม ที่ใช้หลักจิตวิทยาในการหลอกลวงให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ และสิ่งนี้… เป็นเทคนิคสำคัญที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อขโมยเงิน หรือข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งกว่า 88% ดำเนินการผ่านอีเมล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนไวรัส HMPV โรคใหม่หนักกว่าโควิด จริงหรือ ?

17 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เตือนให้ระวังโรคใหม่ ไวรัส HMPV หนักกว่าโควิด ไทยนำเข้ามาแล้วอย่างเป็นทางการ ไม่มียาและไม่มีวัคซีนรักษานั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยหนักและผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 พล.อ.สิทธิศักดิ์ เทภาสิต อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 75 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 คุณกัลยกร ชีวะกานนท์ อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 63 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

Taylor Swift Effect : 13 ปรากฏการณ์ “เทย์เลอร์ สวิฟต์” แห่งปี 2023

ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในปี 2023 ส่งผลให้นิตยสาร Time เลือก เทย์เลอร์ สวิฟต์ นักร้องสาวอเมริกันเป็นบุคคลแห่งปี 2023 และนี่คือ 13 ปรากฏการณ์ที่ซูเปอร์สตาร์สาวสร้างเป็นสถิติเอาไว้ในปี 2023

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : สถิติเผยคนไทยโดนหลอกทางโทรศัพท์มากสุดในเอเชีย !

15 ธันวาคม 2566 Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) และองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก GASA (The Global Anti-Scam Alliance) จัดงานประชุมต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ครั้งแรก ของเอเชีย Anti-Scam Asia Summit (ASAS) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน เผยแพร่รายงานที่น่าเป็นห่วงว่าคนเอเชียส่วนใหญ่ มีความมั่นใจเกินไป ว่ารู้ทันกลโกงออนไลน์ สวนทางกับแนวทางที่มิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี AI ทำให้การหลอกลวงมีความแยบยลและยากต่อการสังเกต โดยคนเอเชียมากกว่าครึ่งต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในขณะที่คนไทยยังถูกหลอก ทางโทรศัพท์มากที่สุดในเอเชีย ผ่านทางเฟซบุ๊ก ไลน์ และอีเมล มากที่สุด  รายงาน Asia Scam Report 2023 จัดทำโดย GASA และ Gogolook เผยว่าเอเชียกำลังเป็นเป้าหมายสำคัญของเหล่าอาชญากร ที่มีแนวโน้มใช้เทคโนโลยี AI สร้างเครือข่ายหลอกลวงได้ง่าย รวดเร็ว และดำเนินการในต่างประเทศเพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ และจับกุม การประชุม ASAS จึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักเมลาโทนิน

เมลาโทนินคืออะไร เป็นสารที่ร่างกายสร้างเองได้หรือไม่ หรือจำเป็นกับร่างกายมากแค่ไหน และเกี่ยวข้องกับการนอนหลับอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมลาโทนิน (Melatonin) คือฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) ซึ่งอยู่ในสมองของเรานี่เอง ในร่างกายทุกคนมีเมลาโทนิน ต่อมไพเนียลผลิตเมลาโทนินเมื่อพระอาทิตย์ตก ดวงตาไม่ได้รับแสง โดยต่อมไพเนียลหลั่งเมลาโทนินออกมา เพื่อบอกร่างกายว่าเป็นเวลาของการพักผ่อน หรือเป็นเวลาของการเข้านอนแล้ว ตัวฮอร์โมนชนิดนี้ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น (อาจจะเลย 55 ปี หรือ 60 ปีขึ้นไป) ก็อาจจะผลิตเมลาโทนินได้ลดลง ดังนั้น อาจมีการใช้อาหารเสริมจำพวกเมลาโทนินเข้ามาชดเชยหรือช่วยได้ ปฏิกิริยาของเมลาโทนินกับร่างกาย เมื่อเมลาโทนินออกมาร่างกายจะมีอาการง่วง เช่น หาว หนังตาตก ก็อยู่ในสภาพพร้อมหลับ เขาหลั่งเมลาโทนินอยู่ในช่วงขาขึ้น เขาจะเริ่มหลั่งน้อย ๆ ตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์ตก พอเขาขึ้นถึงจุดสูงสุดร่างกายเราจะง่วง สังเกตได้ว่าเราจะง่วงเวลาเดิม ๆ ทุกวัน เพราะว่าเมลาโทนินทำงานสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) ซึ่งนาฬิกาชีวิตจะค่อนข้างตรงเวลา ยิ่งถ้าเรามีกิจวัตรประจำวันที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ นาฬิกาชีวิตก็ทำงานค่อนข้างตรงเวลาในเวลาเดิมทุกวัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ท่าบิดกระดูกสันหลัง ทำให้หลับสบาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ท่าบิดกระดูกสันหลังบริหารกาย ทำก่อนนอน ช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับสบายได้ 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ท่าบิดกระดูกสันหลังบริหารกาย ช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับสบายได้ สามารถใช้ได้จริง แชร์ต่อได้ แต่ต้องเลือกท่าให้ถูกต้อง โดยปกติแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้การนอนดีขึ้น คือการออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนนอน ซึ่งมีหลายท่าด้วยกัน ปกติแล้วการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการปวด เป็นการเพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อและร่างกาย เมื่อใดที่ร่างกายผ่อนคลายจิตใจก็จะผ่อนคลายตามด้วย ซึ่งจะช่วยเรื่องการนอนได้ดีขึ้น การบริหารร่างกายก่อนนอน มีท่าจำนวนมาก ขึ้นกับว่าตัวเราปวด และ/หรือ ตึงกล้ามเนื้อบริเวณไหน เราก็คลายตรงบริเวณนั้น ควรเลือก “ท่าบริหาร” อย่างไร แนะนำว่าควรเลือกท่าบริหารตามอาการปวด เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ ก็จะเน้นการยืดคอ บ่า ไหล่ (ท่าดึงศีรษะ ดึงคอ หรือก้มหน้า และหงายหลังกับแรงต้าน) จะสังเกตอย่างไรว่ายืดถูกท่าหรือผิดท่า เป็นต้นว่า ถ้ายืดแล้วปวด ก็ไม่แนะนำให้ทำต่อ เพราะอาจจะมีเรื่องอื่น ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหาร 3 ชนิดช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์อาหาร 3 ชนิด กินก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย ได้แก่ นม กล้วย และถั่วลิสง 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อาหารทั้ง 3 ชนิดที่แชร์กันว่าช่วยให้หลับสบายนั้น จริงบางส่วน และต้องดูด้วยว่าเป็นกล้วยชนิดไหน เป็นถั่วชนิดไหน เพราะว่าช่วยได้แตกต่างกัน นมและผลิตภัณฑ์จากนม กินก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ? การดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมช่วยให้เรื่องการนอนดีขึ้น ตัวนมและผลิตภัณฑ์จากนมมีกรดอะมิโนหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ ทริปโตเฟน (Tryptophan) และทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน (Melatonin) คือตัวที่ทำให้เกิดการนอนหลับในร่างกายของเรา สำหรับ “นม” จะเป็นนมอุ่น หรือนมแช่เย็น ก็มีผลไม่ต่างกัน ขึ้นกับความชอบของแต่ละคนมากกว่า บางคนดื่มนมวัวแล้วแพ้น้ำตาลแล็กโทส (lactose) ก็เปลี่ยนไปดื่มนมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น นมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง ก็พอช่วยได้ ปริมาณนมและผลิตภัณฑ์จากนมก่อนนอน ที่แนะนำก็คือ นม 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สุสาน EV ถูกทิ้งเป็นซากเพราะแบตฯ เสื่อม จริงหรือ?

ภาพที่ถูกแชร์ล้วนเป็นรถยนต์ EV ของบริษัทเช่ารถยนต์ในต่างประเทศ ที่ถูกทิ้งเป็นซากเพราะบริษัทปิดกิจการหรือรถยนต์ตกรุ่น ไม่เกี่ยวกับความบกพร่องของแบตเตอรี่รถยนต์แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีรักษา ตับคั่งไขมัน

ตับคั่งไขมัน มีกี่ระยะ หายเองได้หรือไม่ ? หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร หายขาดหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โรคตับคั่งไขมันเป็นเพื่อนพ้องของโรคอ้วน จะไม่มีอาการเตือน การดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป ซ่อนอยู่ในร่างกาย จะทำให้เราประมาท หรือชะล่าใจ ส่วนใหญ่ไม่มีอายุกำหนด คนที่อายุแค่ 20-30 ปี และมีน้ำหนักขึ้นมาก ก็เป็นโรคตับคั่งไขมันได้ เมื่อตับคั่งไขมัน ระยะเวลาเฉลี่ยเกิน 10 ปีไปแล้ว ตับจะเริ่มอักเสบ ขอให้ลองนึกภาพเป็นการ์ตูน เซลล์ตับเป็นรูปสี่เหลี่ยม เมื่อมีไขมันแทรกเข้าไป เซลล์ตับจะอ้วนจากสี่เหลี่ยมเป็นวงกลมใหญ่ บวม และตาย นี่คือลักษณะของตับที่อักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เมื่อเซลล์ตับตายก็จะถูกแทนที่ด้วยพังผืด ถ้าเกิดจุดเล็ก ๆ อย่างนี้ทุกจุดในเนื้อตับ สภาพตับก็จะเปลี่ยนเป็นตับเริ่มแข็งหรือมีพังผืด ในระยะยาวก็จะเหมือนคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัส จากแอลกอฮอล์ ก็คือนำไปสู่ตับแข็ง นี่คือเหตุที่น่ากังวลและคล้าย ๆ เป็นระเบิดเวลาที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตื่นกลางดึก

ทำไมเราต้องตื่นกลางดึก ? ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ควรทำอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “ตื่นกลางดึก” เป็นเรื่องปกติ มีการนำคนปกติที่ไม่เคยมีปัญหาเรื่องของการนอนมาตรวจคลื่นสมองระหว่างการหลับ พบว่าค่าเฉลี่ยของการตื่นปกติอยู่ที่ประมาณ 10-15 ครั้งต่อคืน นี่คือตัวเลขปกติ บางคนรู้สึกว่าไม่น่าจะมากขนาดนั้น เพราะคนเรามีการตื่นกลางดึกตามคลื่นสมอง คือสมองตื่นแต่เราอาจจะจำไม่ได้ว่าเราตื่น ถ้าเราตื่นประมาณ 2-3 นาที สมองไม่ได้จำว่าเราตื่น ถ้าเราเริ่มตื่นนานกว่านั้น 5-10 นาที หรือตื่นแล้วลุกไปเข้าห้องน้ำ ลุกไปทำนู่นทำนี่ แล้วกลับมานอนต่อ อย่างนี้จะเป็นการตื่นที่สมองของเราจำได้ สมมุติตื่นกลางดึกแล้วกลับมานอนต่อ แต่ต้องใช้เวลาเกินครึ่งชั่วโมงขึ้นไป ระยะเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ นานเป็นเดือนหรือหลายเดือนขึ้นไป อย่างนี้น่าจะมีปัญหาแล้ว มีสาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้ตื่นกลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ ตื่นกลางดึกแล้วกลับไปนอนต่อไม่ได้ มีสาเหตุหลายอย่าง เช่น 1. เกิดจากปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ บางคนมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ก็จะเกิดปัญหาการนอนที่ไม่ต่อเนื่อง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน

รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ไขมันพอกตับ เมื่อโภชนาการเกิน ทำให้เกิดพังผืดในตับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคนี้ 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โดยทั่วไป โรคตับคั่งไขมันไม่น่าจะมีอาการอะไรแสดงมา ส่วนใหญ่จะเกิดหลังทราบจากการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยที่แพทย์บอกว่าสงสัยมีโรคตับคั่งไขมัน ส่วนใหญ่จะวิตกกังวล และเริ่มบ่นว่าเริ่มเจ็บชายโครงด้านขวา แน่นท้อง อึดอัด จุกเสียด เหล่านี้ไม่ใช่อาการของโรคตับคั่งไขมัน เพราะว่าโรคตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ไม่มีอาการ การตรวจสุขภาพประจำปี และรับรู้ว่าเกี่ยวข้องกับโรคตับคั่งไขมัน กรณีที่ไม่มีอาการใด ๆ เลย ส่วนใหญ่รู้ได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี ค่าตับ AST (Aspartate Transaminase)  และ ALT (Alanine Transminase) ทั้งสองตัวนี้มักจะขึ้นเกินกว่าค่าปกติ ค่าปกติ อยู่ที่ 40 ยูนิต/ลิตร พบว่าค่าทำงานตับของผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ขึ้นสูงไม่เกิน 100 ต้น ๆ หรือสูงกว่าค่าปกติ 2-3 เท่า สมมุติว่าค่าตับสูงมากกว่า […]

1 46 47 48 49 50 120
...