ชัวร์ก่อนแชร์: ฝีดาษวานรแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne) จริงหรือ?

05 กันยายน 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรค Mpox หรือฝีดาษวานร เผยแพร่ทางเว็บไซต์และ Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าฝีดาษวานรสามารถแพร่เชื้อทางอากาศหรือ Airborne Transmission จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัว


บทสรุป :

ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าไวรัส Mpox หรือฝีดาษวานร มีการแพร่เชื้อทางอากาศในแบบ Airborne แต่อย่างใด

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


Airborne Transmission กับ Droplet Transmission

การแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne Transmission) คือการแพร่เชื้อของโรคติดต่อผ่านละอองที่สามารถอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานและสามารถเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งอื่นได้ ผ่านการหายใจ การพูด การไอ จาม หรือกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดอนุภาคละอองลอย (Aerosol) หรือละอองฝอย (Droplets) ขนาดเล็ก

การแพร่เชื้อจากฝอยละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet Transmission) คือการแพร่เชื้อของโรคติดต่อผ่านละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน โดยทั่วไปฝอยละอองเหล่านี้จะอยู่ในอากาศได้ไม่นานและแพร่ไปไม่ไกล

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการแพร่เชื้อผ่าน Droplet Transmission จะมีความเสี่ยงหากอยู่ใกล้กับจุดกำเนิดของการแพร่เชื้อมากกว่า 1 เมตร ต่างจากการแพร่เชื้อผ่าน Airborne Transmission ที่ละอองลอยสามารถแพร่เชื้อโรคไปได้ไกลกว่า 1 เมตร

มีข้อมูลพบว่าละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ไมครอน มักตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วในระยะไม่เกิน 2 เมตรจากจุดกำเนิด

CDC ยืนยันว่า Mpox ไม่ใช่ Airborne Transmission

ข้อมูลปี 2022 ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่า การแพร่เชื้อของฝีดาษวานรมีความแตกต่างจากโรคหัดและโควิด-19 เนื่องจากไม่พบว่าไวรัสล่องลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน

โดยปัจจุบันแม้จะพบผู้ติดเชื้อฝีดาษวานรเดินทางข้ามประเทศ แต่ยังไม่พบว่ามีผู้โดยสารบนเครื่องบินลำเดียวกับผู้ติดเชื้อแล้วมีอาการป่วยเป็นไข้ฝีดาษวานร

เมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) และกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ (HHS) ประกาศให้ภัยจากการระบาดของไวรัสฝีดาษวานรในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำมากหรือ Very Low โดยปัจจุบัน HHS ยังไม่แนะนำให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีกด้วย

การประกาศ PHEIC โดย WHO

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2024 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) เนื่องจากพบการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรสายพันธุ์ใหม่ในประเทศคองโกเมื่อปี 2023 (Clade Ib) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์ที่ทำให้ไวรัสฝีดาษวานรแพร่ระบาดในหลายประเทศเมื่อปี 2022 (Clade II)

ไวรัสฝีดาษวานรสายพันธุ์ Clade Ib เริ่มพบการระบาดที่เมืองคามิตูกา ประเทศคองโก เมื่อเดือนกันยายน 2023 ก่อนจะระบาดไปทั่วคองโกในเดือนมกราคม 2024 และกลายเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับทวีปแอฟริกาในเดือนสิงหาคม 2024 หลังพบการระบาดนอกประเทศคองโกเป็นครั้งแรก ทั้งประเทศที่อยู่ใกล้เคียง อาทิ บุรุนดี เคนยา รวันดา ยูกันดา รวมถึงการพบผู้ติดเชื้อในประเทศสวีเดนและประเทศไทย

โดยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อ Clade Ib มากกว่า 18,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 500 ราย

โดยพบว่าไวรัสฝีดาษวานรสายพันธุ์ Clade Ib มีการกลายพันธุ์ที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าไวรัสฝีดาษวานรเมื่อปี 2022 จากต่ำกว่า 1% เพิ่มมาเป็น 3–4%

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (ACDC) พบว่า 70% ของผู้ติดเชื้อในคองโกเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งเด็กยังถือเป็นกลุ่มผู้เสียชีวิต 85% ของผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงอีกด้วย นำไปสู่ความกังวลถึงปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรในเด็กที่อาศัยอย่างแออัดในแคมป์ผู้ลี้ภัยในประเทศคองโก

ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรอย่างมีประสิทธิผล คือการรณรงค์การฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายในชาติที่พบการระบาดในแอฟริกา เพื่อป้องกันไม่ให้การแพร่ระบาดลุกลามไปในวงกว้างกว่าเดิม

ข้อมูลอ้างอิง :

https://leadstories.com/hoax-alert/2024/08/fact-check-monkeypox-virus-not-known-to-spread-through-airborne-transmission.html
https://apnews.com/article/what-is-mpox-monkey-pox-congo-emergency-415d11f9e62d104b4c40dd8fe8e80b47
https://en.wikipedia.org/wiki/2023%E2%80%932024_mpox_epidemic
https://www.who.int/news-room/commentaries/detail/modes-of-transmission-of-virus-causing-covid-19-implications-for-ipc-precaution-recommendations
https://www.cdc.gov/media/releases/2022/0509-monkeypox-transmission.html

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร