“ศ.พญ.กุลกัญญา” แจงข้อสงสัยโควิด-19 XBB.1.16 แนะฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

19 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์และเสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB .1.16 อ้างว่ามาจาก ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ได้รับการยืนยันว่าเป็นเป็นข้อความที่เขียนจริง โดยเป็นการเขียนและส่งให้กับเพื่อนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 และสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากในขณะนี้ ข้อความที่แชร์กัน วันที่ 19 เมษายน 2566      ในช่วงสองวันที่ผ่านมานี้ได้รับ คำถามจากหลายหลายท่านเกี่ยวกับการระบาดของ โควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น      -มันกลับมาใหม่แล้วใช่ไหม?      -สายพันธุ์ใหม่ XBB .1.16 น่ากลัวขึ้นไหม รุนแรงขึ้นกว่าเดิมไหม และดื้อยาแล้วหรือ?       -เราจะต้องฉีดวัคซีนอีกแล้วเหรอ? ฉีดมาแล้วตั้งหลายเข็ม      -ใช้วัคซีนแบบไหนรุ่นไหนดี?       -ควรฉีดเมื่อไหร่?      -วัคซีนจะป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ไหม?      -ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB, Evusheld) ยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่?       จึงขอรวบรวมความสงสัยเหล่านี้มาตอบคำถาม ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์       -ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าโรค โควิด-19 จะอยู่กับมนุษยชาติตลอดไป และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งผ่านเว็บไซต์ เช็กง่าย ตลอด 24 ชม.

19 เมษายน 2566ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เปิดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า (7 พฤษภาคม 2566) และวันเลือกตั้งทั่วไป (14 พฤษภาคม 2566) ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 2 ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งผ่านเว็บไซต์ ขั้นตอน 1 : เข้าสู่เว็บไซต์ สำนักบริหารการทะเบียน ขั้นตอน 2 : กรอกเลขบัตรประชาชนและกดปุ่มตรวจสอบ ระบบจะแสดงข้อมูลรายชื่อ วันที่เลือกตั้ง จังหวัด เขตที่มีสิทธิ รวมถึงสถานที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง  หากไม่พบรายชื่อประชาชนสามารถยื่นคำร้องแจ้งเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1444

ชัวร์ก่อนแชร์: ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ทำให้ตับอักเสบ จริงหรือ?

ไวรัสโควิด-19 มีผลในการทำลายปอดเท่านั้น แต่ความเสียหายของปอดอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในอื่นๆ เช่นตับ ไต และหัวใจ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผู้ป่วย 5 โรค ห้ามดื่มน้ำดอกอัญชัน จริงหรือ ?

การกินดอกอัญชันยังมีความปลอดภัยหากกินในรูปแบบของอาหาร เช่น การนำดอกอัญชันไปทำเครื่องดื่ม, ยำดอกอัญชัน

ข้อควรระวัง‼️ ไม่ควรกินดอกอัญชันติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่ควรกินดอกอันชันเพื่อไปทดแทนยาแผนปัจจุบันเพราะอาจทำให้เกิดอันตราย

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนภัยร้อน 40-50 องศา อย่าดื่ม-อย่าอาบน้ำเย็นทันที จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์เตือนให้เตรียมรับมือกับอุณหภูมิ 40-50 องศา โดยเลี่ยงน้ำเย็นน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เส้นเลือดปริแตก นั้น บทสรุป ⚠️ จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.อ.นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า เมื่ออากาศร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเย็นจัดในปริมาณมากคราวเดียวอาจส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นกลไกการปรับตัวของร่างกายเพื่อรับกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “แต่ถามว่า จะถึงขั้นที่เส้นเลือดจะตีบขณะที่เป็นสโตรกไหม หรือว่า ที่บอกว่า เอาเท้าแช่น้ำ แล้วตาบอดนั้น ลักษณะนี้เกิดได้จริง แต่ว่าเกิดได้น้อย แต่มักเกิดกับคนไข้ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดอยู่แล้ว เช่น คนที่มีหินปูนเกาะที่หลอดเลือด มีพวกเส้นเลือดสมองตีบบางส่วนอยู่แล้ว แล้วพอมันหดตัวลง การไหลของเลือดมันก็น้อยลง หรือกระทั่งที่ลูกตาก็เช่นกัน เส้นเลือดที่เลี้ยงลูกตา เล็กนิดเดียว พอหดตัวก็เกิด ตาบอดชั่วคราวได้ พอเส้นเลือดคลายตัวก็หาย ส่วนเรื่องเส้นเลือดแตก ก็เป็นกลไกตรงกันข้ามกัน เมื่อหดแล้วเกิดการคลายตัว ทำให้เส้นเลือดที่เปราะอยู่แล้ว เกิดการปริแตกง่ายเช่นกัน” พ.อ.นพ.วิริสสร […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ระบาดในจีน ทำให้ปอดกลายเป็นสีขาว จริงหรือ?

ฝ้าจางชนิด GGO ที่ปอด สามารถเกิดได้จากการติดเชื้อชนิดต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นโควิด-19 เสมอไป

ระวัง ! เว็บไซต์-ไลน์บริษัทเงินกู้ปลอม ซ้ำอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ หลอกโอนเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อของบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Country Group Holdings) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)อุบาย : ใช้เว็บไซต์ และบัญชีไลน์ปลอม หลอกให้ส่งข้อมูลสำคัญ ทำสัญญาเงินกู้ และโอนเงินช่องทาง : เว็บไซต์, แอปพลิเคชันไลน์ ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์บริษัทผู้ให้บริการด้านการเงิน หลอกแอดไลน์ อ้างเหตุต้องทำเอกสาร ฉวยข้อมูลสำคัญ และเงินค่าบริการ รวมถึงสร้างสถานการณ์ให้เหยื่อติดต่อไลน์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปลอม เพื่อข่มขู่ หวังให้กลัวจนโอนเงินเพิ่ม ด้าน ‘โฆษก’ แนะให้ระมัดระวังในการกู้เงินลักษณะนี้ พร้อมแนบ “แนวทางป้องกันการถูกหลอกให้กู้เงินออนไลน์” กรุงเทพฯ 12 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ของบริษัทผู้ให้บริการด้านการเงิน หลอกแอดไลน์ เพื่อดักเอาข้อมูลสำคัญ และเงินค่าบริการของเหยื่อไป นอกจากนี้ยังสร้างสถานการณ์ให้เกิดความเข้าใจผิด และแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ […]

กระตุ้นสังคมไทย ใส่ใจเด็ก “NEET”

12 เม.ย. 66 หากพูดถึงปัญหาร้อนแรงที่เยาวชนกำลังประสบปัญหามากกว่า  1.4 ล้านคน และยังคงเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง คงจะหนีไม่พ้น เรื่อง เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม  ซึ่งสามารถเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ ได้ว่า  “NEET”  ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดกลุ่มเยาวชน NEETข้อมูลจาก “งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training: NEET) ในประเทศไทย” จัดทำโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสนับสนุนโดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ระบุว่า  เยาวชนไทย NEET มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 15-24 ปี ประมาณ 1.4 ล้านคน เป็นร้อยละ 15 ของเยาวชนทั้งหมด  ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีความหลากหลาย ประกอบไปด้วย นักเรียนที่ออกจากระบบการศึกษาก่อนกําหนด เยาวชนว่างงานที่กําลังหางานทํา และไม่มีส่วนร่วมใด ๆ หรือเยาวชนที่รู้สึกท้อแท้ รวมถึงผู้ที่อยู่นอกเหนือตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่ต้องดูแลครอบครัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การใช้กัญชาแบบแพทย์แผนไทย

7 เมษายน 2566 การใช้กัญชาแบบแพทย์แผนไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ประเทศไทยพบข้อมูลว่ากัญชาเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแผนไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ได้ใช้เป็นสมุนไพรเดี่ยว แต่จะปรุงในรูปแบบของการนำกัญชาเข้าตำรับยา ซึ่งในแต่ละตำรับ กัญชาอาจทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป 16 ตำรับยา ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 1.ยาศุขไสยาศน์ 2.ยาแก้ลมแก้เส้น3.ยาทำลายพระสุเมรุ4.ยาทาริดสีดวงทวารหนัก5.ยาอัคคินีวคณะ6.ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย7.ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ8.ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง 9.ยาไฟอาวุธ10.ยาแก้ไข้ผอมเหลือง11.ยาแก้สัณฑฆาต12.ยาอัมฤตย์โอสถ13.ยาไพสาลี14.ยาทัพยาธิคุณ15.ยาแก้โรคจิต16.ยาอไภยสาลี ใช้กัญชาอย่างไร จึงเรียกว่าใช้ทางการแพทย์ ? ในปัจจุบันมีการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรแล้ว 5 ตำรับ ที่ได้ยินบ่อย ก็คือ ตำรับยาศุขไสยาสน์ ตำรับยาทำลายพระสุเมรุ ตำรับยาแก้ลมแก้เส้น ยาน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) นอกจากนี้ยังมี ลุงดำเกาะเต่า, น้ำมันภูพร้าว ของทางภาคอีสาน, ยาไพรร่างพระมณี ด้านการแพทย์แผนไทยได้นำสารสกัดน้ำมันกัญชาซึ่งมีสาร 2 ชนิด คือ THC และ CBD มาใช้ในกลุ่มอาการนอนไม่หลับ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ลมจุกเสียด ลมปะทะอก ปวดหัว รวมไปถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น หากใช้กัญชาต้องรู้หลักการ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: “ปูติน” สั่งทําลายสต็อกวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมดในรัสเซีย จริงหรือ?

สำนักข่าวในรัสเซียรายงานข่าวการส่งมอบวัคซีน Sputnik V ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศให้มากขึ้น

1 103 104 105 106 107 135
...